การไอ ถือเป็นกลไกทางร่างกายในการป้องกัน หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย ซึ่งเวลาลูกไอ ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวล ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านก็อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรต้องสังเกตอาการของลูกให้ดี เพราะถึงแม้ว่าอาการไอจะไม่ใช่โรค แต่ก็เป็นอาการ และสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไอในเด็กกันก่อนค่ะ
อาการไอในเด็กเล็ก
ถ้าเป็นอาการไอในเด็กเล็ก นอกเหนือจากเรื่องของการไอทั่วไป ที่เป็นกลไกของร่างกายตามปกติแล้ว ควรคำนึงถึงสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดโรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม รวมทั้งการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อวัณโรค โรคไอกรน
- เกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวกว่าปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหืด
อาการไอในเด็กโต
สำหรับอาการไอในเด็กโต หรือวัยรุ่น นอกเหนือจากเรื่องของการไอทั่วไป ที่เป็นกลไกของร่างกายตามปกติแล้ว ควรคำนึงถึงสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- การติดเชื้อ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคไซนัสอักเสบ
- แพ้ตัวไรในฝุ่นละออง ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
- หลอดลมอักเสบจากโรคหืด
- เกิดจากการระคายเคือง เช่น จากควันบุหรี่ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง
ยาบรรเทาอาการไอ กรณีที่ลูกเป็นโรคไข้หวัด ยาแก้ไอเด็ก
เบื้องต้นเรามาดูการบรรเทาอาการไอในเด็กโต ที่เกิดจากโรคไข้หวัด ซึ่งพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกไอ โดยเด็กมักจะมีไข้ น้ำมูกไหล มีอาการคัน และระคายคอ
แต่ก่อนที่จะให้ลูกกิน ยาแก้ไอเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น และน้ำแข็ง เพราะจะทำให้ลูกไอมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ ควรให้ลูกกินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย และให้ลูกนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าลูกไอจากการที่มีน้ำมูกมาก การล้างจมูกหรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้
วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกมีอาการไอ
การไอเป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่ง ในการป้องกันตนเองหรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมของตนเองที่เกิดขึ้น และพยายามรักษาตนเองให้แข็งแรง ให้หายใจได้สะดวก ซึ่งเวลาลูกน้อยไอบางทีอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการลูกดี ๆ นะคะ
ถ้าหากเกิดอาการไอในเด็กเล็ก ควรคำนึงถึงสาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิด โรคไข้หวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม รวมทั้งการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อวัณโรค โรคไอกรน แต่ถ้าหากไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากโรคหืดนั่นเอง
แต่ถ้าหากเป็นอาการไอในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคไซนัสอักเสบ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การแพ้ตัวไรในฝุ่นละอองในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบจากโรคหืด หรืออาจเกิดจากการระคายเคือง เช่น จากควันบุหรี่ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกไอ ลูกน้อยไอ ลักษณะอาการไอของทารกที่คุณแม่ควรรู้
สำหรับการบรรเทาอาการไอจาก โรคไข้หวัด ซึ่งทำให้มีไข้ น้ำมูกไหล คัน และระคายคอ โดยเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำแข็งเพราะอาจทำให้อาการไอเพิ่มมากขึ้น และรับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย เพื่อลดการอาเจียนที่อาจเกิดร่วม และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าลูกไอจากการที่มีน้ำมูกมาก การล้างจมูกหรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้
ถ้าอาการไอของลูกน้อยยังไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปหาหมอ หรืออย่างน้อยปรึกษาเภสัชกรซึ่งสามารถจ่ายยาบรรเทาอาการเบื้องต้นให้ได้ ซึ่งยาบรรเทาอาการไอกรณีลูกน้อยเป็นโรคไข้หวัด ได้แก่
-
ยาขับเสมหะ (expectorant)
ยาขับเสมหะที่มีการศึกษาว่าได้ผล และองค์การอนามัยโลกแนะนําให้ใช้ ได้แก่ Guaifenesin หรือ Glyceryl Guaiacolate แต่ต้องระวังผลข้างเคียงจากการให้ขนาดสูงเกินไป ซึ่งจะทําให้เกิดอาการคลื่นไส้ และอาเจียนได้
-
ยากดการไอ (cough suppressant)
ยากดการไอ เช่น Codiene, Dextromethorphan จะทําให้เด็กไอไม่ออก แต่อาจมีเสมหะค้างและอุดตันหลอดลม จึงไม่ควรใช้หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
-
ยาแก้ไอไม่ควรใช้ในเด็ก
ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเด็ก เช่น Acetylcysteine เพราะต้องระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียง และเป็นอันตรายต่อเด็กได้
ข้อควรระวังก่อนให้ลูกกินยา
- ก่อนให้ลูกกินยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
- ห้ามไม่ให้ทารก หรือเด็กเล็กกินยาเม็ด โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มกินและกลืนยาเม็ดเล็ก ๆ ได้เมื่ออายุได้ 8 ขวบขึ้นไป
- สำหรับเด็กเล็ก ที่จำเป็นต้องกินยาเม็ดเนื่องจากไม่มียาน้ำ ควรบดยาให้ละเอียดแล้วเติมน้ำเล็กน้อย แล้วจึงทำการป้อนยาให้
- อ่านฉลากก่อนใช้เสมอ และควรทานให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในฉลากยา หรือตามที่คุณหมอสั่ง
- ไม่ควรผสมยาลงในอาหาร หรือนม เพราะหากกินไม่หมด จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ถูกต้องตามขนาด และอาจทำให้ลูกเกลียดการกินอาหารชนิดนั้น ๆ ได้
- ควรใช้ช้อนตวงยามาตรฐาน ซึ่งมีขีดแบ่งชัดเจน หรืออาจจะใช้ไซริงค์มาตวงยาได้ เพราะสามารถตวงได้ละเอียด
- ยาต่าง ๆ เป็นสารเคมี ซึ่งมักจะมีผลต่อร่างกายไม่มากก็น้อย จึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะมีอาการไอจากโรคไข้หวัดอยู่ประมาณ 2-7 วัน หรือบางคนก็อาจจะมีอาการไอนานถึง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าลูกมีอาการไอนานกว่านี้ หรือมีอาการรุนแรงขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ควบคู่กับอาการไอ ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไปค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ใบพลูอังไฟ ช่วยกำจัดเสมหะเด็กได้จริงหรือ
ดูดน้ำมูก ดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง ทำอย่างไร
ล้างจมูกลูก แบบง่ายๆ ทำอย่างไรไม่ให้สำลักลงปอด