ลูกขวบเดียว ชอบร้องตอนอาบน้ำ มีก้อนนูนตรงขาหนีบ ไม่น่าเชื่อ! โรคนี้เด็กก็เป็นได้

ลูกวัย 1 ขวบ 2 เดือน ชอบร้องตอนอาบน้ำ พบก้อนนูนตรงขาหนีบ แล้วโตขึ้นเรื่อย ๆ หมอบอกเป็น ไส้เลื่อนที่บริเวณขาหนีบ

ลูกเป็นไส้เลื่อน hernia ในทารก

ลูกเป็นไส้เลื่อน เป็นได้ตั้งแต่เด็ก ๆ hernia ในทารก หรือไส้เลื่อน เกิดจากอะไร โรคไส้เลื่อน อันตรายไหม ทารกเป็นไส้เลื่อนต้องรักษาอย่างไร มาอ่านประสบการณ์จากคุณแม่ที่มีลูกเป็นไส้เลื่อนกันค่ะ

ลูกเป็นไส้เลื่อนที่บริเวณขาหนีบ

คุณแม่ได้โพสต์เล่าอาการลูกเป็นไส้เลื่อน ไว้ว่า สังเกตุกันด้วยนะคะแม่ ๆ ทีมลูกชายค่ะ อาทิตย์ที่แล้วสังเกตเวลาลูกร้องตอนอาบน้ำ มันจะนูนบริเวณขาหนีบด้านขวา (อาจเกิดได้ทั้งซ้ายและขวาค่ะ)

มาอาทิตย์นี้ ตรงที่นูนมันใหญ่ขึ้น แต่‼️ ถ้าลูกไม่ร้องหรือเกร็งมันไม่นูนค่ะ ลองกดดูลูกไม่ร้องค่ะ ไปหาหมอ หมอแนะนำให้ผ่าค่ะ ถ้าปล่อยไว้แล้วเลื่อนไปลงในลูกอัณฑะ น้องจะปวดมาก คือตกลงกับคุณพ่อว่าเราจะผ่า คุณหมอนัดให้เป็นพรุ่งนี้แต่เช้าเลย คืนนี้หลังเที่ยงคืนให้งดน้ำ งดอาหาร พรุ่งนี้เช้าก่อนหกโมงเช้าต้องไปถึงโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือด ผ่าโดยดมยาค่ะ

คุณแม่บอกเพิ่มเติมว่า น้องคนนี้เป็นเด็กผู้ชาย อายุ 1 ปี 2 เดือน 23 วัน อาการของน้อง ภาษาบ้านเราคือ ไส้เลื่อนที่บริเวณขาหนีบ ภาษาหมอคือ hernia

“ลูกไม่เท่าไหร่ในความเดียงสา เค้าเล่นปกติ แต่อิแม่นี่เครียดเลยพอหมอคร่าว ๆ ต้องงดน้ำ งดอาหาร 6 ชั่วโมง เจาะเลือด ดมยาใช้เวลาผ่าตัด 30-45 นาที แค่ฟังอิแม่ร้องไห้ก่อนลูกอีกค่ะ”

หลังจากนั้น คุณแม่ได้มาอัพเดตการผ่าตัดไส้เลื่อนของลูกชายว่า การผ่าตัดไส้เลื่อนของลูกชาย ผ่านไปได้ด้วยดี สำหรับโอกาสกลับมาเป็นไส้เลื่อนซ้ำ คุณแม่บอกว่า ถ้าคุณหมอเย็บดีก็ไม่เป็นอีกค่ะ แต่ถ้าอายุเยอะหมายถึง 50-60 ปีผนังท้องมันหย่อนยานก็อาจเป็นอีกค่ะ ซึ่งไส้เลื่อนนั้น เด็กบางคนจะมีน้ำในถุงอัณฑะ แม่ต้องดูว่าสองข้างมันมีขนาดเท่ากันไหม

