วิตามินเสริมสำหรับเด็ก พ่อแม่ให้ลูกกินเกินขนาด อันตราย! กินวิตามินเยอะอันตรายไหม อาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด เป็นอย่างไร ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก
ให้ทารกกินแคลเซียมเสริมตั้งแต่อายุ 10 วัน กินวิตามินเยอะอันตรายไหม
เว็บไซต์เวิลด์ออฟบัซ รายงานข่าวเด็กหญิงวัย 1 ขวบ 10 เดือน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในเมืองกว่างโจว ตอนใต้ของจีน เพราะปัสสาวะเป็นเลือด โดยกุมารแพทย์รีบตรวจร่างกายและพบว่า เด็กหญิงวัยเพียงขวบกว่า มีนิ่วในไตทั้งสองข้าง ถึง 9 ก้อน ก้อนใหญ่สุดมีขนาด 2 เซนติเมตร ก้อนนิ่วจำนวนหนึ่งได้ไปอุดตันท่อไต หรือหลอดไตทั้งส่วนล่างและส่วนบน ส่งผลให้เกิดภาวะไตบวมน้ำ (Hydronephrosis)
แม่ของเด็กหญิงคนนี้บอกกับหมอว่า ลูกเกิดก่อนกำหนด ตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่น ๆ เธอกังวลว่า เมื่อลูกโตไปแล้วจะมีปัญหาเรื่องความสูง จึงให้ลูกกินแคลเซียมเสริม โดยบดเป็นผงผสมนมให้ลูกกินติดต่อกันทุกวัน ตั้งแต่ลูกอายุได้ 10 วันเท่านั้น จนกระทั่งลูกอายุ 10 เดือน แต่ฟันน้ำนมก็ยังไม่ขึ้น จึงให้ลูกกินแคลเซียมเสริมเพิ่มอีกเท่าตัว ทั้งยังผสมน้ำมันปลาให้ลูกกินเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ผ่าตัดเอานิ่วออกจากไตของเด็กหญิงเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเตือนว่า ทารกไม่ควรได้รับวิตามินเสริมสำหรับเด็ก เพราะทารกควรได้รับสารอาหารจากน้ำนมเท่านั้น
ที่มา : https://hilight.kapook.com
วิตามินเสริมสำหรับเด็กมีข้อควรระวังที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ มาดูอันตรายอาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด และข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก จากคุณหมอด้านล่างค่ะ
กินวิตามินเยอะอันตรายไหม อันตรายจากการทานวิตามินสำหรับเด็กมากเกินขนาด
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกรงว่าลูกจะขาดวิตามิน จึงให้ลูกทานในปริมาณที่เยอะกว่าปกติ โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และไม่ได้มีอันตรายจากร่างกาย แต่ต้องไม่ลืมว่าวิตามินเป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกายเมื่อเรารับประทานในปริมาณที่เหมาะสมย่อมมีประโยชน์มาก แต่หากได้รับจนเกินขนาดแล้วก็อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกับที่เราทานยาจนเกินขนาดนะคะ
ตารางวิตามินสำหรับเด็ก
ตารางปริมาณวิตามินที่เหมาะสมกับวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่สามารถดูได้จากตาราง Dietary Reference Intakes (DRIs): Recommended Dietary Allowances and Adequate Intakes ของประเทศไทย (ดังเช่นตัวอย่างจาก link นี้ค่ะ https://www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/Thai-DRI-Table.pdf)
กินวิตามินเยอะอันตรายไหม หากลูกรับประทานวิตามินเกินขนาดจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง
อาการของผู้ที่ได้รับประทานวิตามินเกินขนาดแบบไม่จำเพาะเจาะจง ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
อาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด ได้แก่
- วิตามินเอ จะเกิดปัญหาสายตามองภาพไม่ชัดเจน คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร ปวดหัว และอาจมีอาการชักได้
- วิตามินบี 1 ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อ่อนแรง ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันต่ำ
- วิตามินบี 3 ผิวหนังแดงเป็นผื่นคัน ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย
- วิตามินบี 6 เส้นประสาทจะถูกทำลาย มีอาการชา เดินเซ เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลียผิดปกติ
- วิตามินซี อาจเป็นนิ่วในไต ท้องเสีย คลื่นไส้ ปั่นป่วนท้อง
- วิตามินดี ท้องผูกและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทางเดินอาหารปั่นป่วน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดกระดูก ปัสสาวะมากผิดปกติ
- วิตามินอี คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ เลือดออกง่ายผิดปกติ และอาจมีภาวะเลือดออกง่ายรุนแรงจนถึงขั้นเกิดเลือดออกในสมองได้
- วิตามินเค ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก ตัวเหลือง ตาเหลือง
ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก
- ปัจจุบันนี้มีวิตามินสำหรับเด็กหลายยี่ห้ออยู่ในรูปของขนมขบเคี้ยวและเยลลี่จึงทำให้เด็กทานเยอะโดยไม่รู้ตัวดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องควบคุมการทานวิตามินของลูกอย่างใกล้ชิดพระวิตามินไม่ได้เป็นขนมหากทานมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
- หากลูกสามารถทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ครบ 5 หมู่และทานผักผลไม้ได้ปกติ ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานวิตามินเสริมแต่อย่างใด
- หากไม่แน่ใจว่าลูกควรทานวิตามินเสริมหากลูกจำเป็นต้องทานวิตามินเสริมในรูปแบบต่างๆและไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้ในขนาดเท่าใด ก็สามารถดูได้จากฉลากยาข้างขวดหรือกล่องของวิตามิน ซึ่งมักจะเขียนขนาดที่เหมาะสมตามอายุของเด็กไว้ โดยไม่ควรเพิ่มขนาดของวิตามินเองอย่างเด็ดขาดนะคะ
- ควรเน้นที่การฝึกลูกให้ทานอาหารได้หลากหลายครบ 5 หมู่ผักทานผักและผลไม้ มากกว่าเน้นการทานวิตามิน
- วิตามินต่างๆสำหรับเด็กก็ควรเก็บอยู่ในที่ห่างไกลจากมือเด็กเช่นเดียวกับยา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเก็บวิตามินไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบเองได้ เพราะอาจเกิดอันตรายจากการทานวิตามินเกินขนาดโดยเฉพาะวิตามินที่อยู่ในรูปสามารถเคี้ยวง่าย รสชาติอร่อย
ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกแอบทานวิตามินเสริมสำหรับเด็กจนเกินขนาด ก็ควรจะรีบโทรปรึกษาคุณหมอหรือศูนย์พิษวิทยา เช่น ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี Hotline: 1367 ( ตลอด 24 ชั่วโมง ) ได้ทันที เพื่อจะได้รับข้อแนะนำและการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ก่อนลูกเข้าอนุบาลต้องรู้อะไรบ้าง ความรู้เบื้องต้นสำหรับเด็กอนุบาลที่พ่อแม่ต้องรู้
น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก วัยแรกเกิด-5 ปี พ่อแม่เช็คเลย!!
แคลเซียม สารอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับ ลูกน้อยวัยเตาะแตะ
สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง