อาการลูกตอดเป็นยังไง ลูกดิ้นมีความรู้สึกแบบไหน เกิดขึ้นตอนไหน ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยสงสัยหรือไม่ว่า อาการลูกตอดเป็นยังไง แม่ ๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหม เห็นคุณแม่ท่านอื่นที่ท้องไล่เลี่ยกับเราพูดคุยกันเรื่องลูกดิ้น ลูกตอดอย่างสนุกสนาน แต่เรานี่ไม่มีวี่แววเลย แล้วเมื่อไหร่จะเริ่มรู้สึกเหมือนคนอื่นบ้างนะ แล้วความรู้สึกมันเป็นยังไงกันแน่

 

อาการลูกตอดเป็นยังไง จะรู้ได้ไงว่าลูกดิ้น

อาการลูกตอด จะเป็นอาการที่ให้ความรู้สึก กระตุกเบา ๆ ในท้อง เหมือนมีบางสิ่งบางอย่าง ที่กำลังเคลื่อนไหว ไปมาจนแทบจะจับ ความรู้สึกไม่ได้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม คนท้อง หลายคนยังไม่รู้สึกว่าลูกตอด และ จะรู้สึกอีกทีก็เมื่อลูกดิ้นแรงแล้วเท่านั้น

ซึ่งกว่าที่คุณแม่ จะจับความรู้สึกได้นั้นก็มีอายุครรภ์ได้ 18 – 25 สัปดาห์แล้ว ส่วนใครจะรู้ได้ช้า หรือ เร็วกว่านั้นยกก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ตำแหน่งของรก ขนาดตัวของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ หรือ แม้แต่ขนาดของมดลูก เป็นต้นแต่ถ้าคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน แน่นอนว่ามี ประสบการณ์ การตั้งครรภ์ มาก่อนหน้าแล้วก็จะรู้สึกถึง ลูกตอดได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 16 – 18 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดิ้นเพราะอะไร ลูกดิ้น บิดขี้เกียจ รำคาญ ชอบใจ หรือใกล้คลอด

 

 

ลูกดิ้นช่วงไหนมากที่สุด

หากคุณแม่ สังเกตดี ๆ จะพบว่าลูกน้อยจะชอบดิ้นชอบ ตื่นนอน และ ช่วงที่นอนหลับมากที่สุด คือ ช่วงเวลาประมาณ 21:00 น. – 01:00 น. ซึ่งคุณแม่ ไม่ได้แปลกใจเลยถ้าอยู่คุณแม่นอนอยู่ แล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะเจ้าตัวน้อยดิ้นแรง เนื่องจากว่าในช่วงนั้น ร่างกายของคุณแม่ มีการเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำตาล ในเลือดนั่นเอง หรืออาจเป็นเพราะว่า ลูกน้อย ได้ตอบสนองต่อเสียง หรือ การสัมผัสจากคุณแม่ จากการที่คุณแม่รู้สึกสบาย ๆ อารมณ์ดี ๆ และ เวลาที่คุณแม่ตื่นเต้น อะดรีนาลีนจะหลั่งออกมา ทำให้ลูกดิ้นมาก แม้แต่อาหาร ที่แม่กินเข้าไปก็มีผล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกดิ้นกับลูกสะอึกต่างกันไหม

โดยความแตกต่าง ระหว่างลูกดิ้น และ การสะอึกของทารก ในครรภ์ก็คือ หากแม่ท้องรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ของลูกในท้อง ในหลาย ๆ จุด เช่น บริเวณ ท้องส่วนบน ส่วนล่าง หรือ ด้านข้าง และรู้สึกว่าลูกในท้อง หยุดเคลื่อนไหว ตอนที่คุณแม่ขยับเปลี่ยนท่าทาง นั่นก็อาจจะถือว่าเป็นการดิ้น แต่หากคุณแม่ท้องนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ และมีความรู้สึก ถึงการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของ การกระตุก หรือ อาการเกร็งเล็กน้อยที่ท้อง เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอกัน ที่จุดเดียว นั่นก็อาจหมายความว่า ลูกในท้องสะอึก อยู่นั้นเอง

 

ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ควรรู้

ลูกดิ้นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ควรรู้ พร้อมวิธีการสังเกตความผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกดิ้น อาการเป็นอย่างไร ?

ว่าที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่วงสัปดาห์ที่ 16 – 20 ของการตั้งครรภ์ โดยอาการลูกดิ้นในช่วงแรก ๆ จะให้ความรู้สึกเหมือนปลาทองว่ายน้ำหรือรู้สึกเหมือนผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ภายในท้อง บ้างก็รู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ โดยการขยับตัวของทารกจะมีทั้งการเตะ ต่อย การพลิกตัวและม้วนตัว โดยการดิ้นของเด็กจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง สัปดาห์ที่ 32 จากนั้นจะคงที่ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงใกล้วันกำหนดคลอด

ในช่วงแรก ทารกในครรภ์จะขยับตัวเพียงเล็กน้อยและไม่บ่อย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) ทารกจะขยับตัวมากขึ้น ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของเด็กได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้น โดยการศึกษาหนึ่งพบว่า การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 เด็กอาจขยับตัวได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็เป็นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทั้งนี้การติดตามความถี่ในการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับว่าที่คุณแม่ และสามารถทำได้เองอย่างง่าย ๆ ด้วยการจดจำรูปแบบการดิ้นของเด็ก ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอายุครรภ์ ดังนี้

 

  • สัปดาห์ที่ 16 – 19 การเคลื่อนไหวของทารกยังไม่ชัดเจน จะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถระบุได้ว่าเป็นอาการขยับตัวของทารก ทั้งนี้ครรภ์แรกจะเริ่มรับรู้ว่าลูกดิ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 18 และครรภ์ต่อมาจะรับรู้ได้เร็วขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16
  • สัปดาห์ที่ 20 – 23 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงการเตะเบา ๆ หรือการขยับตัวจากการสะอึกของทารก จากนั้นในสัปดาห์ต่อ ๆ มา กิจกรรมทางกายของทารกก็จะเพิ่มขึ้นและชัดเจนขึ้น โดยอาจพบว่าเด็กจะมีการขยับตัว เช่น เตะ หมุนตัว หรือตีลังกามากขึ้นในช่วงเย็นของวันซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้เวลารับประทานอาหารก็จะเป็นช่วงที่เด็กขยับตัวบ่อย
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 24 – 28 ของเหลวในถุงน้ำคร่ำจะเพิ่มขึ้นไปถึง 750 มิลลิลิตร ซึ่งจะทำให้ทารกมีพื้นที่ในการขยับตัวมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อย ๆ โดยอาจมีทั้งการขยับเพียงแขนขาหรือการเคลื่อนไหวทั้งร่างกาย
  • สัปดาห์ที่ 29 – 31 การขยับตัวของทารกจะเบาลง แต่ชัดเจนมากขึ้น เช่น เตะแรงขึ้น ต่อยแรงขึ้น และหลังจากนั้นคุณแม่อาจรู้สึกคล้ายกับว่าทารกขยับตัวเพื่อต่อสู้กับพื้นที่ในครรภ์ที่น้อยลง
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 32 – 35 นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ 32 ความถี่ของการดิ้นจะสูงที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพื้นที่ในการขยับตัวน้อยลง การเคลื่อนไหวของทารกจะช้าแต่กินเวลานาน
  • สัปดาห์ที่ 36 – 40 เป็นช่วงเวลาใกล้คลอด ดังนั้นหากเป็นท้องแรก ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 เด็กจะเริ่มพลิกตัวเพื่อให้อยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง แต่ถ้าหากเด็กไม่กลับตัว กล้ามเนื้อภายในครรภ์และท้องจะช่วยในการพลิกตัวของเด็ก หากเด็กอยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง คุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีแตงโมกดทับอยู่ที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หากเด็กยังคงไม่พลิกตัว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การคลอดปลอดภัยกับเด็กที่สุด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 กล้ามเนื้อบริเวณท้องจะแข็งแรงน้อยกว่าการตั้งครรภ์ครั้งแรก ดังนั้นเด็กอาจจะค่อย ๆ พลิกตัวอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตามในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ทารกจะยังขยับตัวอยู่ การเคลื่อนไหวจะน้อยลงแต่ยังคงรู้สึกได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวหรือรู้สึกเจ็บ

 

สำหรับการสังเกตความถี่ของการดิ้นของทารก จะต้องทำในช่วงเวลาที่เด็กมักจะขยับตัวมากที่สุด โดยเมื่อถึงช่วงเวลานั้นให้ว่าที่คุณแม่นั่งหรือเอนหลังลงกับเก้าอี้ที่นั่งสบาย จากนั้นให้ลองนับจำนวนการดิ้นของทารกที่รู้สึกได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง ต่อเวลา 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน และถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้งอีกก็ควรปรึกษาแพทย์

 

 

สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้น ดิ้นน้อย เกิดจากอะไร ?

แม้การขยับตัวของทารกจะเป็นสัญญาณถึงพัฒนาการของเด็ก แต่ผู้ที่พบว่าตัวเองไม่รู้สึกถึงการขยับตัวของทารก หรือทารกไม่ดิ้นเลย ก็อาจไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะการที่เด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยอาจมีสาเหตุมาจาก ทารกในครรภ์กำลังหลับ ช่วงเวลาที่ทารกหลับจะเป็นช่วงที่มีการขยับตัวน้อยที่สุด

ทารกตัวใหญ่จนขยับตัวได้ยาก ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 32 เป็นต้นไป ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกยังขนาดเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถขยับตัวได้มากเหมือนการตั้งครรภ์ช่วงแรก ทว่าหากคุณแม่นับจำนวนครั้งในการดิ้นของเด็กในช่วงเวลาที่เด็กดิ้นมากที่สุดแล้วแต่ก็ยังดิ้นน้อยกว่าเกณฑ์ คือต่ำกว่า 10 ครั้ง ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง มีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือเมื่อคุณแม่กระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนองด้วยวิธีการรับประทานของว่าง ดื่มน้ำเย็น ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ ขยับร่างกาย เปิดเพลงเสียงดัง แล้วเด็กก็ยังไม่ตอบสนอง นั่นอาจแสดงให้เห็นว่าเกิดความผิดปกติกับการตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจสุขภาพของครรภ์และเด็กทารก ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • การตรวจอัลตราซาวนด์ (Fetal Ultrasound) วิธีนี้จะใช้การส่งคลื่นเสียงไปสะท้อนเพื่อให้กลับมาเป็นรูปภาพ ภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของเด็กในครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ และท่าทางของเด็ก
  • การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Nonstress Testเป็นวิธีการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก โดยการนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางลงบนท้อง จากนั้นใช้เข็มขัดคาดไว้เพื่อไม่ให้แผ่นเหล็กขยับไปจากที่เดิม
  • การตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดทารกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry) วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการตรวจสุขภาพทารก แต่จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วยเพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดภายในรกและสายสะดือ ซึ่งจะช่วยให้ทราบอัตราการเต้นของหัวใจทารก

 

การดิ้นของทารก ไม่ใช่เป็นเพียงสัญญาณที่ทำให้ว่าที่คุณแม่และครอบครัวรู้สึกตื่นเต้นกับทารกตัวน้อยเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของทารก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือคุณแม่ควรหมั่นนับและสังเกตการดิ้นของทารก พร้อมกับจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงไว้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ ที่กำลังจะลืมตาดูโลกได้อย่างทันท่วงที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกดิ้นในท้องบอกอะไร ? เรื่องน่าอัศจรรย์ของการที่ลูกเตะในครรภ์

กระตุ้นให้ลูกดิ้น กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ ให้ขยับตัวดุ๊กดิ๊ก ทำอย่างไรได้บ้าง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน อาการลูกดิ้นครั้งแรกเป็นยังไง จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกดิ้น

ที่มา : phyathai

บทความโดย

Khunsiri