วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี มีความสำคัญต่อทารกอย่างมาก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สามารถทราบได้ว่าตนเองนั้นเป็นพาหะนำโรคชนิดนี้ไปสู่ลูกน้อยหรือไม่ ซึ่งหากแม่มีโรคดังกล่าว อาจจะนำมาซึ่งการถ่ายทอดไปสู่ทารกได้ขณะคลอด ได้ถึง 90 % ดังนั้น วัคซีนต้านไวรัสชนิดนี้ คือหนึ่งในวัคซีนที่สำคัญที่สุดสำหรับทารก
มารู้จัก ไวรัสตับอีกเสบ บี กันก่อน!
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือดหรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันอะไร ?
โรคที่น่ากลัวที่สุดสำหรับมนุษย์เราคือ มะเร็ง ดังนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนชนิดนี้ สามารถป้องกันมะเร็งชนิดแรก เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันมะเร็งตับ อันเกิดต่อเนื่องจากภาวะไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่ง วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ประกอบด้วยโปรตีนจากผิวของไวรัส (HBsAg) ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง: คนท้องเป็นไวรัสตับอักเสบบี ถ่ายทอดจากแม่ท้องสู่ทารก ท้อง เป็นไวรัสตับอักเสบบี ลูกเสี่ยงมะเร็งตับ
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไปสู่ลูกได้อย่างไร
- ควรรีบฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
- แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เช่น เชื้อไวรัสตัวอักเสบบี
- แพทย์จะตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคเชื้อไวรัสตัวอักเสบบีนี้ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อความปลอดภัย
- หากพบว่ามีโรคดังกล่าว แพทย์จะดูแลด้านทางเดินอาหารและโรคตับโดยเฉพาะเพื่อดูแลครรภ์มารดา
- หากตรวจเลือดแล้วไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ทารกควรฉีด วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ตอนเมื่อไหร่?
คุณแม่ท้องหรือคุณแม่มือใหม่ ควรจำไว้ว่า ลูกน้อยสามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด โดยฉีดเหมือนกับผู้ใหญ่ ทั้งหมด 3 เข็ม หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และฉีดเข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ครบ 3 เข็ม ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ประมาณ 1-2 เดือน ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่มีภูมิต้านทาน ควรฉีดวัคซีนเพิ่มตามคำแนะนำของแพทย์
ทารกต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่ ?
- เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 10 ปี) ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน
- เด็กโต (อายุ 10 ปีขึ้นไป) และผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาแล้ว ซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันโรคแล้วตาม
- ธรรมชาติหรือเป็นพาหะ ซึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโดยไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจเลือดประกอบกับการพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่
การตรวจเลือด สามารถตรวจได้ 3 แบบ
- การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (บางทีก็เรียกว่า การเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี) ได้แก่ การตรวจ HBsAg
- การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBsAb หรือ Anti HBs
- การตรวจหาภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBcAb หรือ Anti HBc ซึ่งถ้าพบตัวใดตัวหนึ่ง Positive ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องกระตุ้นหรือไม่ ?
ในคนทั่วไป หลังมีภูมิต้านทานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะลดลงตามระยะเวลา ในบางคนอาจมีภูมิต้านทานลดลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นหากได้รับเชื้อ จึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
บทความที่เกี่ยวข้อง: อากาศเริ่มร้อน ระวังลูกป่วยไวรัสตับอักเสบเอ
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
- อาการระยะเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ดังนี้
- อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
- อาการอื่น ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
- อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
2. อาการระยะเรื้อรัง
- ระยะเรื้อรังแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน
- ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
- ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้
- การติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
บุคคลที่สามารถฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ได้
นอกจากสตรีมีครรภ์และทารกแล้ว ยังมีคนที่มีความเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งตับหลายกลุ่มที่สามารถรับวัคซีนได้ดังนี้
- ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
- ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
- ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
- ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
- ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
- ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
- ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น มีคู่นอนหลายคน
หากมีอาการเหล่านี้ควรงดรับวัคซีน
- เคยมีประวัติแพ้ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ในครั้งก่อน หรือแพ้ต่อส่วนผสมต่าง ๆ ในวัคซีน
- หากมีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน
- กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
อาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
- วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาใด ๆ
- ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังจากฉีด ได้แก่ ไข้ต่ำ ๆ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายได้เองภายใน 1-2 วัน
- อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ ปวดเมื่อย เพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ข้ออักเสบ ผื่นที่ผิวหนัง และมี transaminase เพิ่มขึ้นชั่วคราว
- หากมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์
วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ (ปกติถ้ามีภูมิแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต) หากไม่ทราบว่ามีภูมิคุ้มกัน หรือไม่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจเลือด
- สำหรับเด็กทารกแรกเกิด การได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ตั้งแต่แรกคลอด หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกัน
- ตรวจสุขภาพประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
บทความที่น่าสนใจ :
วิตามินเด็ก ต้องเสริมอะไรบ้าง? ทำไมเด็กถึงต้องกิน มีความจำเป็นอย่างไร?
การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79
สร้างภูมิคุ้มกันรอบด้าน เทรนด์การเลี้ยงลูกของแม่สมัยใหม่
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ได้ที่นี่!
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เริ่มฉีดได้ตอนอายุเท่าไรคะ
ที่มา : (นพ. ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม),(phyathai),(โรงพยาบาลเปาโล)