มายแมพ คืออะไร สอนลูกใช้จิตนาการ ฝึกทักษะการวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มายแมพ คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การให้ลูกเขียนมายแมพนั้น สามารถช่วยให้ลูกรู้จักวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ เราไปดูวิธีฝึกทักษะจากมายแมพกันเลยค่ะ

มายแมพ (Mind Map) คืออะไร

มายแมพ

มายแมพ หรือ Mind Map คือ กระบวนการความคิดที่ถ่ายทอดออกมา ในรูปแบบของ แผนที่ แผนภาพ ที่แตกแขนงออกมาเหมือนกิ่งก้านของต้นไม้ และเชื่อมโยงกัน เหมือนเซลล์ประสาทในสมอง โดยใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และนำใจความสำคัญหรือคำสำคัญไว้ตรงกลาง แล้วกระจายความคิดย่อยออกไปเรื่อย ๆ จากการระดมหาข้อมูลความคิด (Brainstorm) ที่มีอยู่ในตัวเด็กของแต่ละคน จากประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ใหม่ที่เด็กได้รับ

มายแมพดีต่อลูกอย่างไร 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มายแมพ

สมองของคน มักจดจำเนื้อหาที่เป็นภาพ และสีสัน มากกว่าตัวอักษรธรรมดา ซึ่งตรงกับแบบแผน Mind Map ที่สอนให้คิดเป็นภาพและสี ทำให้สมองทั้ง 2 ซีก เชื่อมโยงความคิดในการจินตนาการ และสามารถทำงานประสานกันได้ดี มีระบบในการจัดการเกี่ยวกับความคิด และสามารถจดจำข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น

เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2-6 ปี หรือเด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยที่เด็กมักจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ แต่ในช่วงวัยนี้ความคิดอาจจะยังไม่เป็นระบบหรืออาจจะยังสับสน การสอนลูกให้ทำ Mind Map จะช่วยกระตุ้นสมองให้เด็กคิดอย่างสมดุล ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เด็กจะเข้าใจมากขึ้นและสามารถจดจำได้ รวมทั้งมายแมพยังส่งเสริมจินตนาการของเด็กอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกเรื่อง Mind Map มีประโยชน์อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับ EF

มายแมพมีประโยชน์อย่างไร 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ด้านความคิดสร้างสรรค์ : ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ กระตุ้นให้สมองเกิดจินตนาการ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าลองสิ่งใหม่ ๆ กระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนในขั้นตอนต่าง ๆ
  • การจัดระเบียบความคิด : เห็นภาพรวม และรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้สรุปใจความสำคัญของเรื่องที่สนใจได้ง่ายมากขึ้น
  • ด้านการวางแผน : ใช้ในการวางแผนต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว การเรียน จนกระทั่งการทำงาน
  • ฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ : ช่วยในการวิเคราะห์ โดยแยกเป็นองค์ประกอบ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างดี รอบคอบ และมีเหตุผลมากขึ้น
  • ฝึกให้เด็กมีการระดมความคิด : สามารถระดมความคิดแบบกลุ่ม กระตุ้นความคิด หรือไอเดียใหม่ ๆ สื่อสารความคิดเห็นร่วมกันอย่างเข้าใจอย่างชัดเจน เห็นภาพตรงกัน และประหยัดเวลาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
  • ช่วยในการจดจำ : มายแมพจะทำให้เด็กจำข้อมูลได้ง่าย โดยที่เด็กไม่ต้องท่องจำอีกต่อไป
  • เข้าใจในการเผยแพร่ความรู้ : เมื่อเด็กทำมายแมพเสร็จ และทำความเข้าใจแล้ว เมื่อนำมานำเสนอหรือแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้คนอื่นรับรู้ เด็กจะสามารถอธิบายส่วนต่าง ๆ ได้ดี และทำให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่เด็กต้องการสื่อ
  • ฝึกให้เด็กมีอิสระในการคิด : เวลาที่เขียนมายแมพ จะทำให้สามารถกระจายความคิดอย่างอิสระได้ ไม่มีกรอบเพราะเราเป็นคนกำหนดเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กช่างจินตนาการ คือเด็กฉลาด มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์

ฝึกลูกเขียนมายแมพ ควรเริ่มจากอะไร 

แผนผังความคิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เริ่มจาก วาดจุดกึ่งกลาง ของกระดาษก่อน เมื่อเริ่มจากจุดกึ่งกลาง จะทำให้สมองรู้สึกเป็นอิสระ พร้อมที่จะแตกความคิดอยากไปทุกทิศทาง
  • ใช้รูปภาพ หรือวาดรูปประกอบไอเดีย ที่เพิ่งเขียนจุดกึ่งกลางไป เพราะว่ารูปภาพมีความหมาย และจะช่วยให้ได้ฝึกใช้จินตนาการไปในตัว ภาพที่เขียนตรงกึ่งกลางของกระดาษ จะดูน่าสนใจ และทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน
  • ใช้สีสันหลากหลาย เนื่องจากสีจะทำให้สมองตื่นตัว การใช้สีสันจะทำให้เนื้อหาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น และการได้นั่งวาดภาพระบายสีจะช่วยฝึกจินตนาการอีกด้วย
  • การที่วาด กิ่งก้าน ที่แตกออกมาจากจุดกึ่งกลางนั้น สมองจะเชื่อมโยงเข้าหากัน และทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เขียนมากขึ้น
  • การวาดเส้น กิ่งก้านที่โค้ง ดีกว่าแบบ กิ่งก้านแบบเส้นตรง เพราะเส้นตรงจะทำให้ดูน่าเบื่อ และไม่น่าสนใจ
  • ใช้แค่ คีย์เวิร์ด เท่านั้น สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้น และใจความสำคัญจะต้องสัมพันธ์กับ คีย์เวิร์ดตรงกลางที่ได้เขียนไว้ในตอนแรก คีย์เวิร์ดหรือใจความสำคัญที่มีรูปแบบสั้น กระชับ ได้ใจความ จะทำให้มายแมพโดดเด่น และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกให้ฉลาด ด้วย Executive Functions (EF) –  ฝึกสมองลูกด้วยงานบ้านง่าย ๆ

ใช้มายแมพยังไงให้เกิดประโยชน์ 

  • ใช้เพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต
  • ใช้เพื่อช่วยในการจดบันทึก
  • ใช้เพื่อช่วยในการวางแผนในชีวิตประจำวัน
  • ใช้เพื่อการตั้งเป้าหมายชีวิต
  • ใช้เพื่อการนำเสนอผลงาน
  • ใช้สำหรับการประชุม
  • ใช้สำหรับการสอบ

ที่มา : youngciety,wegointer

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong