เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ลูกชอบเอานิ้วเข้าปากตลอด หากทารกดูดมากไปอาจมีผลเสียตามมา เรามาดูกันค่ะว่า เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ทำอย่างไรให้ลูกเลิกดูดนิ้วได้

 

ทำไมทารกชอบดูดนิ้ว

การดูดนิ้วในเด็กทารกและเด็กเล็กนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กทารกและเด็กเล็กจะดูดนิ้ว หรือสิ่งของเพื่อความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย และเป็นจุดเริ่มต้นของการสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในเด็กบางคนมีการดูดนิ้วมาตั้งแต่ในครรภ์ เด็กบางคนชอบดูดนิ้วเพราะรู้สึกเพลิน บางคนเหงาเลยปลอบใจตัวเอง เด็กบางคนดูดเพราะต้องการบอกว่าหิวแล้ว บางคนดูดเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ว่า พอดูดนิ้วแล้วพ่อแม่จะเข้ามาสนใจทันที

 

ทารกดูดนิ้วนาน ส่งผลเสียอย่างไร

เด็กส่วนใหญ่จะหยุดดูดนิ้วเองภายในอายุ 2-4 ปี แต่ในเด็กบางคนที่ไม่สามารถเลิกดูดได้หลังจากนี้ ก็จะเกิดผลเสีย ดังนี้

  • ทำให้โครงสร้างของฟันผิดปกติ ฟันที่ขึ้นอาจมีลักษณะเหยิน ยื่น โดยเฉพาะในเด็กที่ดูดเกินอายุ 4 ปีขึ้นไป
  • ทำให้เกิดความผิดปกติของนิ้วและทำให้เล็บขบ หรือมีความผิดปกติของข้อนิ้วจนต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
  • มีผลทางด้านจิตใจของตัวเอง เพราะจะถูกมองว่าเป็นเด็กไม่รู้จักโต ถูกเพื่อนล้อ ถูกพ่อแม่ดุว่า
  • เด็กๆ จะใช้มือจับสิ่งต่างๆ มากมายเพราะฉะนั้น เมื่อเวลาที่เด็กเอานิ้วเข้าปากอาจจะได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปทางปาก

 

วิดีโอจาก : เด็กทารก Everything Channel

 

ทำอย่างไรให้ทารกเลิกดูดนิ้ว

  • ใช้ของเล่นเบี่ยงเบน 

ของเล่นจะเบี่ยงเบนความสนใจ โดยใช้ของเล่นที่ต้องใช้มือ เมื่อลูกเล่นสนุกจนเด็กลืมตัว จะทำให้ลืมการดูดนิ้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากิจกรรมให้ทำ

ในเด็กเล็กๆ ให้เน้นกิจกรรมที่ต้องใช้มือทำร่วมกัน เช่น ชวนลูกเข้าครัวช่วยคุณแม่ ช่วยถือหนังสือให้คุณพ่ออ่าน หรือเล่นปั้นแป้ง โดยไม่ควรให้ความสนใจกับพฤติกรรมดูดนิ้วของเขา

  • ชมลูกเมื่อไม่ดูดนิ้ว 

เวลาที่ลูกไม่ดูดนิ้ว ควรพูดชมเพื่อให้ลูกรู้สึกว่าถ้าไม่ดูดนิ้วแล้วคุณพ่อคุณแม่จะหันมาให้ความสนใจ และเห็นเขาเป็นเด็กน่าชื่นชม

  • ไม่ดุ หรือต่อว่า เวลาลูกดูดนิ้ว 

การให้ความสนใจด้วยการต่อว่า สั่งสอน ดุ จะยิ่งเป็นการส่งเสริมทางอ้อมหรือเวลาลูกดูดนิ้วต่อหน้าคน อย่าไปดุลูก เพราะจะทำให้ลูกเกร็ง เครียด และอาจดูดนิ้วบ่อยกว่าเดิม

  • รักษาความสะอาด

หมั่นตัดเล็บลูกให้สั้น และล้างมือลูกให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าลืมสังเกตด้วยว่าที่มือของลูกมีอาการอักเสบ คัน หรือเป็นแผลจากการดูดนิ้วหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วงเย็นจะช่วยทำให้ลูกเพลียและง่วงนอนได้ง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องดูดนิ้วเพื่อกล่อมตัวเองให้หลับในตอนกลางคืน

 

ทารกดูดนิ้วอาจทำให้ท้องร่วงได้

เด็กที่ชอบดูดหรืออมนิ้ว ไวรัสโรต้าจะไปทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้เล็ก และทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้มีการอักเสบในลำไส้ และมีอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ทารกจะเริ่มมีอาการอาเจียนและท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและมีไข้ หลังจากนั้นจะมีอาการท้องเดินหรือท้องร่วงอย่างรุนแรงอยู่บ่อยครั้งประมาน 4 – 8 วัน ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการท้องร่วงบ่อย ๆ จะทำให้ขาดสารอาหารและขาดน้ำ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

 

วิธีป้องกันไม่ให้ทารกท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อ ด้วยการล้างมือให้สะอาด หรือการรักษาความสะอาดของสิ่งของต่าง ๆ
  • อาหารที่ต้องรับประทานในแต่ละวัน ถ้วย ชาม แก้วน้ำต้องสะอาด เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะติดเชื้อนี้ได้
  • ควรให้เด็กได้รับวัคซีนไวรัสโรต้าเพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันไวรัสโรต้า ซึ่งเด็กอาจจะสามารถติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อีก แต่อาการก็จะไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันแล้วนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูกใช้จุกหลอกแทนการดูดนิ้วได้หรือไม่

การดูดจุกนมปลอมเป็นเวลานานส่งผลเสียไม่ต่างจากการดูดนิ้ว แต่การดูดจุกนมปลอมนั้นเมื่อถึงเวลาเลิกจะเลิกได้ง่ายกว่า

ข้อเสียของจุกหลอก

  • สร้างปัญหาในช่องปาก : เด็กที่ใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งมีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ เช่น ฟันขึ้นในลักษณะผิดปกติหรือฟันเรียงตัวผิดปกติ เป็นต้น
  • เด็กติดจุกหลอก : หากพ่อแม่ใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายบ่อย ๆ เด็กอาจติดเป็นนิสัยจนต้องดูดจุกหลอกตลอดเวลาขณะนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กร้องไห้งอแงกลางดึกเมื่อจุกหลอกหลุดออกจากปาก
  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หู : การใช้จุกหลอกอาจทำให้เด็กเสี่ยงติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางมากขึ้น เนื่องจากจุกหลอกอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหากไม่มีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
  • ส่งผลเสียต่อการให้นมแม่ : เด็กที่เริ่มใช้จุกหลอกเร็วเกินไปอาจสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดจุกนมหลอกได้ เนื่องจากมีวิธีการดูดที่แตกต่างกัน หากเด็กดูดนมแม่แบบที่ดูดจุกหลอกก็อาจส่งผลกระทบต่อการดูดน้ำนมได้

 

 

วิธีล้างมือที่ถูกต้อง 

  • ฝ่ามือถูฝ่ามือ เริ่มต้นการล้างมือง่ายๆ ด้วยการถูสบู่ขึ้นมาเล็กน้อยพอขึ้นฟองก่อนนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกันและถูให้ทั่ว จนรู้สึกสะอาด
  • ฝ่ามือถูหลังมือ ปาดฟองสบู่มาที่หลังมือแล้วล้างมือต่อโดยการใช้ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้นสลับข้างวิธีนี้จะทำให้ฆ่าเชื้อโรคบริเวณหลังมือที่เรามักลืมกันไป
  • ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้ว พลิกมือกลับมาประกบกันก่อนจะล้างมือให้สะอาดด้วยการถูซอกนิ้วด้วยสบู่ให้สะอาดหมดจด
  • ฝ่ามือขัดหลังนิ้วกำกำปั้นข้างหนึ่งขึ้นล้างมือต่อ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งขัดบริเวณหลังนิ้วสลับข้างทำแบบเดียวกันจนรู้สึกว่ามือสะอาด
  • ถูนิ้วหัวแม่โป้ง กางนิ้วหัวแม่โป้งก่อนใช้ฝ่ามืออีกข้าง กำรอบแล้วหมุนวนด้วยฟองสบู่เป็นวงกลมทำให้สะอาดทั้งสองด้าน
  • ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างขัดฟองสบู่ตามแนวขวางจนทั่วแล้วสลับข้างทำวิธีเดียวกัน
  • ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่งแล้วถูวนไปรอบๆ จากนั้นเปลี่ยนข้างทำเช่นเดียวกัน วิธีนี้จะช่วยให้ข้อมือสะอาด
  • การล้างมือด้วยวิธีข้างต้นนี้ไม่ต่ำกว่า 20 วินาทีแล้วจึงล้างออกจะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ตัวเราได้ดียิ่งขึ้น

 

อาหารที่เหมาะกับทารกแต่ละช่วงวัย 

แรกเกิดจนถึง 6 เดือน

ทารกแรกเกิด-6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำเพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ  หลัง 6 เดือนยังคงกินนมแม่จนเด็กอายุ 1-2 ปีหรือนานกว่านั้น

 

6 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • เริ่มให้ข้าวแต่น้อยจนครบ 3 ช้อน
  • ไข่แดง 1/2 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
  • ผักสุก 1/2  ช้อน หรือฟักทอง 1/2 ช้อน
  • มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือ ส้ม 2 กลีบ

 

7 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • ข้าว 4 ช้อน
  • ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือหมูบด 2 ช้อน
  • ผักสุก 1/2 ช้อน หรือฟักทอง 1/2  ช้อน
  • มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือมะม่วง 2 ชิ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

  8-9 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • ข้าว 5 ช้อน
  • ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หมู 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
  • ผักสุก 2 ช้อน หรือฟักทอง 2 ช้อน
  • มะม่วง 4 ชิ้น หรือ ส้ม 1 ผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกแต่ละสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เริ่มเสริมพัฒนาการได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ทำไงดี

 

ที่มาข้อมูล : samitivejhospitals.com  , paolohospital.com  , pobpad.com

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow