พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

หลังการปฏิสนธิ สมองและไขสันหลังเป็นหนึ่งในระบบแรกๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์เสียอีก เรามาติดตามพัฒนาการระบบประสาทของทารกในครรภ์กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

หลังการปฏิสนธิ สมองและไขสันหลังเป็นหนึ่งในระบบแรก ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามาติดตาม พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ กันเลย

พัฒนาการสมอง ของทารกในครรภ์

ส่วนต่าง ๆ ของสมองของทารก

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักสมองส่วนต่าง ๆ ในเบื้องต้นกันก่อน สมองแต่ละส่วนรับผิดชอบการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การจดจำ และความรู้สึก เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส

ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้ซีรีบรัม ทำหน้าที่ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และความดันโลหิต

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) รูปร่างคล้ายถั่ว ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงแปลงสีผิว การเผาผลาญอาหาร และอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม กระหายน้ำ และความรู้สึกทางเพศ

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก

เพียง 16 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกในครรภ์เริ่มพัฒนานิวรัล เพลต (neural plate) ต่อมานิวรัลเพลจะพับขึ้นและเกิดเป็นท่อเรียกว่า นิวรัล ทูบ (neural tube) ช่องว่างกลวงภายในท่อนิวรัล ทูบจะพัฒนาต่อมาเป็นระบบช่องว่างในสมองและไขสันหลัง โดยนิวรัล ทูบจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ สมอง อยู่ด้านหัว และไขสันหลัง ที่อยู่ด้านหาง

ต่อมาสมองจะพัฒนาเป็นสมองส่วนหน้า และก้านสมอง หลังจากนั้นสมองส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็นเทเลนเซฟาลอน (telencephalon) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ส่วนก้านสมองจะแบ่งเป็นสมองส่วนกลางหรือมีเซนเซฟาลอน (mesencephalon) และสมองส่วนท้ายหรือรอมเบนเซฟาลอน (rhombencephalon)

ในขณะเดียวกันเซลล์สมองมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ระบบใยสมองจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแห ระบบประสาทของทารกถูกสร้างขึ้นเป็นล้านล้านเซลล์ และผลิตสารสื่อประสาทเพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน โดยเริ่มพัฒนาแขนและขาของทารกประมาณสัปดาห์ที่ 8 และสามารถขยับแขนขยับขาได้ในช่วงท้ายของไตรมาสแรกแต่คุณแม่อาจยังไม่รู้สึก และในช่วงเดียวกันนี้ประสาทสัมผัสของทารกก็เริ่มพัฒนาขึ้นเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสต่อไปจะเป็นอย่างไร ติดตามต่อกันเลย

พัฒนาการทางสมอง ของทารกในครรภ์

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สอง

ระยะนี้การแบ่งตัวของเซลล์สมองลดลง แต่จะมีการขยายขนาด และมีการแผ่ขยายของเซลล์ประสาท ในระยะนี้จำนวนเซลล์ประสาทของทารกจะมีเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว เมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน ก็จะมีลักษณะคลื่นสมองคล้ายกับทารกที่ครบกำหนด

ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ กระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าอกของทารกจะมีอาการบีบตัวเพื่อฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวในการหายใจ ทารกเริ่มต้นการดูดกลืนครั้งแรกราวสัปดาห์ที่ 16 และภายในสัปดาห์ที่ 21 ปฏิกิริยาตอบสนองของทารกจะทำให้ทารกสามารถดูดกลืนน้ำคร่ำได้ ซึ่งหมายความว่าพัฒนาการการรับรสของทารกเริ่มทำงาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ราวสัปดาห์ที่ 18-25 คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น หรือเตะเป็นครั้งแรก และในช่วงเดียวกันนี้เส้นประสาทสมองจะได้รับการห่อหุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน (Myelin) เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น และในสัปดาห์ที่ 24 อีกหนึ่งปฏิกิริยาตอบสนองที่สำคัญของทารกได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือ การกะพริบตา

บทความแนะนำ พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

ช่วงปลายไตรมาสที่สอง ก้านสมองของทารกพัฒนาเกือบสมบูรณ์ที่ด้านหลังเหนือไขสันหลัง แต่ต่ำกว่าเปลือกสมอง ระบบประสาทของทารกในครรภ์พัฒนามากพอที่จะทำให้ทารกสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดังจากภายนอกท้องของแม่ และสามารถหันหาเสียงของแม่ได้

บทความแนะนำ พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

อีกหนึ่งพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นในสัปดาห์ที่ 28 คลื่นสมองของทารกในครรภ์มีการพัฒนากลไกการนอนหลับ รวมถึงการนอนในระดับ Rapid eye movement (REM) และการฝัน

ระยะนี้ สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารกพัฒนาไปอย่างมาก เส้นประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาณในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีรอยหยักในสมองที่บ่งถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้น (หลังคลอดทารกมีขนาดสมองเท่ากับ 10%  ของน้ำหนักตัว คือประมาณ 350 กรัม) 

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สาม

ในไตรมาสที่สาม มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเซลล์ประสาทและการส่งสัญญาณในเส้นประสาท สมองของทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วง 13 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยจะมีขนาดสมองเท่ากับ 10%  ของน้ำหนักตัว คือประมาณ 350 กรัมเมื่อแรกคลอด และจากพื้นผิวเรียบ ๆ ของสมองก็เริ่มปรากฏรอยหยักที่บ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้น

ในเวลาเดียวกันที่ซีรีบลัม ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากกว่าสมองส่วนอื่นๆ โดยขยายใหญ่ขึ้นถึง 30 เท่าในช่วง 16 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์!

แม้ว่าส่วนต่าง ๆ ของสมองจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้วมันจะเริ่มต้นทำงานเมื่อทารกครบกำหนดคลอด และค่อย ๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางสมองให้กับทารกผ่านการเลี้ยงดูด้วยความรักและการเอาใจใส่อย่างเต็มที่

ที่มา www.whattoexpect.comนพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

6 นิสัยของแม่ท้องที่ทำให้ลูกฉลาด

ทารกฟังเพลงกล่อมเด็กแบบไทยดีต่อพัฒนาการสมองและภาษา

เปลไกวกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและการทรงตัวของทารก

ท้องแรกกับท้องสองต่างกันอย่างไร ท้องสองง่ายกว่าท้องแรกจริงไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul