วิธีเล่นกับลูก กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิด - 18 เดือน

วิธีเล่นกับลูก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย วัยแรกเกิด - 18 เดือน ลูกน้อยต้องมีพัฒนาการอย่างไร มีวิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเล่นกับลูก กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

วิธีเล่นกับลูก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็ก มีความจำเป็นมาก เนื่องจากเด็กๆ ต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านภาษา ด้านสังคมอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งเหล่านี้จะมาจาการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ ของลูกน้อย ยิ่งลูกน้อยได้ลงมือทำมากเท่าไหร่ เด็กๆ ก็จะยิ่งได้รับการพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น

การส่งเสริมพัฒนาการลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็ก อยากรู้ว่าลูกเรามีพัฒนาการที่ดีหรือไม่ก็ดูได้จากการเคลื่อนไหวของลูก ทั้งการนั่ง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ปีนป่าย เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูกันสิว่า ลูกน้อยมีพัฒนาการแต่ละช่วงอายุตามนี้ไหมน้า

#เด็กแรกเกิด - 1 เดือน

สำหรับเด็กวัยนี้ หนูน้อยจะเริ่มนอนควํ่าได้ สามารถยกศีรษะได้ และสามารถที่จะหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งได้ หากคุณพ่อคุณแม่อยากจะเล่นกับลูกน้อย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการก็ไม่ยาก ใช้แค่ของเล่นกรุ่งกริ๋ง แล้วทำตามวิธีด้านล่างนี้

  1. จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนควํ่า พ่อแม่เขย่าของเล่นที่มีเสียงตรงหน้าเด็ก โดยต้องเว้นระยะห่างประมาณ 30 ซม. (หรือ 1 ไม้บรรทัด) เมื่อลูกน้อยมองที่ของเล่น ก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นมาทางด้านซ้าย เพื่อให้เด็กหันศีรษะมองตาม
  2. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นกลับมาอยู่ที่เดิม
  3. ทําซํ้าอีกครั้งโดยเปลี่ยนให้เคลื่อนของเล่นมาทางด้านขวา

#เด็กอายุ 1 เดือน - 2 เดือน

หนูน้อยวัยนี้ เวลาอยู่ในท่านอนควํ่า เด็กจะสามารถยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที แม่ๆ อาจใช้กรุ๋งกริ๋ง เล่นกับลูกได้เช่น วิธีเล่นมีดังนี้

  1. จัดเด็กอยู่ในท่านอนควํ่า ข้อศอกงอ
  2. หยิบของเล่นมาเขย่าตรงหน้าเด็ก เมื่อเด็กมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้เด็กเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2
  3. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าเด็กเหมือนเดิม
  4. ทําซํ้าอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าเด็ก เมื่อเด็กมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้เด็กเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
  5. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าเด็กเหมือนเดิม

#เด็กอายุ 3 เดือน - 4 เดือน

เด็กวัยนี้ เริ่มเรียนรู้ได้มากขึ้น มีพัฒนาในการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากขึ้น สามารถยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาเล่นได้ โดยเหยียดแขนออก ห่างจากลํำตัว เวลาเล่นกับลูกวัยนี้ก็สามารถใช้กรุ๋งกริ๋ง เล่นกับลูกได้เช่นกัน วิธีมีดังนี้

  1. จัดเด็กอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ปกครองนั่งข้างเด็ก
  2. ให้พ่อแม่ยื่นหน้าเข้าไปพูดคุยกับเด็กหรือยื่นของเล่นในระยะที่เด็กจะเอื้อมมือไปถึง หรือแขวนโมบายให้เด็กเล่นในระยะที่เด็กเอื้อมมือถึง

วิธีเล่นกับลูก

#เด็กอายุ 5 เดือน - 6 เดือน

เด็กสามารถยันตัวขึ้นจากท่านอนควํ่าได้ โดยที่เหยียดแขนตรงทั้งสองข้างได้ การเคบื่อนไหวต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พ่อแม่เริ่มเตรียมเหนื่อยกับเจ้าตัวยุ่งได้เลย ส่วนวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยใช้กรุ๋งกริ๋ง มีดังนี้

  1. จัดเด็กอยู่ในท่านอนควํ่า
  2. จากนั้นถือของเล่นไว้ด้านหน้าเหนือศีรษะเด็ก
  3. เรียกชื่อของลูกน้อยให้คอยมองดูของเล่น แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้น เพื่อให้เด็กสนใจที่จะยกศีรษะ และลำตัวตามจนพ้นพื้น และแขนเหยียดตรง มือยันพื้นไว้

#เด็กอายุ 7 เดือน - 9 เดือน

มาถึงวัยนี้ แม่ๆ เตรียมวิ่งไล่จับได้เลย ถึงแม้ว่าน้องๆ จะวิ่งไม่ได้ แต่คลานเร็วไม่แพ้ใครเหมือนกัน พัฒนาการของลูกวัยนี้ เด็กๆ จะสามารถเอี้ยวตัวใช้มือเล่นได้อย่างอิสระในท่านั่ง ของเล่นที่ใช้เล่นกับลูก แนะนำให้ใช้ลูกบอลมีเสียง แล้วทำตามด้านล่างนี้นะคะ

  1. จัดลูกให้อยู่ในท่านั่ง วางของเล่นไว้ที่พื้นทางด้านข้างเยื้องไปด้านหลังของเด็กในระยะที่เด็กเอื้อมถึง
  2. พ่อแม่เรียกชื่อเด็กให้สนใจของเล่นเพื่อจะได้เอี้ยวตัวไปหยิบของเล่นทํําอีกข้างสลับกันไป
  3. ถ้าลูกทําไม่ได้ เลื่อนของเล่นให้ใกล้ตัวเด็กอีกเล็กน้อย แล้วผู้ปกครองช่วยจับแขนเด็กให้เอี้ยวตัวไปหยิบของเล่นนั้น

#เด็กอายุ 10 เดือน - 12 เดือน

พัฒนาการมาถึงขั้นนี้ เด็กๆ เขาสามารถหย่อนตัวลงนั่งจากท่ายืนได้แล้วนะแม่ๆ โดยใช้มือเกาะเฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งรอบข้างเพื่อพยุงร่างกายของตัวเอง แม่ๆ สังเกตเห็นบ้างหรือยัง สำหรับวิธีการเล่นกับลูก ก็ใช้กรุ๋งกริ๋งได้เหมือนเดิม แต่อาจเปลี่ยนแบบหน่อยก็ได้เนอะ วิธีการก็ตามด้านล่างเลยจ้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. จัดให้เด็กอยู่ในท่ายืนเกาะเฟอร์นิเจอร์ โดยที่พ่อแม่อยู่ด้านหลังเด็ก ระยะห่างพอดีที่จะช่วยประคองเมื่อเด็กจะล้ม
  2. หยิบของเล่นขึ้นมาเล่นในระดับสายตาของเด็กเมื่อเด็กสนใจของเล่น วางของเล่นไว้ที่พื้น
  3. พูดคุย ชักชวนให้ลูกน้อยหย่อนตัวลงมานั่งเล่นของเล่นที่พื้นด้วยกันกับพ่อแม่
  4. ถ้าเด็กยังทรงตัวไม่ดี ผู้ปกครองช่วยพยุงตัวเด็กให้ลงนั่งที่พื้น ลดการช่วยเหลือเด็กลง จนกระทั่งเด็กสามารถหย่อนตัวลงนั่งที่พื้นได้ด้วยตัวเอง

#เด็กอายุ 13 เดือน - 18 เดือน

เด็กสามารถเดินลากของเล่น หรือสิ่งของได้ คราวนี้ได้วุ่นวายกันทั้งบ้านแล้ว เพราะหนูน้อยจะลากรถของเล่นสุดโปรดไปรอบๆ บ้านน่ะสิ ถ้าพ่อแม่อยากจะกระตุ้นพัฒนาการของลูก ก็แค่ใช้รถที่มีล้อ พร้อมต่อเชือกผูกรถไว้สำหรับลาก โดยที่

  1. พ่อแม่ต้องจับมือลูก ให้ลากของเล่นเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
  2. พ่อแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกได้เดินต่อไปเรื่อยๆ โดยทําหลายๆ ครั้ง จนเด็กสามารถเดินลากของเล่นไปได้เอง

วิธีเช็คว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่

  • เด็กอายุ 1-2 เดือน: เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อเสียง ใช้ของเล่นล่อแล้วยังนิ่ง
  • เด็กอายุ 6 เดือน: ถ้าลูกยังไม่คว่ำ ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ให้สงสัยไว้ก่อน
  • เด็กอายุ 9 เดือน: ลูกไม่แสดงอารมณ์ ไม่มีอารมณ์ร่วมกับคนอื่น ไม่เล่นกับใคร และไม่นั่งเอง
  • เด็กอายุ 18 เดือน: ไม่ยอมเดิน ใครพูดอะไรก็ไม่เข้าใจ แม้จะใช้คำสั่งง่ายๆ

วิธีเล่นกับลูกเพื่อพัฒนาการที่ดี

ทำไมลูกถึงเป็นเด็กพัฒนาการล่าช้า

จากผลคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ โดยกรมอนามัย พบว่า สาเหตุที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้า มาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ทำให้ลูกน้อยขาดประสบการณ์ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ได้ หากพ่อแม่สังเกตพฤติกรรม แล้วพบเห็นความผิดปกติ ให้รีบแก้ไขโดยทำตามวิธีการส่งเสริมพัฒนาการของลูก งดให้ลูกดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ จากนั้นหมั่นตรวจคัดกรองพัฒนาการลูกอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่พ่อแม่พยายามส่งเสริมพัฒนาการลูกแล้ว แต่ยังไม่เป็นผลลูกยังคลมีพัฒนาการที่ล่าช้าอยู่ พ่อแม่ต้องเข้ารับการตรวจประเมินโดยแพทย์ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยหาสาเหตุ พร้อมทั้งแนะนำวิธีแก้ปัญหา เพราะว่าเด็กอาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ หากพบว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม โรงทางสมอง ออทิสติก ภาวะขาดออกซิเจนช่วงคลอด ภาวะติดเชื้อในครรภ์มารดา หรือภาวะขาดสารอาหาร เป็นต้น

มาเล่นกับลูกกันเถอะ

1.เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เอามือปิดหน้าไว้ แล้วเปิดออกพร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋” ถ้าลูกเริ่มเข้าใจมากขึ้นจะรู้จักเอามือคุณออกจากกันเพื่อให้เห็นหน้าของคุณเร็วขึ้น ลูกอายุก่อน 9 ด.จะยังไม่ทราบว่าคุณอยู่ด้านหลังของมือ ลูกจึงตื่นเต้นเวลาที่คุณเล่นเกมส์นี้ และนอกจากนี้เกมส์นี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเวลาที่คุณจากไปเดี๋ยวก็กลับมา และถ้าเล่นเกมส์นี้เวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัว จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนดีขึ้น

2.เล่นส่งเสียงและยิ่มโต้ตอบกัน

ทำเสียงโต้ตอบและยิ้มโต้ตอบกับลูก เกมนี้จะช่วยพัฒนาการด้านภาษา และช่วยให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองเพราะรู้ว่าพ่อแม่รู้สึกสนุกเวลาเล่นกับเค้า

3.ผ้าหรรษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริ่มจากที่คุณพ่อคุณแม่หาชิ้นผ้าที่มีผิวสัมผัส สี ลายหลากหลายแตกต่างกัน ให้ลูกได้จับ โบก สะบัดไปมา ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ การทำงานของมือและสายตาประสานกัน

4.ของเล่นกรุ๊งกริ๊ง

พ่อแม่เขย่าให้ลูกดูและฟัง ต่อมาลูกก็เขย่าได้เอง

5. ตบมือแปะๆ

เกมนี้จะช่วยให้ลูกน้อยได้พัฒนาการด้านภาษา รวมถึงประสาทสัมผัสที่มือ เมื่อลูกโตขึ้นจะเลียนแบบท่าทางได้ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและการทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตา

ที่มา: แพทย์หญิงแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ของเล่นฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก วิธีฝึกกล้ามเนื้อมืออนุบาล แม่ทำได้ง่ายเวอร์ (มีคลิป)

พ่อแม่รู้ไว้! วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย ไม่เป็นตัวถ่วงพัฒนาการของลูกน้อย

กิจกรรมพัฒนาสมองเด็ก 1 – 3 ปี เล่นอะไรแล้วลูกฉลาด เรียนรู้ได้เร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri