พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการทารกอย่างไร

พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก

พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก วิธีส่งเสริมพัฒนาการทารก ตั้งแต่เดือนที่ 4 แม่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร

 

ทารกถูเท้า ส่ายหัว ชอบดึงผมแม่ เป็นพัฒนาการทารกหรือไม่ แม่ควรทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ

คุณแม่คุณพ่ออาจเคยสงสัยว่าลูกน้อยวัยทารกเมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป เริ่มมีพฤติกรรมที่แปลกๆ เช่น ชอบจับเท้าตัวเองเล่น เอาเท้าถูกันไปมา ชอบส่ายหัว และดึงผมคุณแม่เป็นประจำ เป็นพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ วันนี้หมอมีคำตอบค่ะ

เมื่อลูกมีอายุมากกว่า 3 เดือนคือเข้าสู่เดือนที่ 4 แล้วเขาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างและตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่มากขึ้นกว่าในช่วง 3 เดือนแรกอย่างชัดเจน ดังนี้ค่ะ

  • พัฒนาการด้านร่างกายที่ดีขึ้น คือ กล้ามเนื้อคอควบคุมได้ดี สามารถหันหน้าและคอไปในทิศทางต่างๆ ได้ จึงอาจชอบส่ายหัวเล่น สามารถเหยียดแขนขาและเท้าได้อย่างอิสระ ชอบจับมือ จากเท้าของตัวเองเล่น หรือเอาเท้ามาถูกันไปมาได้
  • พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดีขึ้นคือ มีนิ้วมือที่แข็งแรงสามารถหยิบจับอะไรได้มากขึ้น แต่อาจจะยังไม่สามารถเอื้อมมือคว้าวัตถุที่อยู่เกินช่วงมือได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นหากคุณแม่ปล่อยผมยาวๆ ลูกอาจจะคว้าและดึงผมของคุณแม่เล่นได้ โดยมิได้มีเจตนาแกล้งให้คุณแม่เจ็บแต่อย่างใดนะคะ
  • พัฒนาการด้านภาษา ลูกจะสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ได้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู เล่นน้ำลาย สนใจฟังเสียงที่ผู้ใหญ่มาพูดคุยด้วย ที่หันหน้าหาเสียงได้มากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อลูกมีพัฒนาการหรือทักษะใหม่ขึ้นก็มักจะแสดงพฤติกรรมซ้ำๆกับกิจกรรมนั้น เช่น ถูเท้าเล่น หรือส่ายหัวซ้ำไปซ้ำมา จนกว่าจะเบื่อและเริ่มทำพฤติกรรมใหม่ หรือมีพัฒนาการใหม่เพิ่มขึ้นมาได้

 

พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรกของชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทารก

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้ โดยมีเคล็ดลับ 7 ข้อดังนี้ค่ะ

  1. ให้ลูกทานนมและให้อาหารที่มีประโยชน์ตามวัย ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกมีสุขภาพและโภชนาการที่สมบูรณ์มิฉะนั้นพัฒนาการต่างๆ ก็อาจผิดปกติได้หากลูกมีสุขภาพที่ไม่ดี ป่วยบ่อย หรือมีภาวะโภชนาการที่มีปัญหา
  2. ให้ความรักเอาใจใส่และดูแลลูกอย่างใกล้ชิดพูดคุยกับลูกและสัมผัสอย่างอ่อนโยน
  3. เล่นกับลูกบ่อยๆ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้หัดทำสิ่งต่างๆตามพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย เช่น เมื่อลูกอายุ 3-4 เดือน ควรฝึกให้ลูกเชื่อมคว้าของ และใช้ตามองสิ่งของต่างๆ เมื่อได้ฝึกทำบ่อยๆลูกก็จะเริ่มใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างจับสิ่งของได้คล่องแคล่วและแม่นยำมากขึ้น เมื่อลูกอายุ 5-6 เดือนก็จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานงานระหว่างมือและตาของทารกดีขึ้นอย่างชัดเจน สามารถเลือกหยิบของได้อย่างแม่นยำเมื่อเห็นสิ่งของ เริ่มไขว่คว้าสิ่งที่ไกลกว่าช่วงแขนของตนได้ดีขึ้นตามลำดับ
  4. เลือกของเล่นที่น่าสนใจและเหมาะสมกับวัยให้กับลูก เช่นในวัย 4 เดือนคุณพ่อคุณแม่อาจจะแขวนโมบายให้ลูกหัดเอื้อมคว้า ยื่นของเล่นให้ลูกฝึกการคว้าของจากระยะที่ลูกพอเอื้อมถึง โดยเลือกของเล่นที่สะอาดปราศจากสารพิษ ไม่มีส่วนที่แหลมคม หรืออาจแตกหักง่ายๆเพื่อป้องกันอันตรายแก่ลูก
  5. ยื่นหน้าเข้าไปพูดคุยกับลูกใกล้ๆ เขย่าของเล่นมีเสียงเพื่อให้ลูกรู้จักหันมาหาเสียง
  6. เล่นกับลูกและสัมผัสตามจุดต่างๆของร่างกาย เช่น ใช้นิ้วมือสัมผัสเบาๆที่ฝ่าเท้าท้องและเอว
  7. ยิ้มและพูดคุยกับลูกบ่อยๆ โดยพูดกระตุ้นให้ลูกทำตาม เช่น คุณแม่อาจจะพูดว่า “ยิ้มให้คุณพ่อสิคะลูก” แล้วทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างประกอบคำพูด หลาย ๆ ครั้ง แม้ในช่วงแรกลูกอาจยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ทำไปเรื่อยๆลูกก็จะเข้าใจและทำตาม จนสามารถยิ้มทักทายคนที่คุ้นเคยได้ ในที่สุดค่ะ

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของทารกในช่วงวัย 4-6 เดือนขึ้นไปจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากช่วง 3 เดือนแรกเกิด ที่ลูกยังเหมือนเป็นทารกวัยแบเบาะ ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้มาก โดยหลังจากอายุ 4 เดือนลูกจะมีพัฒนาการในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จนคุณพ่อคุณแม่อาจแปลกใจ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตพัฒนาการตามวัยของลูกอย่างต่อเนื่อง หากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าลูกมีพัฒนาการช้ากว่าปกติหรือมีลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่ ก็ควรปรึกษากุมารแพทย์นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีฝึกลูกกินผัก ทำอย่างไร ฝึกกินผัก ต้องเริ่มตอนอายุเท่าไหร่ เทคนิคฝึกลูกกินผัก ผักกินง่ายชนิดไหนควรเริ่มเป็นมื้อแรกๆ

ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็วอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก

วัคซีนสำหรับทารก ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 ลูกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

ตรวจคัดกรองโรคตาในเด็ก ทารกอายุ 3-6 เดือน จำเป็นไหม โรคตาของเด็ก โรคตาของทารก ที่พบบ่อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา