ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร

หากรู้สึกแน่นอก หน้าอกโต นมโต ควรทำอย่างไรดี รักษาให้หายได้หรือเปล่า ติดตามอ่านกันได้ที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร

นอกเหนือจากความเจ็บปวดเหลือแสนของการคลอดบุตรแล้ว ปัญหาที่บรรดาคุณแม่ ๆ มือใหม่ทั้งหลายต้องเผชิญกันแทบจะทุกคน ซึ่งอาจมีอาการปวดมากน้อยแตกต่างกันไป นั่นก็คือ ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร ได้บ้าง

สำหรับคนทั่วไป อาจมองว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่แต่อย่างใด แต่คนอื่นไหนเลยจะรู้ซึ้งถึงอาการนี้ได้ดีกว่าผู้ที่เป็นทั้งคุณแม่มือเก่าและมือใหม่ ส่วนมากคนที่เป็นก็มักมีอาการมาตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์กันแล้ว มักก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวค่อนข้างมาก แล้วอาการแบบนี้เกิดจากสาเหตุใดล่ะ

 

แม่ท้องแน่นหน้าอก นมโต

 

จริง ๆ แล้ว อาการเต้านมคัดนั้น เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แม้จะไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ตาม ผู้หญิงทั่วไปอาจมีอาการคัดเต้านมได้ในช่วงก่อนมีรอบเดือน ส่วนผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เกิดขึ้นเพราะร่างกายกำลังปรับสภาพกับระดับฮอร์โมนต่าง ๆ โดยจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ อาจมีไข้อ่อน ๆ ร่วมด้วย แต่ก็เป็นอยู่เพียงไม่นาน จะรู้สึกว่าได้ว่าเต้านมแข็ง บวมตึง ร้อนวูบ และจะปวดไล่ตั้งแต่เต้านมไปจนถึงลานนมด้วย แล้วอาการก็จะค่อย ๆ ลดลงไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมบุตร อาการเต้านมคัดจะเกิดขึ้นด้วยหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน หรือคุณแม่ทิ้งช่วงการให้ลูกกินนมนานเกินไป ให้นมลูกไม่บ่อยพอ จำกัดเวลาการให้นมลูก หรือไม่ได้บีบออกในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูด ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก รวมไปถึงการให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ซึ่งก็ก่อให้เกิดการระบายที่ไม่ดีตามมา

 

วิธีบรรเทาอาการ มีดังนี้

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.บรรเทาได้ด้วยการประคบน้ำเย็นสลับกับน้ำอุ่นจัด แล้วนวดเบา ๆ จะทำให้อาการดีขึ้น

2.ระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควรเลือกสวมใส่ชุดชั้นในให้เหมาะสมกับขนาดของร่างกายที่เปลี่ยนไปด้วย โดยควรเลือกเสื้อชั้นในที่ผลิตจากผ้าฝ้าย เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและเร็ว จะได้ไม่รู้สึกอับชื้นเหงื่อ โดยเนื้อผ้าฝ้ายจะมีความทนทาน แข็งแรง ช่วยอุ้มน้ำหนักของเต้านมที่ขยายตัว ซึ่งจะทำให้อาการปวดลดน้อยลงไปเช่นกัน

 

สำหรับคุณแม่หลังคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.ควรให้ลูกดูดนมบ่อยครั้งขึ้น อย่างน้อยทุก 2 – 2 1/2 ชั่วโมง และดูดให้ถูกวิธี เพื่อระบายน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด และต้องให้ดูดในเวลากลางคืนด้วย มิเช่นนั้น เต้านมจะกลับมาคัดอีกในเช้าวันรุ่งขึ้น ถ้าหากลูกน้อยหลับหรือไม่ยอมดูด ก็ควรบีบหรือปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้ โดยอาจนำไปแช่ช่องแข็งไว้ก่อนก็ได้

2.ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัด อย่างน้อย 10 นาที ก่อนให้นมลูก ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พอที่จะหุ้มเต้านมได้โดยรอบ ความอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น ตามด้วยการนวดและคลึงเต้านมเบา ๆ จากฐานลงไปที่หัวนม

3.บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง จะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น ลดความทรมานของคุณแม่ลงไปได้มาก

4.หลังให้นมลูกเสร็จ คุณแม่ควรประคบเต้านมด้วยความเย็น เพื่อลดความเจ็บปวด โดยอาจนำน้ำแข็งมาห่อผ้าขนหนูแล้วประคบไว้ที่เต้า จะทำให้อาการปวดดีขึ้น

5.หากคุณแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจจำเป็นต้องพักสักครู่ และระบายน้ำนมโดยการบีบหรือปั๊มออก แล้วให้ป้อนนมแม่จากถ้วยให้ลูกน้อยแทน แต่ถ้ายังรู้สึกปวดจนทนไม่ไหว ควรรีบไปพบแพทย์

6.ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่ควรเลือกใช้ชุดชั้นในที่เหมาะสมกับขนาดของเต้า เน้นเป็นผ้าฝ้ายเหมือนที่คุณแม่ขณะตั้งครรภ์ใช้ เพราะจะช่วยระบายเหงื่อ ความอับชื้น สวมแล้วกระชับเต้าพอดี ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป

7.บีบน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ ถ้าจำเป็น เพื่อจะได้คลายความเจ็บปวด จนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

 

หากต้องการจะป้องกันอาการเต้านมคัดไม่ให้เกิดขึ้นบ่อย แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.ไม่ควรทิ้งระยะให้นมลูกนานเกินไป หากมีธุระ ไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกมาเก็บไว้ เพื่อให้ลูกน้อยทานด้วยถ้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.ให้ลูกน้อยดูดนมบ่อย ๆ ด้วยท่าทางที่ถูกวิธี และดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยให้ลูกน้อยอ้าปากให้กว้างจนอมรอบฐานหัวนมได้ทั้งหมด ให้คางกับจมูกวางบนเต้านมได้พอดี ลูกจะดูดนมได้เป็นจังหวะและกลืนนมได้สะดวก (จะได้ยินเสียงกลืนชัดเจน)

 

ในกรณีที่คัดและปวดมากจนแตะต้องไม่ได้ วิธีที่ช่วยได้คือ นำกะละมังใส่น้ำอุ่นจัดที่พอทนได้วางบนโต๊ะ แล้วก้มตัวลงโดยใช้ข้อศอกยันโต๊ะไว้ ให้เต้านมจุ่มลงในน้ำสักพักใหญ่ ๆ แล้วกระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยการนวดเต้านมเบา ๆ หรือใช้หลังนิ้วลูบเบา ๆ จากนั้นจึงแช่เต้าในกะละมังอีกครั้ง ค่อย ๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้

 

คุณแม่มือใหม่ลองเอาวิธีข้างต้นไปลองปรับใช้กันดูได้ตามความสะดวก แต่หากทนอาการปวดคัดไม่ไหวจริง ๆ แนะนำให้ไปพบคุณหมอ เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขได้เร็วที่สุด และเพื่อที่ความอบอุ่นผูกพันของสองแม่ลูกจะได้ยาวนานออกไป ไม่ขาดตอนเช่นกัน

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัว ไปจนถึงการดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา (sanook) (chulalongkornhospital)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ คู่มือตั้งครรภ์พร้อมคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอด 9 เดือน ต้องทำอะไรบ้าง

บทความโดย

kanok