สาเหตุคือ ในช่องท้องมันจะมีถุงซึ่งมันจะปิดเองตามธรรมชาติเมื่อเด็กอายุครรภ์ 8 เดือน ถ้าไม่ปิดเองจะทำให้อวัยวะในช่องท้องเลื่อนลงมา ที่เรียกว่า ไส้เลื่อน วิธีการรักษามีวิธีเดียวคือการผ่าตัดค่ะ ถ้าผ่าแล้วโอกาสไม่เป็นอีก แต่ถ้าอายุมากขึ้น 50-60 ปี ช่องท้องดังกล่าวหย่อนยานก็จะทำให้เกิดซ้ำได้ค่ะ โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย แต่เด็กชายโอกาสสูงกว่า ซึ่งแผลนี้เป็นแผลสะอาดค่ะ แค่ติดพลาสเตอร์กันน้ำ ไม่ต้องล้างแผลเลย หมอนัด follow up อีก 7 วันค่ะ วันที่ผ่า หมอมาเจอปากจู๋ไม่เปิด ต้องขลิบปลายอวัยวะเพศชาย อันนี้สงสารสุด ต้องล้างแผลทุกครั้งหลังฉี่

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอบคุณคุณแม่ที่มาแบ่งปันเรื่องราวนี้ และขอให้น้องแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ

 

โรคไส้เลื่อนในเด็ก คืออะไร

พญ.ลั่นทม ตันวิเชียร กุมารศัลยศาสตร์ ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายถึงโรคไส้เลื่อนในเด็ก ว่า โรคไส้เลื่อน (Hernia) ในเด็กเป็นภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะใดก็ตามที่อยู่ในช่องท้อง เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิมผ่านรูหรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เกิดความอ่อนแอ สูญเสียความแข็งแรง ไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่ง และมักทำให้เห็นเป็นก้อนตุงตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง

โรคไส้เลื่อน สาเหตุ มาจากอะไร

สาเหตุของไส้เลื่อนโดยส่วนใหญ่ มักเกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอหรือหย่อนยานผิดปกติ ทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเคลื่อนเข้าไปอยู่ในบริเวณนั้น ๆ ทำให้เห็นเป็นก้อนตุง

โรคไส้เลื่อน อันตรายไหม การรักษาโรคไส้เลื่อนในเด็ก

โรคไส้เลื่อนสามารถทำการรักษาได้โดยการผ่าตัด ซึ่งไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และการผ่าตัดนี้ไม่ได้ผ่าเข้าไปภายในช่องท้อง เพียงแต่ผ่าตัดซ่อมแซมผนังหน้าท้องที่เป็นปัญหาเท่านั้น ใช้เวลาผ่าตัด 30 – 45 นาที และ ทางโรงพยาบาลก็จะให้กลับบ้านได้เลยในวันเดียวกัน

เมื่อเด็กฟื้นจากการดมยาสลบและตื่นได้ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นเด็กที่มีอายุน้อยมาก เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กมีโรคประจำตัวบางอย่างเช่นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคไต ในเด็กจะพบเป็นชนิดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ซึ่งพบได้ทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง

โดยอวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็ก ไส้เลื่อนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย ทุกเชื้อชาติ และมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด มีส่วนน้อยอาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง

 

ย้ำอีกครั้งนะคะว่า hernia ในทารก หรือโรคไส้เลื่อนในเด็ก ไส้เลื่อนลงถุง พบได้ตั้งแต่เล็ก ๆ ทั้งทารกเพศชายและทารกเพศหญิง ถ้าผิดสังเกต พบก้อนนูน ๆ แปลก ๆ เห็นว่าลูกเป็นไส้เลื่อน พ่อแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอโดยด่วน

ที่มา : https://www.bangkokhospital.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แก้ปัญหาทารกแรกเกิดสะอึก วิธีหยุดลูกสะอึกให้อยู่หมัด ไม่ว่าจะเด็กสะอึก หรือทารกสะอึก

แพทย์ที่ทำ เด็กหัวขาดขณะทำคลอด ได้รับอนุญาตให้กลับไปทำงานแล้ว

แม่แชร์ ญาติแอบป้อนน้ำองุ่นทารก คิดว่าจะหายตัวเหลือง สุดท้ายลูกเกือบตาย

การดูแลอาการป่วยที่พบบ่อยในทารก อาการป่วยทารก อันตราย ที่พ่อแม่ต้องรู้!

 

บทความโดย

Tulya