ท้องอืด เป็นอาการที่คุณแม่มือใหม่มักพบเจอกับลูกน้อยซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ เพียงแค่เมื่อลูกท้องอืด สิ่งที่ตามมาก็คืออาการงอแง ร้องไห้ อารมณ์ไม่ดี เพราะพวกเขาไม่สบายตัวนั่นเอง โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องอืดนั้น อาจเกิดจากการป้อนนมไม่ถูกวิธีของคุณแม่มือใหม่ ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำเทคนิค ป้อนนมลูก ดี ๆ ให้คุณแม่ได้นำไปปรับใช้กันค่ะ
ลูกท้องอืด ปัญหาที่คุณแม่มือใหม่เจอบ่อย
อาการท้องอืดมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ลูกมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ อีกทั้งการที่ลูกมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น ขาดเอนไซม์ย่อยนม ลำไส้แปรปรวน และมีแบคทีเรียในลำไส้ ก็ส่งผลให้ลูกไม่สบายท้องได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่อาจมีโอกาสเกิดอาการท้องอืด เนื่องจากเวลาที่ลูกดูดนมแม่ ทารกจะใช้ปากดูดหลวม ๆ ทำให้มีอากาศเข้าไปในกระเพาะมากขึ้น บวกกับการที่ขวดนมที่มีฟองอากาศเยอะด้วย ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้ลูกมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง ซึ่งคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกต
เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรฝึกลูกดูดนมจากขวด
- ลูกกินนมแม่จากเต้าได้ หากคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ควรเริ่มฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 ไม่ควรเริ่มช่วงเดือนแรก เพราะลูกอาจสับสนระหว่างขวดนมและหัวนมแม่ พอหลังจากผ่านไปหนึ่งเดือน ลูกจะเริ่มปรับตัวได้และไม่สับสน คุณแม่สามารถฝึกลูกดูดนมจากขวดได้วันละ 1-2 ครั้ง เมื่อถึงเวลากลับไปทำงาน ลูกก็จะสามารถดูดขวดเองได้
- ลูกกินนมแม่จากเต้าไม่ได้ สำหรับทารกที่ไม่สามารถดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้ ควรเริ่มฝึกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ลูกสามารถดื่มนมได้อย่างเพียงพอ
วิธีฝึกลูกดูดนมจากขวด
การฝึกลูกดูดนมจากขวด คุณแม่อาจต้องคำนึงถึงอารมณ์ของลูกว่ามีความพร้อมหรือไม่ หากลูกไม่หิวมาก อารมณ์ดี ก็สามารถเริ่มฝึกลูกดูดนมได้
- เลือกจุกนมคล้ายหัวนมแม่ การเลือกจุกนมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คุณแม่ควรเลือกจุกนมที่มีความนิ่ม ยืดหยุ่น และควรเลือกจุกนมที่ไหลช้าที่สุดเหมือนกับนมแม่ โดยอาจใช้ขนาด S หรือ SS ตามแต่ละยี่ห้อ
- ให้ลูกลองเล่นจุกนม การให้ลูกลองเล่นจุกนม อมเล่น หรือกัดเล่น จะช่วยสร้างความคุ้นชินให้แก่เขาได้
- ให้ลูกดื่มนมแม่ที่ปั๊มใหม่ ๆ โดยต้องเป็นนมที่อุ่นและปริมาณไม่มาก
- ให้คนอื่นลองป้อนนมลูก อาจให้คุณพ่อ ยาย หรือพี่เลี้ยงเป็นคนป้อนนมลูกแทนคุณแม่ เนื่องจากทารกมักจะติดกลิ่นแม่เป็นพิเศษ และมักติดเต้า ไม่ยอมดูดขวด ซึ่งบางครั้งอาจใช้วิธีให้แม่ออกจากบ้านไปก่อนเพื่อไม่ให้ลูกได้กลิ่นแม่
- ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น มีของเล่นมาล่อ เปิดเพลงให้ฟัง หรือนั่งเก้าอี้โยกขณะป้อนนมให้ลูก เป็นต้น
- พยายามฝึกลูกเรื่อย ๆ หากลูกยังไม่ยอมกินนมจากขวด ก็อาจใช้วิธีใหม่ ๆ ในวันถัดไป
เทคนิค ป้อนนมลูก ยังไง ไม่ให้ลูกท้องอืด ท้องเฟ้อ
เพราะสาเหตุหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกท้องอืดนั้น มาจากกระบวนการย่อยอาหาร ดังนั้น การป้อนนมของคุณแม่นั้นจึงมีผลโดยตรงกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อของลูกน้อย ซึ่งเทคนิคที่จะทำให้คุณแม่ป้อนนมลูกได้อย่างถูกต้อง ป้อนแล้วลูกไม่ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีดังนี้
- ป้อนนมในปริมาณพอเหมาะ ไม่ให้ลูกดูดนมเร็วหรือช้าเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร ทำให้ลูกท้องอืดได้ค่ะ
- จัดท่าทางอุ้มลูกให้เหมาะสมขณะให้นม ไม่ว่าจะให้นมจากเต้าหรือจากขวด คุณแม่ก็ควรอุ้มลูกขึ้นมา ยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะทำให้น้ำนมไหลลงสู่ท้องได้ดีกว่านอนดูดนมค่ะ
- ยกขวดนมขึ้นระหว่างป้อนนม หรือเอียงขวดทำมุม 30-45 องศา เพื่อให้อากาศลอยอยู่ที่ก้นขวด ป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม
- ทิ้งนม 2-3 นาทีหลังจากชงเสร็จ เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัว ก่อนให้ลูกดูดจากขวด
- จับลูกเรอหลังให้นมเสร็จ ด้วยการอุ้มลูกพาดบ่า คางเกยไหล่ แล้วลูบหลังเขาเบา ๆ ประมาณ 10-20 นาที หรือจับลูกนั่งตัก ใช้มือประคองหัวลูกให้สูงกว่าหน้าอก แล้วใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ลูบหลังเขาอย่างแผ่วเบา อ่อนโยน
สิ่งที่คุณแม่ควรรู้เมื่อป้อนนมลูก
- ไม่ควรจับลูกนอนราบขณะให้นม
- ไม่ควรหนุนขวดนมด้วยผ้าหรืออุปกรณ์อื่น ๆ
- ไม่ปล่อยลูกไว้ตามลำพัง ขณะลูกดูดนมจากขวด
- พยายามไม่จับขวดนมตั้งมากเกินไป ขณะให้นมลูก เพราะอาจทำให้ลูกสำลักได้
- การฝึกลูกกินนมจากขวดอาจต้องใช้เวลา ดังนั้น คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่จากขวดเป็นหลัก และสลับมากินนมจากเต้าบางมื้อ ไม่เช่นนั้น ลูกอาจกลับไปติดเต้าได้อีกครั้ง
สิ่งสำคัญคือ ในช่วงให้นมลูก คุณแม่ควรป้อนนมในปริมาณที่พอเหมาะและต้องยกขวดนมขึ้นระหว่างป้อนนม หลังให้นมเสร็จอย่าลืมจับลูกเรอด้วย รับรองว่าจะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อของทารกได้อย่างแน่นอน
โภชนาการย่อยง่าย ทางเลือกช่วยแก้ปัญหาท้องอืด
นอกจากการใช้เทคนิคป้อนนมลูกแล้ว การเลือกโภชนาการย่อยง่ายมีช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อในทารกได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูกหรือกังวลใจว่าจะไม่ได้รับสารอาหารสำคัญในนมแม่อย่าง MFGM และ DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยอย่างเพียงพอ
คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย สามารถดูดซึมได้ดี ซึ่งจะสอดคล้องกับระบบย่อยอาหารของลูกน้อยที่เพิ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา หากคุณแม่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PHP คลิก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกไม่ยอมกินนมแม่ ไม่เข้าเต้า เพราะอะไร แก้ปัญหาอย่างไร
นมผงแต่ละสูตรต่างกันอย่างไร ก่อนเปลี่ยนนมให้ลูกแม่ต้องรู้อะไรบ้าง
นอกจากนมแม่ ให้ลูกกินอะไรได้อีก สารอาหารอะไรบ้างที่สำคัญกับทารก?
ที่มา :