เพิ่มวันลาคลอด ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ลาก่อนคลอด-หลังคลอด ได้เพิ่มขึ้นกี่วัน เช็คเลย!

เพื่อให้แม่ได้อยู่กับลูกนานขึ้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพิ่มวันลาคลอดให้ลาก่อนคลอด-หลังคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพิ่มวันลาคลอด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพิ่มวันลาคลอด ช่วยให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน จากเดิม 90 วัน

เพิ่มวันลาคลอดเพื่อให้แม่ได้อยู่กับลูกนานขึ้น ลาคลอดได้กี่วัน

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ให้สิทธิลูกจ้างเพิ่ม 7 ประเด็น เหลือรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 30 วัน และจะมีผลบังคับใช้ทันที

ประเด็นที่ 1 ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี

ประเด็นที่2 ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน จากเดิม 90 วัน

ประเด็นที่ 3 กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษโดยหากทำงานมาครบ 20 ปีก็ได้รับ 400 วัน หรือเป็นไปตามข้อที่ 4

ประเด็นที่ 4 กรณีเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยใหม่ ที่เพิ่มเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตราคือ

  • อัตราที่1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
  • อัตราที่ 2ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
  • อัตราที่3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
  • อัตราที่ 4ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
  • อัตราที่5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน
  • อัตรา ที่6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 400 วัน

ประเด็นที่ 5 กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น หากลูกจ้างไม่อยากตามไป ก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตรา

ประเด็นที่ 6 กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน ในบางอาชีพ ที่ทำงานเกินเวลาปกติ ลูกจ้างจะต้องฟ้องขอ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเด็นที่7 ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ลาคลอดได้กี่วัน

ค่าจ้าง

เริ่มจากจำนวนวันลาคลอดกันก่อนเลย ตามกฎหมายกำหนดสิทธิ์เกี่ยวกับการลาคลอดเอาไว้ว่า ลูกจ้างทุกประเภทที่เป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ โดยแต่เดิม ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 98 วัน โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และยังรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด

ส่วนในเรื่องของค่าจ้างในขณะที่คุณแม่ใช้สิทธิ์ลาคลอดนั้น ตามกฎหมายคุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินจาก 2 ช่องทางหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. นายจ้าง ในการลาคลอด 1 ครั้ง คุณแม่จะได้สิทธิ์ในการลาคลอดเป็นจำนวน 98 วัน โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้เป็นจำนวน 45 วัน (ยึดตามกฎหมายเดิมที่ให้ลาคลอดได้ 90 วัน)ส่วนจำนวนวันลาอีก 8 วันที่เพิ่มมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ซึ่งการจ่ายเงินทางนายจ้างจะจ่ายระหว่างลาหรือหลังจากมาทำงานขึ้นอยู่กับตกลงกัน

ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ได้เงินเดือนอยู่ที่เดือนละ 20,000 บาท ในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอด นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้คุณแม่เป็นจำนวนเท่ากับ 45 วัน หรือ 30,000 บาท (คิดจากค่าจ้าง 30 วัน เท่ากับ 20,000 บาท 15 วัน เท่ากับ 10,000 บาท) อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด คุณแม่สามารถไปร้องเรียนได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด กระทรวงแรงงาน

2. ประกันสังคม นอกจากนี้เงินจากนายจ้างแล้ว คุณแม่ยังมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากทางประกันสังคม โดยทางประกันสังคมจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน (คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) หรือในกรณีที่คุณแม่ได้เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะคิดเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทเช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่มีเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของเงินเดือน แต่ต้องคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท  คือ 15,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 เท่ากับ 22,500 บาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ในกรณีที่ 2 นี้ คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และจะได้รับเงินสงเคราะห์เฉพาะการคลอดบุตรไม่เกิน 2 คนเท่านั้น หากเป็นการคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

  • ในกรณีที่คุณแม่มาทำงานก่อนโดยไม่รอให้ครบ 90 วัน ก็ยังคงได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมเต็มจำนวน 90 วัน แถมคุณแม่ก็จะได้รับค่าจ้างตามปกติต่างหากในวันที่คุณแม่มาทำงานด้วย

กล่าวโดยสรุปคือคุณแม่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และสิทธิ์ลาคลอดจากประกันสังคม 90 วัน หรือถ้าคุณแม่คนไหนฟิตร่างกายกลับมาทำงานได้ไวกว่า 90 วันตามสิทธิ์การลาคลอดแล้ว คุณแม่ยังได้เงินตามวันที่คุณแม่มาทำงานจริงด้วยนะ

ค่าคลอดบุตร

คุณแม่ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง โดยรวมทั้งค่าทำคลอด ค่ายา ค่าห้อง ค่ารถพยาบาล หรือค่าบริการอื่น ๆ

ขยายความกันสักนิดนึงสำหรับ ข้อความที่บอกว่า “5 เดือน ภายใน 15 เดือน” อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือ การนับย้อนหลังกลับไป 13 เดือน (1 ปี 1 เดือน) คุณแม่ต้องมีเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 เดือน (ถ้าสมทบมาน้อยกว่า 5 เดือน คุณแม่ก็หมดสิทธิ์ในการขอค่าคลอดบุตรครั้งนี้ไป)
มีข้อควรรู้เกี่ยวกับค่าคลอดบุตรอยู่เล็กน้อย คือ

  1. คุณแม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และจำนวนบุตร เท่ากับว่ามีลูกกี่คนก็เบิกได้ทุกคน
  2. กรณีคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้งส่วนหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกค่าคลอดบุตรสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ สำนักงานประกันสังคม

 

ค่าตรวจและค่ารับฝากครรภ์

นอกจากค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาทแล้ว สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ให้คุณแม่ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ได้ค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มอีก 1,000 บาท โดยจ่ายตามอายุครรภ์เป็นครั้ง ๆ มีเกณฑ์คือ

  • ครั้งที่1 : อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
  • ครั้งที่2 : อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 3: อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ (5-7 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

ทั้งนี้ คุณแม่สามารถนำหลักฐานเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลในแต่ละครั้ง คือ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงิน ไปขอรับประโยชน์ทดแทนส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร

 

เงินสงเคราะห์บุตร

คุณแม่ที่จะได้สิทธิ์นี้ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 กับ 39 เท่านั้น ซึ่งจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ซึ่งเงื่อนไขที่จะได้รับเงินคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  •  ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นลูกแท้ ๆ ของตัวเอง ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  •  บุตรต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
  •  หากคุณพ่อ คุณแม่ที่ใช้สิทธิ์เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายก่อนบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังจะได้รับเงินส่วนนี้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้อุปการะบุตรต่อไป

ที่มา : https://morning-news.bectero.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ฤกษ์คลอด 2562 ฤกษ์คลอดลูก ฤกษ์ผ่าคลอด วันดี วันมหามงคล ผ่าคลอด 2562 วันไหนดี

โค้งสุดท้ายก่อนลูกเกิด เรื่องที่แม่ควรเตรียมตัวก่อนคลอด 1 เดือน

กฎหมายออกแล้วจ้า แม่ท้องนำค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดภาษีสูงสุด 60,000 บาท

บทความโดย

Tulya