วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนโรคบาดทะยัก ที่มากับสิ่งพื้นดิน สิ่งสกปรกที่คุณอาจจะมองข้าม รู้หรือไม่หากติดเชื้อรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ เราไปดูกันเลยค่ะ วัคซีนโรคบาดทะยัก ดีอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัคซีนโรคบาดทะยัก ที่มากับสิ่งพื้นดิน สิ่งสกปรกที่คุณอาจจะมองข้าม รู้หรือไม่หากติดเชื้อรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ เราไปดูกันเลยค่ะ วัคซีนโรคบาดทะยัก ดีอย่างไร

 

โรคบาดทะยัก 

โรคบาดทะยักเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium Tetani) ซึ่งพบได้ตามพื้นดิน ฝุ่น สิ่งสกปรก หรือมูลสัตว์ และสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลชนิดต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ ท้อง แขน และขาหดเกร็งตลอดเวลา ในรายที่ติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

วัคซีนโรคบาดทะยัก ควรเริ่มฉีดตั้งแต่ตอนไหน ? 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัคซีนโรคบาดทะยัก

เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1.5 ปี, และ 4-6 ปี แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์จะลดลงหลังจากผ่านไปแล้ว 5-10 ปี จึงควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีกครั้งเมื่อมีอายุประมาน 10-18 ปี

 

วัคซีนบาดทะยักมีกี่ชนิด และมีวิธีการฉีดอย่างไร 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในปัจจุบันมีด้วยกัน 4 ชนิด คือ

  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กเล็ก
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์

วัคซีนโรคบาดทะยัก

  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ

ผลิตจากเชื้อและพิษของเชื้อบาดทะยักและคอตีบที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรค มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการฉีด

  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยฉีดวัคซีนนี้และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน หรือเด็กที่ฉีดวัคซีนนี้ไม่ครบ 3 ครั้ง ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 0 เดือน, 1 เดือน, และ 6 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำทุก 10 ปี
  • เด็กที่ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ครบ 5 ครั้งแล้ว ควรฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ เมื่อมีอายุ 12-16 ปี จากนั้นให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำทุก 10 ปี

 

  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กเล็ก 

ผลิตจากพิษของเชื้อคอตีบและบาดทะยักที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรคผสมกับเชื้อไอกรนที่ผ่านการแยกบริสุทธิ์ ทำให้มีผลข้างเคียงจากการฉีดน้อย รวมทั้งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพป้องกันสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด

วิธีการฉีด

  • เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1.5 ปี, และ 4-6 ปี แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ จะลดลงหลังจากผ่านไปแล้ว 5-10 ปี จึงควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีกครั้งเมื่อมีอายุประมาน 10-18 ปี

 

  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ 

เนื่องจากวัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ จึงมีการดัดแปลงวัคซีนไอกรนให้บริสุทธิ์และมีสารจากเชื้อไอกรนในปริมาณที่น้อยลง ส่งผลให้วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และมีความปลอดภัยต่อเด็กโตและผู้ใหญ่

วิธีการฉีด

  • เด็กโตที่มีอายุตั้งแต่ 10-18 ปี ควรได้รับวัคซีนนี้ 1 ครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะฉีดให้เมื่อเด็กมีอายุ 11-12 ปี จากนั้นควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 10 ปี

 

  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ 

ผลิตจากเชื้อ และพิษของเชื้อที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรคเช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง

วิธีการฉีด

  • เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ เมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน, และ 4-6 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคบาดทะยัก เป็นอย่างไร 

วัคซีนโรคบาดทะยัก

จากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-21 วัน เฉลี่ย 8 วัน

  • บาดทะยักในทารกแรกเกิด

อาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 4-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้ คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ต่อมาเด็กจะดูดนมไม่ได้เลย หน้าแบบแสยะยิ้ม (Risus sardonicus หรือ Sardonic grin) เด็กอาจร้องคราง ต่อมา มือ แขน และขาเกร็ง หลังแข็งและแอ่น ถ้าเป็นมากจะมีอาการชักกระตุกและหน้าเขียว ทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้

 

การรักษาโรคบาดทะยัก 

  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก

ก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กไม่ดูดนม และไม่อ้าปากแสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง อย่าพยายามฝืนหรือกรอกนม เพราะอาจจะทำให้สำลักนมเข้าทางเดินหายใจ ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจอาจถึงตายได้ทันที หรืออาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องตัวผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น และอย่าให้มีเสียงดังรบกวนเพราะจะทำให้ชักเกร็งมากขึ้นได้

  • ให้การรักษาตามอาการ

ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก ให้อาหารทางหลอดเลือด ดูแลเรื่องการหายใจ และทำความสะอาดบาดแผล

 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนบาดทะยัก

  • มีอาการปวด แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  • มีไข้อ่อน ๆ และหนาวสั่น
  • ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
  • อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย
  • เบื่ออาหาร
  • หากเป็นเด็กอาจมีอาการงอแง

 

วิธีการป้องกัน โรคบาดทะยัก

  • รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 3 เข็ม โดยเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 1 เดือน เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 – 6 เดือน และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี ก็จะมีภูมิคุ้มกันบาดทะยักได้ตลอดไป
  • ในทารกแรกเกิดป้องกันโรคนี้ ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ให้แก่มารดาในขณะตั้งครรภ์ 2 ครั้ง ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ให้ครั้งที่ 1 และอีก 1-2 เดือนให้เข็มที่ 2 เด็กแรกเกิดก็จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ และควรฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกครั้งที่ตั้งครรภ์
  • ในเด็กเล็กให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักร่วมกับวัคซีนคอตีบ ไอกรน ตามกำหนดการให้วัคซีน

 

ที่มา : pobpad , phyathai-sriracha

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค

วัคซีนโรคคอตีบ โรคร้ายแรง แต่ป้องกันได้ 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong