อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการไข้หวัดใหญ่ อย่าคิดว่าแค่เป็นหวัดทั่วไป แท้จริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่นั้น เป็น โรคภัยที่ไม่ควรมองห้าม หากไม่ระวังอันตรายถึงชีวิต อาการไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร ไปดูกันเลย

ไข้หวัดใหญ่ (influenza)

อาการไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ที่พบได้ทุกช่วงอายุ ซึ่งมักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น ไข้หวัดใหญ่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี โรคไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ชื่อว่า Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงเสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ มีสายกี่สายพันธุ์ 

พญ.สุวรรณี รัตนชูวงศ์ ได้ให้ข้อมูลว่า ไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza หรือที่ในทางการแพทย์เราจะเรียกสั้น ๆ ว่า “ฟลู” นั้น คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจาก “เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่” ทำให้ผู้ติดเชื้อ มีไข้สูง ปวดหัว ตัวร้อน ไอจาม มีน้ำมูก และปวดเมื่อยตามตัว โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่ปัจจุบันถือได้ว่า “ร้ายกาจที่สุด” และส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมเรามากที่สุดนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ 

หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู A” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายมากที่สุด เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ ตลอดจนแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง ทำให้เชื้อมีความเป็นลูกผสม และมีฤทธิ์รุนแรง โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักจะแพร่ระบาดตามฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ H1N1 และ H3N2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู B” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายรุนแรงเช่นกัน ที่พบได้บ่อย คือ B Victoria , B Yamagata , B Phuket ซึ่งสามารถระบาดได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาวเช่นเดียวกัน

ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อกันอย่างไร

อาการไข้หวัดใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื้อไข้หวัดจะคล้ายไข้หวัดทั่วไป คือการติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น เมื่อสัมผัสเชื้อแล้วนำมือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเรา

อาการไข้หวัดใหญ่ เป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 1-3 วัน และรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไข้ติดต่อกันหลายวัน โดยในเด็กจะมีไข้สูงเกิน 39-40 องศา ติดต่อกัน  3-4 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย

อันตรายของไข้หวัดใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ กลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เมื่อรู้ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอาเจียน แหวะนม สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 

การดูแลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเอง หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนมาจากโรคอื่น ๆ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะทำให้ร่างกายดีขึ้น

ดูแลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ที่บ้าน โดย 

  • รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ
  • เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลดเป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาด ไม่เย็น
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มาก เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ หากรับประทานได้น้อย อาจจะต้องรับวิตามินเสริมเพิ่ม
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี
  • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดื้อยา

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 

อาการไข้หวัดใหญ่

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หากมีความจำเป็น ควรใส่หน้ากากอนามัย
  • ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ รวมถึงใช้เจลแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุ 6 เดือน – 19 ปี, คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป, คนที่เป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคปอด, ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิก หรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ, ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล และคนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน  เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด

ที่มา : 1,2,3

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong