ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย จริงหรือ หมอบอกป้อนกล้วยเด็กก่อน 6 เดือนอันตรายถึงชีวิต

แม้ว่าผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆ จะบอกว่าเลี้ยงลูกหลานมาก็ ป้อนกล้วยตั้งแต่เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนทั้งนั้น ซึ่งก็จัดว่าที่โชคดีเด็กเหล่านั้นไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ถ้าหากลูกของเราโชคไม่ดีขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง มาดูกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย โซเชียลแชร์ข้อความ ผู้ใหญ่ให้หลานกินกล้วยบด จนติดเชื้อในลำไส้ ก่อนเด็กจะเสียชีวิตในที่สุด จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความระบุว่า มีญาติผู้ใหญ่ให้หลานกินกล้วยบด โดยอ้างว่าเป็นความเชื่อสมัยโบราณนั้น จนทำให้เด็กติดเชื้อในลำไส้ต้องเข้าโรงพยาบาล กระทั่งสุดท้ายเด็กได้เสียชีวิต เป็นความจริงหรือไม่ ที่การป้อนกล้วยเด็ก ทำให้ถึงตาย

ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย จริงหรือ?

ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย จริงหรือ

แพทย์ เผย ป้อนกล้วยเด็กก่อน 6 เดือน อันตรายถึงชีวิต

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด อธิบายในประเด็นนี้ว่า คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวอาจจะเคยเผชิญความขัดแย้งของความรู้ที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่สนับสนุนนมแม่ กับความรู้ หรือภูมิปัญญาจากรุ่นคุณปู่ย่าตายาย ซึ่งมองว่าความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่องปกติ  เนื่องจากความรู้ที่ญาติผู้ใหญ่ได้รับมาจากหมอรุ่นก่อน ๆ ตอนที่ความรู้เรื่องนมแม่ ยังมีไม่มาก ย่อมไม่เหมือนกับความรู้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เริ่มอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมหลังเด็กอายุ 6 เดือน เนื่องจากก่อน 6 เดือนเด็กยังมีกระเพาะอาหาร และลำไส้ไม่แข็งแรงเต็มที่ ระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมเข้าไป อาจมีความผิดปกติได้ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย แพ้อาหารเนื่องจากเยื่อ บุลำไส้ยังอยู่กันหลวม ๆ ทำให้โปรตีนแปลกปลอม เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านโปรตีนแปลกปลอม แล้วนำไปสู่การเกิดโรคภูมิแพ้ได้ในอนาคต

จะเกิดอะไรขึ้นหากให้อาหารเสริมก่อน 6 เดือน

พญ.สุธีรา เผยว่า มีทั้งเด็กที่เป็นอันตราย และไม่ได้เป็นอันตราย อย่างล่าสุด มีกรณีที่ผู้ใหญ่เอากล้วยป้อนเด็ก ซึ่งมีอายุเพียงไม่กี่เดือน จนเด็กมีอาการตาเขียวคาดว่าน่าจะสำลัก เพราะว่าเด็กยังมีการเคี้ยวการกลืนได้ไม่ดี และก้อนกล้วยไปติดลมหายใจ หลอดลม เมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็อยู่ได้เพียง 2 วัน ก่อนจะเสียชีวิต ส่วนเด็กที่กินกล้วยก่อนอายุ 6 เดือน แล้วปกติดี ไม่เป็นอะไร ก็ถือว่าโชคดี น่าจะเป็นเพราะไม่ได้ป้อนเยอะเกิน ไปจนเกิดปัญหา แต่เวลาที่ให้เด็กกินกล้วย อยากให้สังเกตด้วยว่า ระบบขับถ่ายเป็นอย่างไร เพราะเด็กบางคนกินกล้วยแล้ว ท้องผูก แต่เด็กบางคนกินกล้วยแล้ว ถ่ายง่ายนิ่ม เป็นปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาที่ให้เด็กกินกล้วย อยากให้สังเกตด้วยว่า ระบบขับถ่ายเป็นอย่างไร เพราะ เด็กบางคนกินกล้วยแล้วท้องผูก แต่เด็กบางคนกินกล้วยแล้วถ่ายง่ายนิ่มเป็นปกติ

หากป้อนกล้วยให้แก่ทารกเร็วเกินไป ส่งผลอะไรบ้าง?

แม้ว่าผู้ใหญ่รุ่นเก่า ๆ จะบอกว่าเลี้ยงลูกหลานมาก็ ป้อนกล้วยตั้งแต่เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนทั้งนั้น ซึ่งก็จัดว่าที่โชคดีเด็กเหล่านั้นไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ถ้าหากลูกของเราโชคไม่ดีขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง มาดูกันค่ะ

1. ลําไส้อุดตัน

เนื่องจากกล้วยที่ทานเข้าไปไม่สามารถย่อย และดูดซึมในกระเพาะอาหาร และลําไส้ของทารกได้ จึงไปขัดขวางการทำงานของลำไส้  ทำให้ลําไส้อุดตัน ซึ่งถ้ารุนแรงมาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดลําไส้ หากรักษาไม่ทัน อาจเกิดลำไส้แตกทะลัก เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

2. ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

เกิดจากเด็กทารกอายุน้อย ยังไม่พร้อมในการทาน และการกลืนอาหารเสริม ทำให้สำลักกล้วยที่ป้อน ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ สมองขาดออกซิเจน อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต กลายเป็นเจ้าหญิง หรือเจ้าชายนิทรา หรือเป็นปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ขาดสารอาหารที่จำเป็น

เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากนมแม่เป็นหลัก หากให้ทานกล้วยจนอิ่มมากเกินไป จะทำให้เด็กทานนมได้น้อย และขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ค่ะ

การป้อนกล้วยเด็กอายุต่ำกว่า 6เดือน ซึ่งกระเพาะยังไม่แข็งแรง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อย่างเด็ดขาด

บทความ : อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อาหารอันตรายกินแล้ว ลูกเสี่ยงตาย-พัฒนาการช้า

1. อาหารสุกๆ ดิบๆ

ปลาดิบ ซูซิ ซาชิมิ หรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบต่างๆ แม้กระทั้งไข่ต้มยางมะตูม หรือไข่ดาวออนเซนก้ห้ามค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ว่ามันเป็นอันตรายสำหรับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งทางคณะกรรมการอาหารและยาของอเมริกา (FDA) ได้ระบุว่า พ่อแแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยได้กินปลา หอย หรืออาหารดิบๆ เพราะมันมีความเสี่ยงสูงที่ในอาหารนั้นจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และเกิดการสำลักได้ค่ะ หากพ่อแม่อยากลองให้ลูกน้อยได้กินอาหารดิบต้องรอจนกว่าอายุ 5-6 ปีก่อน เพื่อให้หนูน้อยได้พัฒนาระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงก่อนค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. น้ำผึ้ง

ถึงแม้น้ำผึ้งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำผึ้งมันประกอบไปด้วยสปอร์หรือเซลล์สืบพันธ์ุของแบคทีเรียที่เรียกว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดสารพิษในร่างกาย แถมยังเป็นสารพิษที่มีความรุนแรงมากที่สุดด้วย ในเด็กทารกอาจพบโรคภาวะโบทูลิสมในเด็กทารก (Infant botulism) ได้ หากมีการติดเชื้อ Clostridium botulinum เข้าไป เพราะเชื้อนี้จะเข้าไปสร้างสารพิษโบทูลิสมในทางเดินอาหารของทารก ดังนั้น พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงให้ทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบทานน้ำผึ้งค่ะ

3. อาหารที่เสี่ยงต่อการติดคอ

ลูกน้อยของคุณแม่ที่กำลังงอยู่ในช่วงเรียนรู้ และพัฒนาร่างกาย แม้กระทั่งการกินอาหารในช่วงขวบปีแรก เด็กๆ จะค่อยเรียนรุ้การกินอาหารแข็งขขึ้นทีละนิดๆ เช่น ไส้กรอก แครอท แอปเปิ้ล ข้าว หรือผลไม้ต่างๆ ซึ่งก่อนที่พ่อแม่จะหยิบยื่นอาหารหรือของว่างอะไรก็แล้วแต่ควรดูให้ดีว่าขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปหรือไม่ ลูกกินแล้วจะไม่มีอะไรทำให้ลงไปติดคอจนเป็นอันตรายต่อชีวิลูกได้

4. นมดิบ

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) กลล่าวว่า เด็กเล็กไม่คววรดื่มนมสดที่ไม่มีการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมดิบอบ่าง ชีส และไอศกรีมด้วย เพราะว่าจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น ท้องร่วง ไตวาย และถ้ารุนแรงที่สุด อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนทำให้เกิดเสียชีวิตได้ และถ้าลูกน้อยเกิดอ่อนแอเจ็บป่วยง่ายอยู่แล้ว จะทำให้ติดเชื้อและป่วยได้ง่ายขึ้นไปอีกค่ะ

5. น้ำตาล

เด็กทารกมักจะเกิดมาพร้อมกับอาหารรสชาติหวานๆ การที่พ่อแม่ให้ลูกกินของหวานตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะสองปีแรกไม่ใช่เรื่องดี เพราะจะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ต้องการไม่เพียงพอ แถมยังทำให้ลูกติดอาหารรสชาตินั้นๆ ไปอีกค่ะ ดังนั้น ในช่วงที่ลูกมีอาายุต่ำกวา 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานๆ ไปก่อนจะดีกว่า แล้วเน้นให้ลูกได้ทานอาหารที่ให้ครบ 5 หมู่ โดยที่ไม่ต้องปรุงรสมากนักจะดีที่สุดค่ะ

6. ไขมันต่ำ หรือไขมันพร่องมันเนย

เด็กทารกยังคงต้องการไขมันในอาหารอยู่ เนื่องจากไขมันพวกนี้ยังจำเป็นสำหรับกาารเจริญเติบโตทางร่างกายและสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองปีแรก ถ้าลูกของคุณมีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ ไม่มีน้ำหนักมากไป และไม่เสี่ยงต่อโรคอ้วน แต่ประวัติครอบครัวมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือโรคอ้วน หรือลูกมีน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ค่อยให้ลูกกินนมที่ไขมันต่ำค่ะ

ข้อมูลจาก  : www.thairath.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พบกับ 9 เมนูอาหารเสริมสำหรับลูกวัย 6-9 เดือนพร้อมวิธีทำสุดง่ายจากคุณแม่ทางบ้าน!

ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะการสัมผัสจากคนแปลกหน้า

เรื่องต้องระวังจากของกินหน้าโรงเรียน ตอนที่ 1

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team