อาการก่อนตั้งครรภ์เป็นยังไง อาการแบบไหนแสดงว่าท้องชัวร์!!

อาการก่อนตั้งครรภ์ อาการของคนท้องเป็นแบบไหน อยากรู้ว่าตัวเองท้องจริงหรือว่าแค่มโน วิธีสังเกตตัวเองของผู้หญิง ท้องไม่ท้องเช็คได้จากอาการเหล่านี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการก่อนตั้งครรภ์ สัญญาณตั้งครรภ์ที่คุณผู้หญิงต้องรู้ สำหรับคนที่อยากรู้ว่าตัวเองจะท้องไหม หากตรวจครรภ์แล้วยังไม่แน่ใจสามารถสังเกตอาการของตัวเองได้  ซึ่ง อาการก่อนตั้งครรภ์ อาการก่อนรู้ว่าตั้งครรภ์ ของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไป บางคนก็เป็นเพียงอาการไม่สบายธรรมดา บางคนเป็นอาการคล้ายกับตอนมีประจำเดือน บางคนก็แทบไม่แสดงอาการอะไรเลย แต่อาการเบื้องต้นที่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังจะตั้งครรภ์มีดังต่อไปนี้

1.อาการก่อนรู้ว่าตั้งครรภ์ อาจเจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอก หน้าอกบวม หรือหน้าอกขยาย บางคนก็จะรู้สึกว่าหน้าอกหนักขึ้น เป็นหนึ่งในอาการเริ่มแรกของคนท้อง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนั่นเอง ซึ่งอาการนี้จะรู้สึกได้เมื่อเริ่มตั้งครรภ์มาได้ประมาณ 2 สัปดาห์

2.เหนื่อยล้า

อาการเหนื่อยล้า เมื่อยง่าย เมื่อยบ่อย หรือ อาการล้า  เป็นอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วยนี้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของผู้หญิงจะพุ่งสูงขึ้นมาก เมื่อปริมาณฮอร์โมนตัวนี้เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ก็จะทำให้คุณเกิดอาการง่วงนอนมากเท่านั้น อีกทั้งมันยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงร่างกายจึงต้องใช้พลังงานให้การผลิตเลือดให้มากขึ้น คนท้องจึงเกิดอาการเหนื่อยง่าย

3.มีเลือดออก

บางคนสงสัยว่าทำไมท้องแล้วจึงมีเลือดออกด้วย เราตั้งท้องจริงๆ หรือเปล่า อาการเลือดออกเพียงเล็กน้อยนี้เป็นอาการที่บอกว่าคุณตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากไข่ที่ได้รับการปฎิสนธิแล้วเข้าไปฝังตัวกับเยื่อบุมดลูก ทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด โดยคุณจะมีอาการนี้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 10-14 วัน บางคนจะมีอาการเป็นตะคริวร่วมอยู่ด้วย

4.คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้หรืออาการแพ้ท้อง เป็นอาการที่หลายคนจะแน่ใจว่าตัวเองตั้งครรภ์ ในผู้หญิงบางคนก็จะมีอาการเหล่านี้เร็ว แต่กลับบางคนกว่าจะแพ้ท้องก็ใช้เวลาหลายสัปดาห์แล้ว ซึ่งอาการคลื่นไส้ อาเจียนนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คุณแม่มีความไวต่อกลิ่น และรสชาติอาหาร และเกิดอาการคลื่นไส้

5.อยากกินอาหารตลอดเวลา

อาการนี้จริงๆ แล้วก็คล้ายๆ กับอาการก่อนเป็นประจำเดือน คือ หิวโหยตลอดเวลา แต่อาการหิวตอนตั้งท้องก็อาจจะพิเศษกว่าหน่อยตรงที่อยากกินอะไรแปลกๆ หรืออยากกินอะไรที่เราไม่เคยกินมาก่อน ไม่เชื่อลองสังเกตตัวเองดูสิ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช็กอาการก่อนท้อง ท้องแล้วมีอาการอย่างไร อยากให้แน่ใจว่าอาการแบบไหนตั้งท้องชัวร์ ปรึกษาอาการของคุณแม่ท้อง กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ในคอมมูนิตี้ของคุณแม่ตั้งครรภ์ พร้อมปรึกษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ผ่าน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับครอบครัว ดาวน์โหลดฟรี คลิกเลย!

 

6.อาการปวดหัว

ในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงมักจะมีอาการปวดหัวที่เกิดจากการที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน ทำให้การไหลเวียนเลือดเปลี่ยนไปเพราะร่างกายต้องผลิตเลือดเพิ่มขึ้นทำให้คนท้องเกิดอาการปวดหัวได้

7.ท้องผูก

อาการท้องผูกเป็นอาการเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน สาเหตุที่เกิดอาการท้องผูกก็เพราะว่าการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้เวลาทานอาหารเข้าไปร่างกายจะชะลอการส่งต่ออาหารไปยังลำไส้จึงเกิดอาการท้องผูกบ่อยๆ

8.อารมณ์แปรปรวน

นี้ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่คล้ายกับตอนที่มีประจำเดือน แต่คนท้องจะมีอารมณ์แปรปรวนที่นานกว่า อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาคนละขั้น เดี๋ยวก็ปกติ เดี๋ยวก็ร้องไห้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของคนท้องโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9.หน้ามืดบ่อยๆ

สำหรับอาการหน้ามืดของคนท้องนั้น เป็นเพราะว่าหลอดเลือดมักมีการขยายตัว ทำให้ความดันเลือดของคุณลดน้อยลง คนท้องจึงรู้สึกมึนงงหรือเวียนศีรษะได้ง่าย ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่หลายคนจึงรู้สึกว่าร่างกายตัวเองอ่อนเพลียมาก ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อาจต้องหาเครื่องดื่มกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือด

ทั้งหมดนี้คืออาการของคุณแม่ตั้งครรภ์  ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกได้ช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆ อย่าง สำหรับคุณแม่ที่คอยสังเกตตัวเองบ่อยๆ อาจจะรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้เร็วกว่าก็ได้

คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แม่ๆ รู้ไหม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร คนท้องต้องเตรียมรับมือแบบไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อให้ลูกในท้องร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคนท้อง

  • หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น: หลังจากคุณแม่แล้วตั้งท้องสิ่งแรกที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก็คือฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าหน้าอกเริ่มเจ็บ คล้ายกับช่วงที่เป็นประจำเดือน หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์อาการเหล่านี้ก็จะเริ่มทุเลาลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน: อาการเหล่านี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งท้องแล้วนะ บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือบางคนแทบจะไม่มีเลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1 เดือน สำหรับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง คือ อย่าปล่อยให้ท้องว่าง กินอาการช้าๆ อาจจะกินทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ และอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำขิงจะช่วยได้ดี
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น: คนท้องจะรู้สึกว่าตัวเองปัสสาสะบ่อยขึ้น เนื่องจากว่าในร่างกายมีปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตของเหลวและขับถ่ายออกมาในที่สุด
  • เมื่อยล้า: เนื่องจากเวลาที่ตั้งครรภ์ในระยะแรกระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะพุ่งสูงขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากพักผ่อนอยากนอนบ่อยๆ วิธีแก้ คือ ต้องพักผ่อนมากๆ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกาย
  • ไวต่อกลิ่น: คุณแม่บางท่านจะมีประสาทสัมผัสไวต่อกลิ่นมาก หรืออาจทำให้รสนิยมการกินอาการที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากฮอร์โมนของคนท้อง
  • กรดไหลย้อน: คนท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จแล้วแล้วนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อคโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ด
  • ท้องผูก: อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ไปชะลอการเคลื่อนไหวของอาหารในระบบย่อยอาหาร ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหานี้อยู่แนะนำให้เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ดื่มน้ำมากๆ หรือจะดื่มน้ำผลไม้โดยเฉพาะน้ำลูกพรุนก็ได้ ที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยได้มากเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้อง

