พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 6 เดือน พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในด้านร่างกายและสติปัญญา ด้านการใช้ภาษา ด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านการเข้าสังคม ที่พ่อแม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความเข้าใจอย่างไร พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการหรือทักษะอะไรได้บ้าง อาการน่าเป็นห่วงของเด็กวัยนี้คืออะไร เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ และข้อควรรู้ของเด็กวัยนี้จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

ลูกน้อยของคุณได้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายผ่านการเล่น ไม่ว่าจะวิ่งเตะบอล ลูกว่าปีนเขา นอกจากนี้ พวกเขายังทำสิ่งเหล่านี้ได้อีก คือ

  • สามารถเดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงได้
  • สามารถเดินไปข้างหน้าและเดินถอยหลังกลับได้
  • วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว
  • เตะลูกบอลได้
  • ปีนป่ายเครื่องเล่นได้
  • ยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวอย่างน้อย 4 วินาที
  • กระโดดได้อย่างอิสระ
  • สามารถปั่นจักรยานสามล้อได้

สำหรับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถควบคุมการจับได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

  • ใช้ส้อนช้อม
  • วาดรูปทรงที่เรียบง่าย
  • วาดรูปคน
  • ต่อบล็อกได้
  • ใช้กรรไกรได้
  • ร้อยลูกปัดได้
  • สามารถสวมใส่-ถอดเสื้อผ้าได้
  • แปรงฟันด้วยตนเองได้

เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก

  • คุณสามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อย ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา ว่ายน้ำ ฟุตบอล เป็นต้น
  • ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยฝึกแต่งตัวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการรูดซิป ติดกระดุมเสื้อผ้า เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก
  • ปล่อยให้ลูกเล่นตัวต่อหรือต่อบล็อกต่างๆ เพื่อเสิรมสร้างพัฒนาการด้านความคิดและจินตนาการของลูกน้อย
  • การเล่นโยนลูกบอลจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้น้องได้พัฒนาทักษะด้านการประสานงานกันระหว่างสายตาและมือ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • หากลูกไม่สามารถจับดินสอหรือปากกาได้
  • ลูกไม่สามารถจับลูกบอล หรือโยนลูกบอลได้
  • ไม่สามารถที่จะวิ่งหรือกระโดดไปรอบๆ ได้

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 6 เดือน

พัฒนาการทางด้านความรู้และความเข้าใจของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

ลูกน้อยของคุณเริ่มที่จะมีความรู้มากขึ้นทุกวัน สามารถที่จะตอบคำถามได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยีงสามารถใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งนี้บ่งบอกถึงพัฒนาการทางด้านความรู้ของเด็กค่ะ นอกจากนี้พวกเขายังมีพัฒนาการ ดังต่อไปนี้

  • นับวัตถุได้มากกว่า 10 ชิ้นขึ้นไป
  • สามารถตอบสีถูกอย่างน้อย 4 สี
  • รู้จักรูปร่างและรูปทรงของวัตถุอย่างน้อย 3 รูปทรง
  • รู้จักตัวอักษรบางตัว
  • เขียนชื่อของตัวเองได้
  • ทำความเข้าใจกับกิจวัตรประจำวัน
  • มีสมาธิมากขึ้น
  • สามารถทำตามคำแนะนำมากกว่า 3 ขั้นตอนได้
  • สามารถจดจำสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ เช่น หยุด โลโก้ หรือแบรนด์ต่างๆ
  • สามารถถือหนังสือได้ถนัดมือ

เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ลูกน้อยทำงานบ้างอย่างง่าย เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบ
  • แนะนำให้ลูกได้รู้จักสีใหม่ๆ ที่หลากหลาย เช่น “องุ่นอร่อยๆ พวกนี้สีม่วง!”
  • ชี้ไปที่วัตถุหรือสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน แล้วให้ลูกบอกว่าของชิ้นนั้นเรียกว่าอะไร
  • ฝึกลูกให้เรียนรู้กิจวัตรประจำวัน เช่น ตื่นขึ้นมาเก็บที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าว เป็นต้น

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • ไม่สามารถบอกสีพื้นฐาน หรือสีบางอย่างได้ เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว
  • ไม่สามารถทำตามคำแนะนำอย่างง่ายได้
  • ไม่สามารถบอกรูปทรงของวัตถุอย่างง่ายได้

พัฒนาการเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

ลูกต้องการอิสระมากขึ้น เริ่มมีการสร้างบุคลิกของตัวเอง และต้องการเป็นที่สนใจปละที่พอใจของเพื่อนๆ และพ่อแม่ แม้ว่าลูกของคุณจะเริ่มรู้จักตัวเอง แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีนัก ทั้งนี้ ลูกน้อยยังสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

  • ชอบที่จะแบ่งปันของเล่น
  • เข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อน และทำเข้าใจกับกฎกติกา
  • ลูกอาจมีอารมณ์เสียใส่เพื่อนคนอื่น
  • ลูกจะหงุดหงิดหรือโกรธง่าย แต่ไม่สามารถแสดงออกมาทางคำพูดได้
  • เข้าใจการสลับหรือเปลี่ยนกันเล่น

เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากลูกรู้สึกหงุดหงิดกับงานหรือเกม ให้พ่อแม่พยายามสอนลูกถึงการควบคุมอารมณ์และค่อยๆ แก้ปัญหาไป
  • ใช้คำพูดเชิงบวก เช่น ไม่เป็นไรลูกตอนนี้ทำไม่ได้ไม่เป็นไร คราวหน้าลบองใหม่นะ
  • กระตุ้นให้ลูกแสดงอารมณ์ออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ค่ะ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • ลูกกลัวไปทุกอย่าง ขี้อายเกินไป และมีความก้าวร้าว
  • มีความวิตกกังวลและแตกแยก
  • ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเป็นเวลานาน
  • ไม่อยากเล่นกับคนื่อน

พัฒนาการเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

เด็กวัยนี้เริ่มพูดเยอะ หากนับเป็นคำ เด็กจะมีคลังคำสัพท์ประมาณ 1500 คำ และจะเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เพิ่มขึ้นไปอีก สามารถสร้างประโยคจากการเรียงคำได้แระมาณ 4-5 คำ นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการเหล่านี้อีก คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • จดจำเนื้อเรื่องในหนังสือที่เด็กชอบ
  • รู้จักตัวษรบางตัว
  • สามารถจำชื่อตัวเองเมื่ออ่านได้
  • สามารถรู้จักคำคล้องจองของเสียงได้

เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก

  • ใช้การ์ดตัวอัษรหรือการ์ดคำศัพท์ต่างๆ เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับลูกน้อย
  • ใช้การ์ดเพื่อสอนวิธีการนับเลขให้กับลูกน้อย
  • กระตุ้นให้ลูกน้อยเขียนชื่อด้วยตัวเอง โดยใช้ปากกา เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่
  • อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน แล้วชี้ตามคำที่อ่านด้วย เพื่อให้ลูกรู้จักคำสะกดเหล่านั้น

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • ลูกมีปัญหาในการนับเลข 1-10
  • พยายามเขียนชื่อตัวเองมากเกินไป
  • ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นตัวษรตัวใด

พัฒนาการเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยของคุณจะรับประทานผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนมไขมันต่ำ โปรตีน ซีเรียลธัญพืช และขนมปัง ซึ่งเด็กควรอยู่ให้ห่างจากของหวาน ขนมขบเคี้ยว และน้ำอัดลม สำหรับโภชนาการที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวัน มีดังต่อไปนี้

ประเภทของอาหาร ปริมาณอาหารที่แนะนำ อาหารที่พบ
โปรตีน 20.1 กรัม (ขนาดของฝ่ามือเด็ก)
  • เนื้อไม่ติดมันประมาณ 3 นิ้วต่อมื้อ เช่น หมู ไก่ หรือเนื้อปลา
ไขมัน 25 กรัม
  • ถั่ว 1/3 ถ้วย เช่น อัลมอลต์ หรือ แมคคาเดเมีย
ไฟเบอร์ 25 กรัม
  • ข้าวบาเล่ย์ 1 ถ้วย หรือ พาสต้า
แคลเซียม 600 มล.
  • นม 1 ถ้วย
  • โยเกิร์ต 1 ถ้วย
  • ชีส 2 ชิ้น

วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 4 ขวบ 6 เดือน

  • วัคซีนที่จำเป็น
    • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
    • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
  • วัคซีนเสริม
    • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
    • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
    • วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
    • วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
    • วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
    • วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค

ตารางวัคซีน

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • เมื่อลูกมีน้ำหนักตัวน้อยหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • มีไข้สูงเกินกว่า 39 องศาเซลเซียส
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
  • มีอาการปวดหรือเจ็บหลังจากหกล้ม

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน สิ่งที่ลูกควรทำก่อนเข้าเรียนอนุบาลมีอะไรบ้าง

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง 10 วิธีเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง (E.Q.)

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 7 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri