เด็กวัย 5 เดือน เริ่มเติบโตเรื่อย ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะสงสัยว่า พัฒนาการทางภาษาเด็กทารก ของ เด็กวัย 5 เดือน ในแต่ละด้านได้อย่างไร เรามาดูกันเลยค่ะ
ร่างกายลูกน้อยเจริญเติบโตแค่ไหนแล้ว
มีการใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น อาจจะมีการนั่งตรงได้นานขึ้น หรือบางคนอาจจะนั่งตรงโดยไม่ต้องคอยจับได้บ้างเล็กน้อย และบางคนอาจจะพลิกคว่ำได้เองแล้ว และในวัยนี้อาจจะต้องระวังเป็นพิเศษเพราะอาจจะกลิ้งตกลงมาทำให้เจ็บตัวได้
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยไว้บนที่สูง ในวัยนี้ลูกน้อยอาจจะถือขวดนมกินเองได้บ้าง ใช้มือดึงสิ่งของเข้าหาตัว หรือเคลื่อนย้ายส่งของด้วยมือของตัวเอง แนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า ควรมีของเล่นที่เป็นห่วงเขย่า ให้น้องจับได้ ของเล่นยางกัด หรือกระจกเด็กเล่น เพราะช่วงนี้ลูกน้อยจะหยิบจับของเล่นเป็นพิเศษ
พ่อแม่ควรให้ลูกน้อยกินอาหารเด็กแบบไหนดี ?
การกินของลูกน้อยเปลี่ยนจากการดูดนมจากเต้า หรือนมผง อาจจะเปลี่ยนการกินเป็นดื่มทั้งนมผงและกินอาหารเด็กร่วมด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจให้ลูกกินอาหารเด็กแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้กินเป็น ข้าว ธัญพืช หรือผลไม้ ให้กินปริมาณ 1 ออนซ์ หากลูกชอบกินอาหารค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น โดยให้เด็กกินอาหารเด็กแค่ 1 มื้อต่อวัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน
ลูกน้อยนอนเยอะขึ้นบ้างไหม ?
ในวัยนี้เด็กอาจจะนอนวันละ 15 ชั่วโมง แบ่งเป็นตอนกลางคืน 10 ชั่วโมง และกลางวันแบ่งเป็นช่วง ๆ 5 ชั่วโมง แต่การนอนของเด็กก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการนอนของเด็กด้วย
การมองเห็น และการสื่อสารของลูกน้อยที่เปลี่ยนไป
ลูกจะไม่มีอาการตาเหล่แล้ว สามารถมองเห็นได้ดีขึ้น และแยกแยะระยะของวัตถุที่แตกต่างกันได้ และเด็กวัยนี้จะชอบสีของแม่สีหลัก ๆ เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง และจะแยกแยะความแตกต่างของระดับสีเดียวกันได้ดีขึ้น
ลูกสามารถทำเสียงอ้อแอ้ที่คล้ายเสียงพูดมากขึ้น เริ่มออกเสียงคำสั้น ๆ ออกเสียงสระต่าง ๆ เช่นพยัญชนะ ม หรือ บ ลูกมักจ้องปากคนพูด และสามารถรับรู้ถึงเสียงต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่ว่าจะเป็น เสียงสุนัขเห่า เสียงรถยนต์ และในช่วงวัยนี้จะหันหาเมื่อมีคนเรียกชื่อและพูดคำสั่งง่าย ๆ กับเด็กได้อีกด้วย
ลูกจะแสดงความกังวล ความกลัว โกรธ แยกแยะความแตกต่างระหว่างเงาตัวเองในกระจก ยิ้มและส่งเสียงให้เงาในกระจก รู้สึกตื่นเต้นเมื่อมีคนเข้ามาในห้อง แสดงกิริยาต่อต้านได้ เมื่อมีคนหยิบของเล่นไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย พัฒนาการสมวัย
พัฒนาการทางภาษาเด็กทารก ในวัย 5 เดือน
ในวัยนี้ เด็กทารกจะเริ่มจำ และระลึกถึงเสียงต่าง ๆ เริ่มเข้าใจในความหมายของเสียง ความหมายของคำในแต่ละคำ เด็กจะเริ่มเรียนรู้คำพูดที่เป็นประโยค และคำยาว ๆ มากยิ่งขึ้น
เขาจะเริ่มโต้ตอบกับสิ่งที่คุณพูดได้ โดยผ่านท่าทาง การเคลื่อนไหว และน้ำเสียงที่เขาพอจะเปล่งออกมาได้ในช่วงวัยนี้ รวมถึงท่าทางความรู้สึก เช่น ชอบใจก็จะหัวเราะออกมาเป็นต้น
เขาจะเริ่มเข้าใจเมื่อเราว่ากล่าวตักเตือน แม้ว่าเด็กอาจจะไม่รู้ความหมายทั้งหมด แต่ด้วยน้ำเสียงของผู้ปกครองที่สื่อมาถึงเขา ทำให้เขาสามารถเข้าใจได้ว่า น้ำเสียงนี้แสดงถึงความไม่พึงพอใจกับสิ่งที่เขาได้กระทำไป
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะถูกเชื่อมโยงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตัวเด็กเอง
ท่าทางบ่งบอกพัฒนาการของลูก
- แสงสีหน้า อารมณ์ และท่าทาง เช่น ดีใจ เสียใจ ขัดใจ
- เลียนแบบการเคลื่อนไหว หรือขยับปากตามได้
- จำหน้าพ่อแม่ได้แล้ว มองหน้ายิ้มและหัวเราะเสียงดัง
- ชูแขนเรียกให้คุณพ่อคุณแม่มาอุ้ม
- หันตามเสียงเรียกชื่อ ส่งเสียงสูง ต่ำ
- คว้าของมือเดียว สลับมือถือของ เคลื่อนสิ่งของ
- จับของเขย่า เอาสิ่งของเข้าปาก
- ตาสามารถมองเห็นทุกระยะ สามารถมองสีเกือบเท่าผู้ใหญ่
- สามารถมองโฟกัสวัตถุได้
- นั่งพิงเบาะเองได้ 20-30 วินาที
- เริ่มพลิกคว่ำ พลิกหงายได้เอง เตรียมคลาน
การดูแลทารก 5 เดือน
- เปิดเพลงให้เด็กฟัง เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่ชอบเสียงเพลง โดยเด็กอาจตอบสนองด้วยการยิ้ม ปรบมือ หรือพยายามออกเสียงตามไปด้วย
- เด็กในวัยนี้อาจตั้งใจมองที่ปากของผู้พูด รวมถึงอีกไม่นานเด็กอาจพยายามเลียนแบบวิธีการพูดของผู้ปกครองด้วย ดังนั้น จึงควรพูดโต้ตอบกับเด็ก เพราะอาจช่วยให้เด็กฝึกพูดได้
- ให้เด็กเล่นของเล่นง่าย ๆ อย่างบล็อกตัวต่อแบบนิ่ม หรือเครื่องดนตรีแบบเขย่า และเมื่อให้ของแต่ละชิ้นกับเด็ก ควรบอกชื่อของสิ่งนั้นด้วย เพื่อเป็นการสอนคำศัพท์ให้เด็กอีกทางหนึ่ง
- เด็กทารกวัย 5 เดือนอาจพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องการมีอยู่ของสิ่งของแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก หรือซ่อนของบางอย่างและนำออกมาให้เด็กเห็น เพื่อให้เจ้าตัวน้อยเริ่มเรียนรู้ว่าของชิ้นนั้นยังคงมีอยู่แม้ตนเองจะมองไม่เห็นมันก็ตาม
- เด็กวัยนี้สามารถหยิบจับสิ่งของได้บ้างแล้ว ดังนั้น ควรนำโมบายที่แขวนไว้เหนือเปลเด็กออก เพื่อป้องกันเด็กพยายามคว้าจนอาจเกิดอันตรายตามมาได้ นอกจากนี้ ควรเก็บสิ่งของภายในบ้านให้ไกลมือเด็ก อย่างของมีคม สารเคมี หรือปิดรูปลั๊กไฟให้เรียบร้อย เพราะของบางอย่างภายในบ้านอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้
เทคนิคการส่งเสริมพัฒนาการลูก
- ยิ้มแย้มพูดโต้ตอบกับลูก เรียกชื่อลูก เพื่อให้ลูกตอบสนอง
- จับลูกนั่งพิงบ่อย ๆ
- ให้ลองยืนจับ จนกว่าลูกจะย่อตัวลงเอง
- พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่ หรือสิ่งที่ลูกชอบ
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุล เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน
อาหารต้องห้าม ที่เด็กทารกห้ามกิน จะป้อนอะไรให้ลูกต้องระวังให้ดี
7 สิ่งเกี่ยวกับทารก ที่ผู้ปกครองมือใหม่ควรรู้ เกร็ดเกี่ยวกับเด็กทารก
ที่มาข้อมูล : pobpad