ช่วงที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะมีลูก เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านคงดีใจกันอย่างมาก แต่ช่วงที่ดีใจนี้ก็มาพร้อมกับอาการเหนื่อย เมื่อยล้าไปพร้อมๆ กัน เพราะว่าร่างกายของคุณแม่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยนั้นเอง บางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกเครียดกับการตั้งครรภ์เอามากๆ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก เพราะมีเรื่องที่ต้องกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยมากมาย ไหนจะเรื่องที่ต้องปรับตัวให้กับบ้านของสามีอีก (สำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านสามี) ไหนจะต้องเตรียมเงินไว้เลี้ยงลูก วางแผนเก็บเงินให้ลูกในอนาคต การทำงาน และเรื่องงานบ้าน สารพัดปัญหาที่คุณแม่ต้องเผชิญ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนท้องเกิดอารมณ์แปรปรวนได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญเมื่อคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอารมณืที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องพยายามเข้าใจตัวเอง และมองหาคนรอบข้าง พยายามพูดคุยเพื่อหากำลังใจจากพวกเขา แต่ถ้าเมื่อไหร่เริ่มรู้สึกว่าอาการมันรุนแรงเพิ่มขึ้น รู้สึกแย่มากๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลต่อลูกในท้องได้

การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสแรก

เข้าฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านหรือที่ทำงาน ทำการตรวจประเมินสุขภาพของคุณแม่และครรภ์ เพื่อให้คุณหมอตรวจหาความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ดูอายุครรภ์ของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ และรับยาบำรุงครรภ์ เพื่อที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้เติบโตอย่างสมวัย

เมนูอาหารคนท้อง ที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

จะดีแค่ไหน? เมื่อลูกน้อยกินอาหารที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ พร้อมเรียนรู้ด้วยโภชนาการง่ายๆ เพราะอาหารสำหรับคนท้องจะมีผลต่อร่างกายของเด็กโดยตรง เราจึงควรเลือกทานเมนูอาหารคนท้องที่เป็นประโยชน์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และเหมาะสมตามแต่ละไตรมาสด้วย ไม่ว่าจะเป็นไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสใกล้คลอด ก็จะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น พร้อมช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่ให้แข็งเเรง แถมเป็นเมนูอาหารลดความอ้วนอีกด้วยนะ ว่าแล้วอาหารที่คนท้องควรกินจะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย...

อาหารคนท้องไตรมาสที่ 1

ในช่วงไตรมาสเดือนที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนอาจจะมีอาการแพ้ท้อง อาการคลื่นไส้ และอาเจียน จึงทำให้ไม่สามารถทานอาหารได้ ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกเมนูอาหารอ่อนๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่

  • อาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน เต้าหู้ ไข่ ไก่ เนื่องจากโปรตีนจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโตของเด็กทารก ยกเว้นอาหารเนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทะเลบางชนิดที่มีสารพิษตกค้าง เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่แพ้นม ก็สามารถดื่มนมในปริมาณที่เหมาะสมได้ เพราะนมจะมีทั้งโปรตีน เเคลเซียม วิตามิน และกรดโฟลิก ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกของทารกและคุณแม่ให้แข็งแรง แต่ไม่ควรดื่มเกิน 3 แก้วต่อวัน
  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก สำหรับเมนูคนท้องที่แนะนำให้ทาน ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ถั่ว ลูกเดือย และข้าวกล้อง ธาตุเหล็กจะมีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของเด็กทารก และช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางด้วย
  • อาหารที่มีโฟเลต จำพวกผักและผลไม้ เช่น มะเขือเทศ ส้ม บร็อกโคลี ผักโขม มันฝรั่ง รวมถึงผักใบเขียวต่างๆ ทั้งนี้อาหารที่มีโฟเลตจะมีผลต่อการพัฒนาสมอง ไขสันหลัง กระดูกสันหลังของทารกในระยะแรก

เมนูอาหารคนท้องที่แนะนำไข่ตุ๋น, เต้าหู้ไข่, ผัดผักโขม, ผัดผักบร็อกโคลี, ต้มไก่ใส่มะเขือเทศ, ข้าวผัดข้าวกล้อง, ปลาแซลม่อนย่าง และผักใบเขียวชนิดต่างๆ

แหล่งอ้างอิง : www.paolohospital.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

อัลตร้าซาวด์กี่สัปดาห์ ถึงจะเห็นตัวเด็ก อัลตร้าซาวด์ ครั้งแรก ทำไมยังไม่เห็นตัวอ่อน ท้องลมหรือไม่

กี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง อายุครรภ์ นับจาก ตอนไหน นับยังไงว่ากี่วีคแล้ว

นับวันไข่ตกยังไงให้ท้อง พร้อมท่าเซ็กส์ วิธีนับวันไข่ตกที่ถูกต้อง แบบง่ายๆ ท้องเร็วที่สุด ปล่อยยังไงให้ท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri