9 สิ่งที่ควรปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์ ควรทำไม่ทำอะไร
ตั้งท้องก็เหมือนเป็นนักเรียนเข้าใหม่ หลังจากความตื่นเต้นแล้วก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี ต้องดูแลตัวเองยังไง ควรกินไม่ควรกินอะไร ควรทำไม่ควรทำอะไร มารู้กันตรงนี้เลย
1. ควรมีความฟีลกู๊ดเข้าไว้
2. ควรเช็กไลฟ์สไตล์การกิน
3. ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด
4. ควรควบคุมน้ำหนัก
5. ควรออกกำลังกาย
6. ไม่ควรกินเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7. ไม่ควรกินยาที่ไม่คุ้นเด็ดขาด
8. ไม่ควรกินเครื่องดื่มคาเฟอีน
9. ไม่ควรเป็นสิงห์อมควัน
วิธีดูแลเพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย แนะนำการปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ว่า เด็กคืออนาคตที่สําคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การสร้างคนไทยคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี
ถือเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์
คนท้องต้องปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์อย่างไร
การเตรียมความพร้อมของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งยังเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้อีกด้วย
-
ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์
คนท้องต้องกินวิตามิน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก สัปดาห์ละ 1 เม็ด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารต้องอุดมด้วยธาตุเหล็กและโฟเลท เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูก
-
ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
แม่ต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดี ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ ช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ช่วงเด็กอายุ 0-6 เดือน ช่วงเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด กินวิตามินบำรุงที่มีไอโอดีน เหล็ก โฟลิกทุกวัน หากขาดไอโอดีนลูกน้อยสมองพัฒนาไม่สมบูรณ์ไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และต้องคอยดูแลฟัน ออกกำลังกาย นอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมงทุกวัน
การกิน
แม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัย เน้นข้าว เนื้อสัตว์สลับตับ ไข่ ผัก ผลไม้ในปริมาณเพียงพอสัดส่วนเหมาะสมอาหารตามวัยบดละเอียดไปหยาบจนถึงอายุ 2 ปีขึ้นไป เพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมองซึ่งไม่มีอาหารใดเทียบได้
เด็ก 1-3 ปี ต้องกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในปริมาณเพียงพอสัดส่วนเหมาะสมเน้นกินปลา ตับ ไข่ นม
การกอด
พ่อแม่ควรกอดลูกทุกวันเพื่อให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่รักและหวังดีเสมอ การอบรมเด็กต้องทำด้วยความรัก ความเข้าใจและใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์บังคับ ฝืนใจ ไม่ดุด่าให้ลูกกลัวและเสียกำลังใจ คอยให้คำแนะนำ พูดชมเชยและให้รางวัลถ้าลูกทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็กเพียงแค่กอด หอมแก้ม ตบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจแล้ว
การเล่า
พ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือน ให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันต่อเนื่องจนกระทั่งเด็กโต เลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูง ต่ำ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่า ควรเล่าให้จบเล่ม และเก็บหนังสือไว้ที่เดิมให้ลูกมองเห็นได้
การนอน
วิธีดูแลลูกเมื่อเข้าสู่วัยเรียน
พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กกินอาหารถูกหลักโภชนาการ จัดอาหารหลักให้เด็กกินให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่เว้นมื้อใดมื้อหนึ่งโดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะจะทำให้เด็กความจำดี พัฒนาสมอง และควรจัดอาหารให้ เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเด็ก
- ใน 1 วัน เด็กควรกินข้าว/แป้ง 8 ทัพพี ผัก 4 ทัพพี ผลไม้ 3 ส่วน เนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว นม 2 แก้ว
- ฝึกเด็กในการกินอาหารให้ตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ ไม่กินขนมก่อนอาหารมื้อหลัก
- ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายชนิดที่มีแรงกระแทกของข้อ เช่น กระโดดเชือก กระโดดยาง กระโดดตบ เล่นบาสเก็ตบอล โดยทำต่อเนื่องไม่น้อยกว่าครั้งละ 10-15 นาที ทุกวันๆ ละ 60 นาที หรือทำแบบสะสมเวลา
- ลูกต้องนอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยลดปัจจัยเอื้อที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับ เช่น ไม่เล่นเกมก่อนนอน ไม่วางโทรศัพท์ไว้บนที่นอน หรือไม่เปิดทีวีทิ้งไว้ในห้องนอน เพื่อให้นอนหลับสนิท ซึ่งจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มความสูง และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปกติ
เฝ้าดูฟัน
ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมให้ลูกฉลาด แข็งแรง เติบโตสมวัยคือ การเฝ้าดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของลูกตั้งแต่ฟันซี่แรก รองอธิบดีกรมอนามัย เตือนว่า หากเด็กมีปัญหาฟันผุจะสร้างความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหารส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
นอกจากนี้ การมีฟันผุหลายซี่ในปากมีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็นของเด็กและเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีแนวโน้มว่าฟันแท้จะผุมากขึ้นเช่นกัน เมื่อไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด และอาการเจ็บปวดอาจทำให้ต้องหยุดเรียน ส่งผลกระทบต่อการเรียนด้วย
การปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์หรือวิธีดูแลตัวเองตอนท้องนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก สิ่งสำคัญคือ หากแม่รู้ตัวว่าท้องต้องรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ต้องไปตามนัดทุกครั้ง หมั่นสังเกตอาการตัวเอง เพราะคนท้องมักจะมีอาการมากมายที่เกิดขึ้น ทั้งอาการที่เป็นปกติระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งทำให้ทั้งคนท้องและทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ถ้าแม่ท้องรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องนะคะ
Credit content : th.theasianparent.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
อยากให้ผิวพรรณดี ไม่หมอง ไม่คล้ำ ระหว่างตั้งครรภ์ทำได้ไม่ยาก
9 วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์