เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ต่างเฝ้าสังเกตการเติบโตของลูกทุกวัน ๆ โดยเฉพาะเรื่องของ ส่วนสูง เพราะหากลูกมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่เพียงเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกอาจเติบโตไม่สมวัย แต่อาจจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของลูกได้ เมื่อลูกต้องเจอสังคมใหม่ ๆ มีเพื่อนมากขึ้น จะเกิดการเปรียบเทียบส่วนสูง และอาจขาดความมั่นใจได้หากลูกสูงหรือเตี้ยเกินไป วิธีคำนวณความสูงลูก จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อจะได้เข้าใจการเจริญเติบโตของลูก และรับมือกับปัญหาความสูงของลูกได้ทันท่วงที
วิธีคำนวณความสูงลูก คำนวณส่วนสูงตามพันธุกรรม
โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้อธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกับความสูงของลูก ได้แก่
- พันธุกรรม โดยปกติแล้วถ้าพ่อแม่สูง ลูกมักจะสูง หรือถ้าพ่อแม่เตี้ย ลูกก็มักจะเตี้ย
- สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ และการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ Growth Hormone, Thyroid Hormone และ Sex Hormone ที่เป็นปกติ เป็นต้น
เกณฑ์ความสูง อัตราการเพิ่มความสูงตามมาตรฐานตั้งแต่แรกเกิด
อายุ |
อัตราการเพิ่มความสูง (เซนติเมตรต่อปี) |
แรกเกิด – 1 ปี | 23 – 27 ซม. |
1 – 2 ปี | 10 – 12 ซม. |
ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น | 6 – 7 ซม. |
สำหรับ ช่วงวัยรุ่น เด็กจะมีเวลาประมาณ 1 – 2 ปี ที่จะมีการเพิ่มความสูง สูงสุด (Peak Pubertal Growth Spurt)
• เด็กหญิง 7 – 10 ซม. ต่อปี
• เด็กชาย 8 – 12 ซม. ต่อปี
วิธีคำนวณความสูงลูกเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
การคำนวณความสูงสุดท้ายจากความสูงของพ่อแม่ (Midparental Height และ Target Height) เป็นความสูงตามศักยภาพทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่สามารถลองคำนวณความสูงคร่าวๆ ของลูกได้เองด้วยวิธีนี้
เด็กผู้ชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) ÷ 2
ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.
175 + 152 = 327 ซม.
นำผลลัพธ์ไปบวก 13 จะได้ 327 + 13 = 340
นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 340/2 = 170
170 เซนติเมตร คือความสูงคร่าวๆ ของลูกชายในอนาคต
เด็กผู้หญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) ÷ 2
ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.
175 + 152 = 327
นำผลลัพธ์ไปลบ 13 จะได้ 327 – 13 = 314
นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 314/2 = 157
157 เซนติเมตร คือความสูงคร่าวๆ ของลูกสาวในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วงบวกลบ 7 – 9 เซนติเมตร ดังนั้นความสูงสุดท้ายของลูกชาย ตามตัวอย่างจะอยู่ที่ 161 – 179 เซนติเมตร และลูกสาวจะอยู่ที่ 148 – 166 เซนติเมตร ตามลำดับ
กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ความสูงของเด็กหญิง
กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ความสูงของเด็กชาย
เด็กโตไวเกินอายุ อันตรายหรือไม่
ความสูงของลูก อีกปัญหาหนึ่งก็คือ สูงเกินไหว หากลูกสูงไว โตเร็ว เกินเพื่อนวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย (Precocious Puberty) ที่จะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก และมีอายุกระดูกล้ำหน้าไปกว่าอายุจริง จากนั้นหัวกระดูกจะปิดเร็วกว่ากำหนด ทำให้เด็กที่โตเร็วในตอนแรกกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวไม่สูงหรือตัวเล็กในอนาคตได้ ซึ่งโรคเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยนี้ นอกจากจะส่งผลต่อเรื่องความสูงแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กด้วย
- เด็กผู้หญิงที่โตเกินวัย มักจะมีพัฒนาการของเต้านมก่อนอายุ 8 ขวบ หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ขวบ
- เด็กผู้ชายที่โตเกินวัย สังเกตได้จากขนาดอัณฑะที่มักใหญ่กว่า 4 ซีซี
นอกจากนี้ ยังมีวิธีคำนวณความสูงลูกจากภาพถ่ายเอ็กซเรย์อายุกระดูก ซึ่งแพทย์จะช่วยคำนวณความสูงในอนาคตของลูกได้ชัดเจนกว่า ซึ่งวิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์
รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่
ที่มา : bangkokhospital
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ ตรวจสุขภาพทารก ฉีดวัคซีนทารก แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
ทารกติดโรค จากผู้ใหญ่ ทารกป่วยบ่อย ติดเชื้อจากพ่อแม่ ครอบครัว คนป่วยต้องอยู่ให้ห่างลูก
พ่อแม่ที่ตีลูก ดุด่าลูก ใส่อารมณ์กับลูก ระวังลูกโตไปเป็นเด็กเสียคน ไร้วินัย