เศร้าก่อนให้นมลูก อารมณ์คุณแม่หลังคลอด ที่วูบขึ้นได้ก่อนให้ลูกกินนม

เศร้าก่อนให้นมลูก อารมณ์คุณแม่หลังคลอด ที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดลูก อันเกิดจากความเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงลูกในช่วงแรก และการปรับตัวของบทบาทใหม่ที่คุณแม่ยังไม่คุ้นชิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 โรคซึมเศร้านั้นอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ได้ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด นอกจากสิ่งที่ต้องเผชิญแล้วยังอาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายที่ลดลงในระหว่างหลังคลอด อารมณ์คุณแม่หลังคลอด ดังกล่าวนี้อาจทำให้คุณแม่มีภาวะเศร้าก่อนให้นมลูกด้วย

เศร้าก่อนให้นมลูก ที่วูบขึ้นได้ก่อนให้ลูกกินนม

ในช่วงเวลาไม่กี่นาทีก่อนให้ลูกกินนมแม่ ร่างกายหลังคลอดที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอยู่แล้ว จะมีฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สำคัญซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ชื่อว่า โดปามีน (dopamine) ลดระดับลง ส่งผลให้คุณแม่มีอารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER)  ทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ หรือโกรธยามที่รู้สึกว่าไม่มีใครช่วยเหลือได้ มีความสิ้นหวังก่อนที่จะเริ่มให้นมลูก แต่อาการนี้จะวูบขึ้นมาได้ 2-3 นาทีแล้วก็หายไป ซึ่งจะแตกต่างจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แม่จะรู้สึกมีอารมณ์หรืออาการซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่เฉพาะช่วงก่อนการให้นม ซึ่งโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้อาการมักจะหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากเป็นนานกว่านั้น จำเป็นที่แม่ควรจะได้รับการรักษาและการดูแลเฉพาะจากจิตแพทย์

“อารมณ์แปรปรวนก่อนให้นม” อารมณ์คุณแม่หลังคลอด ที่ต้องรับมือ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์ ได้ให้คำแนะนำการรับมืออารมณ์แปรปรวนก่อนการให้นมว่า ถ้าคุณแม่เข้าใจถึงภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังคลอด เข้าใจบทบาทของคุณแม่มือใหม่ที่ต้องใช้ความพยายามในการเลี้ยงทารกแรกเกิด และไม่กังวลมากไปเกี่ยวกับการให้นมแม่ ก็จะทำให้คุณแม่ไม่วิตกกังวล ใช้การฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ ช่วยผ่อนคลาย ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด โดยอาจใช้เทียนหอมกลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ก็จะช่วยทำรู้สึกผ่อนคลายได้ รวมถึงการเอาใจใส่ของครอบครัว การได้รับความช่วยเหลือจากคุณพ่อที่ช่วยแบ่งเบาภาระการเลี้ยงลูกด้วยอีกคนก็จะช่วยลดปัญหาของภาวะนี้ลงได้ อารมณ์เศร้าก่อนการให้นมนี้ โดยทั่วไปจะดีขึ้นและหายเองเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 เดือนค่ะ.

ร้องไห้หลังคลอด อารมณ์คุณแม่หลังคลอด นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย เป็นซึมเศร้าหลังคลอด หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร้องไห้ หลังคลอด

ร้องไห้หลังคลอด ชอบดราม่า นั่งเครียดคนเดียว แม่คิดมากไปเองหรือเป็นซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นนานแค่ไหน หายเองได้ไหม อาการรุนแรงแค่ไหนต้องไปหาหมอ

“ซึมเศร้าหลังคลอด” ภาวะที่พบได้บ่อย คุณแม่ควรระวังไว้

หลังคลอดทารกน้อยได้ไม่กี่วัน คุณแม่อาจต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายของร่างกายและจิตใจ อีกทั้งต้องอดหลับอดนอนและเหน็ดเหนื่อยกับการเลี้ยงดู การให้นมลูก อันเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการซึมเศร้าหลังการคลอดได้ ทั้งนี้ การร้องไห้หลังคลอดอาจเป็นเพียงภาวะเศร้าชั่วคราวหลังคลอด หรือ โรคซึมเศร้าหลังคลอดก็ได้ ซึ่งความรุนแรงของโรคและแนวทางการรักษาจะต่างกัน มีรายละเอียดที่คุณแม่ควรทราบเพื่อจะได้เฝ้าระวังอาการไว้ว่าเมื่อใดควรต้องไปพบคุณหมอ ดังนี้ค่ะ

1. ภาวะเศร้าชั่วคราวหลังคลอด (Postpartum blues หรือ Baby blues)

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยจนแทบจะเป็นภาวะปกติในการปรับตัวหลังคลอด เพราะมีอุบัติเหตุสูงถึง 50-85% ในผู้หญิงหลังคลอด เลยค่ะ

อาการ : รู้สึกเศร้า หงุดหงิด ร้องไห้ง่ายกว่าปกติ วิตกกังวล อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาการมักจะไม่รุนแรง เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 2-4 วันแรกและหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ หลังคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยง : ภาวะนี้เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอดในคุณแม่ โดยจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในกลุ่มคุณแม่ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน มีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว และมีความเครียดสูงระหว่างการตั้งครรภ์

การรักษา : เน้นที่การดูแลประคับประคองจิตใจของผู้ป่วยโดยไม่ต้องใช้ยา อาการมักจะดีขึ้นเองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่พัฒนา กลายเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดในเวลาต่อมาได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression-PPD)

เป็นโรคที่มีความรุนแรงของอาการมากกว่า Postpartum blues พบได้ประมาณ 12-13% ในผู้หญิงหลังคลอด

อาการ : คล้ายกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้แก่ รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ ย้ำคิดย้ำทำ มีอาการวิตกกังวลมาก กลัวว่าจะเกิดอันตรายกับลูกตลอดเวลา รู้สึกผิดว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ ไม่รู้สึกผูกพันกับลูก จนนำมาซึ่งอันตรายจากการทำร้ายตัวเองและลูกได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยอาการจะเป็นมากขึ้นช้า ๆ หลังจาก 2 สัปดาห์แรกของการคลอดไปแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่พัฒนายืดเยื้อจาก Postpartum blues มาเกิน 2 สัปดาห์แล้วไม่หายก็ได้

ทั้งนี้ อาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่อาจอยู่ได้นานเป็นปีหากไม่ได้รับการรักษาจนเกิดผลเสียต่อพัฒนาการด้านต่างๆ และอารมณ์ของลูกได้

ปัจจัยเสี่ยง : คุณแม่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดในการตั้งครรภ์ก่อนหน้า การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ มีความเครียดสูงเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้มากกว่าปกติ

การรักษา : เนื่องจากโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้มีความรุนแรงมากพอสมควร และอาจนำมาซึ่งการทำร้ายตัวเองของคุณแม่หรือลูก บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant) ในการรักษาคุณแม่ จึงควรไปพบคุณหมอเฉพาะทางด้านจิตเวชเพื่อพิจารณาให้ยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด ซึ่งในปัจจุบันมียารักษาโรคนี้ที่ผ่านน้ำนมแม่น้อยและปลอดภัยในการรักษาสำหรับหญิงให้นมบุตรได้นะคะ

จะเห็นได้ว่าอาการซึมเศร้าทั้งภาวะเศร้าชั่วคราวหลังคลอดและโรคซึมเศร้าหลังคลอด พบได้ไม่น้อย คุณแม่ที่ร้องไห้หลังคลอดบ่อย ๆ จึงควรจะสังเกตอาการของตัวเองว่าเข้าได้กับลักษณะเหล่านี้หรือไม่หลังจากการคลอดทารก โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรก เพื่อจะได้รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : https://th.theasianparent.com/%E0%B8%A3%E0%4

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ท้องอยู่นะอย่าขัดใจ คนท้องอารมณ์อ่อนไหว ท้องแล้วเห็นแก่ตัว อยากกินอะไรต้องได้กิน

5 เคล็ดลับ เลี้ยงทารกให้อารมณ์ดี มีความสุข ต้องทำแบบนี้กับลูกทุกวัน

บทความโดย

Napatsakorn .R