ฟันน้ำนม เกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า รายการฟันสวยฟ้าผ่ามีคำตอบ
รายการฟันสวยฟ้าผ่า โพสต์อัลบั้มภาพฟันน้ำนมเกี่ยวอะไรกับฟันแท้ด้วยน้า ? ? ในเฟซบุ๊ก อธิบายเรื่อง ราวของฟันน้ำนมได้อย่างละเอียด พร้อมภาพประกอบสุดน่ารัก เข้าใจง่าย
เคยสงสัยกันไหมว่า…
ทำไมต้องมีฟันน้ำนมด้วยนะ
ตอนเด็กขากรรไกรเล็กเลยต้องมีฟันซี่เล็ก
ตอนโตขากรรไกขยาย ฟันแท้เลยมาเปลี่ยน เพื่อให้เหมาะสมกับขากรรไกร
โดยปกติฟันน้ำนมจะขึ้น
ซี่แรก อายุ 6 เดือน 20 ซึ่ อายุ 2 ขวบครึ่ง
ถ้าอยากให้ฟันแท้ดีต้อง…
ดูแลฟันน้ำนมให้ดีด้วย
แล้วถ้าดูแลฟันน้ำนมไม่ดี
“จนฟันน้ำนมผุ” จะไปเกี่ยวอะไรกับฟันแท้ครับ
เวลาฟันน้ำนมผมากๆ
สารพิษจะถูกส่งไปสู่หนอฟันแท้ที่อยู่ใต้ฟันน้ำนม!
ทำให้บางคนมีฟันแท้ออกมา
สีฟันไม่สม่ำเสมอ นื้อฟันสร้างไม่สมบูรณ์ พรุน และทำให้ผุง่ายได้อีก!
เด็กที่ฟันผุง่าย
มักมีนิสัยการกินและการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ดีติดตัวไป เมื่อมีฟันแท้งอกขึ้นมาก็ทำให้ผุง่าย เช่นกัน!
ฟันสำคัญมากต่อชีวิต
เรามีโอกาสให้ปลูกฝังดูแลตั้งแต่เด็ก อยปล่อยให้โอกาสเสียไปนะครับ
บรรเทาอาการฟันผุเองที่บ้านได้หรือไม่?
คุณอาจรู้สึกปวดฟันในเวลาที่รับประทานอาหาร แต่ไม่แน่ใจว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาฟันผุอยู่หรือเปล่า อีกทั้งในขณะนั้น คุณยังไม่สะดวกที่จะไปพบทันตแพทย์ได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดธุระ หรือยังไม่ถึงเวลานัดตรวจจากทันตแพทย์ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันนี้ได้เองที่บ้านจนกว่าจะถึงวันนัด อย่างไรก็ตาม
วิธีคำแนะนำดังกล่าวยังคงเป็นเพียงการบรรเทาชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายคุณควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากฟันซี่ที่ผุเป็นเพียงระยะเริ่มต้น ทันตแพทย์สามารถรักษาฟันของคุณให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ หรือถึงแม้ว่าปัญหาฟันผุจะเป็นมากไปกว่าระยะเริ่มต้น ทันตแพทย์ก็มีวิธีที่จะซ่อมแซมฟันซี่ดังกล่าวให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
ฟื้นฟูสภาพฟันผุช่วงเริ่มต้น
สัญญาณของปัญหาฟันผุช่วงเริ่มแรกสังเกตุได้จากการส่องกระจกดูฟันขอ
งตัวเอง หากพบจุดขาว (White Spot) บนฟัน แสดงให้เห็นว่าเคลือบฟันของคุณอ่อนแอลงจากการสูญเสียแร่ธาตุและมีแนวโน้มว่าจะเกิดฟันผุได้
ในระยะนี้คุณสามารถช่วยคืนแร่ธาตุให้ฟันด้วยฟลูออไรด์กลับเข้าไปยังผิวเคลือบฟันเพื่อให้ฟันกลับมาแข็งแรงและช่วยรักษาฟันที่เริ่มผุในช่วงนี้ได้ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และแคลเซียมแปรงฟันทุกวันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับฟันของคุณได้เองที่บ้าน
การรักษาฟันผุ
เมื่อฟันผุก่อตัวขึ้นและยังไม่ได้รับการรักษาจนกระทั่งเริ่มลุกลาม ระยะนี้ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของฟันผุและเลือกใช้วิธีการรรักษาที่เหมาะสมที่สุด เช่น
ถ้าอาการผุจนฟันเป็นรูที่ผิวเคลือบฟันแต่ยังไม่ลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์อาจจะใช้วิธีการอุดฟัน โดยเริ่มจากทำความสะอาดบริเวณฟันที่ผุแล้วใช้วัสดุอุดฟันอุดซี่ดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลาม
ในกรณีที่ฟันผุมาก ทันตแพทย์อาจต้องทำการรักษาคลองรากฟัน แล้วทำการครอบฟัน
หรือหากเป็นกรณีที่ร้ายแรมากจนไม่สามารถรักษาตัวฟันได้แล้ว ทันตแพทย์ต้องถอนฟันซี่นั้นของคุณทิ้งและทำการใส่ฟันปลอมหรือทำสะพานฟันให้ วิธีการเหล่านี้ดูเหมือนค่อนข้างรุนแรงหรือน่ากลัว แต่มันเป็นจำเป็นเพื่อปกป้องฟันซี่อื่น ๆ รวมถึงรักษาสุขภาพทั้งช่องปากของคุณในระยะยาว
ป้องกันฟันผุไม่ให้กลับมาอีก
ใครที่ผ่านประสบการณ์ฟันผุถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาหรือถอนฟันทิ้งคงไม่อยากกลับไปมีประสบการณ์นั้นอีกแน่นอน นอกจากอาการปวดฟันที่ทุกข์ทรมานแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำและสามารถทำได้คือ การรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดและมีสุขภาพดีอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียทำลายผิวเคลือบฟันจนกลายเป็นปัญหาฟันผุ
ขั้นตอนแรกคือให้ความสำคัญเรื่องอาหารที่คุณรับประทาน แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากใช้แป้งและน้ำตาลเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและขยายปริมาณ ในระหว่างนี้แบคทีเรียก็จะผลิตกรดออกมาแล้วเข้าทำลายผิวเคลือบฟันให้ค่อย ๆ กร่อนลงทีละน้อย ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งหรือน้ำตาลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วเปลี่ยนมาประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้และนมแทน กากใยจากผักและผลไม้จะช่วยกกระตุ้นการหลั่งน้ำลายในปากเพื่อช่วยชะล้างจุลินทรีย์ทออกไป ส่วนนม นอกจากจะมีแคลเซียมสูงที่ช่วยเสริมให้เคลือบฟันแข็งแรงแล้ว ยังมีฤทธิ์เป็นด่างในขณะที่แบคทีเรียส่วนใหญ่สร้างภาวะที่เป็นกรด นมจึงช่วยเพิ่มความสมดุลหรือปรับค่าความเป็นกลางในช่องปากได้นั่นเอง
นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ควรให้ความสำคัญในเรื่องการทำความสะอาดช่องปากด้วย ทันตแพทย์แนะนำให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเพื่อป้องกันปัญหาฟันผุและปัญหาเหงือก สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาการฟันผุในช่วงเริ่มแรก ควรปรึกษาทันตแพทย์เรื่องการใช้ยาสีฟันหรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมฟลูออไรด์ที่มากกว่าปรกติ เพื่อนำแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืนสู่ฟันของคุณเป็นต้น
เรื่องสำคัญอีกข้อคือ
การพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสภาพช่องปากอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อหาดูว่าคุณมีฟันผุหรือไม่ ถ้ามีทันตแพทย์จะรักษาเบื้องต้นด้วยการอุดฟันก่อนที่จะลุกลามหรือเรื้อรังจนต้องถอนฟันทิ้ง หรือถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาเหงือกซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาในช่องปากที่ร้ายแรงด้านอื่นๆ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาแน่นอน
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ในเรื่องของฟันน้ำนมและการขึ้นของฟันแท้ในช่องปาก โดยหลายท่านมักจะเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่สำคัญ ถ้าหากลูกมีฟันน้ำนมผุแล้วต้องถอนฟันออกไปก็ไม่เป็นไร เพราะหากไม่มีฟันน้ำนมแล้วเดี๋ยวฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทนที่ในไม่ช้า แต่ในความเป็นจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะหากเด็กมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ในขณะที่หน่อฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ยังมีการสร้างฟันไม่เสร็จ ฟันแท้ที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยก็จะยังไม่ขึ้นสู่ช่องปากของลูก
ขอยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกต้องเสียฟันกรามน้ำนมไปตั้งแต่ยังเล็กช่วง 3 ขวบ เด็กจะต้องฟันหลอไม่มีฟันเคี้ยวอาหารและรอคอยฟันแท้ซี่ที่จะขึ้นมาแทนที่นานถึง 8 ปีกันเลยทีเดียว ถึงจุดนี้คงต้องขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจยิ่งขึ้นโดยจะขอเล่าถึงฟันในขากรรไกรของคนเรา ดังนี้
ฟัน (ถ้าไม่นับรวมฟันปลอม) มี 2 ชุดเท่านั้น ฟันน้ำนมเป็นฟันชุดแรกที่ขึ้นสู่ช่องปาก โดยจะเริ่มพบฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นช่วงเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งซี่แรกที่ขึ้นจะเป็นฟันหน้าล่าง ตามด้วยฟันหน้าบน ฟันกรามและฟันเขี้ยวจนมีจำนวนครบ 20 ซี่ในช่วงที่เด็กอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง ส่วนฟันแท้จัดเป็นฟันชุดที่สองที่จะขึ้นต่อมาเพื่อแทนที่ในตำแหน่งเดิมของฟันน้ำนม 20 ซี่ และมีเพิ่มอีก 12 ซี่ที่จะขึ้นในตำแหน่งด้านหลังของขากรรไกร ทั้งนี้ฟันแท้จะขึ้นสู่ช่องปากเมื่อมีการสร้างฟันที่พร้อมสมบูรณ์และถึงอายุตามวัยปฏิทินในการขึ้นของฟันแต่ละซี่ เช่น ฟันกรามแท้ที่ขึ้นมาแทนในตำแหน่งของฟันกรามน้ำนมมีช่วงของการขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 10-12 ปี เป็นต้น
ที่มา : Funsuayfahpa รายการฟันสวยฟ้าผ่า ทุกวันศุกร์ 6 โมงเย็น ทุกวันเสาร์อาทิตย์ 9 โมงเช้า ทางช่อง workpoint 23
ที่มาจาก : https://www.colgate.com/th-th/oral-health/conditions/cavities/can-you-heal-cavity-at-home
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ไม่ยอมแปรงฟัน! ลูก 2 ขวบฟันผุต้องถอนทิ้ง 14 ซี่
ประโยชน์ของฟันน้ำนมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ลูกมีกลิ่นปาก เพราะอะไร 5 เหตุผลที่ทำให้ลูกปากเหม็น ปัญหากลิ่นปาก