เรียกน้ำตาคนเป็นแม่!! ปฏิกิริยาของแม่ ที่ได้โอบกอดลูกน้อยหลังจากที่เคยแท้ง

Laura Fifield ช่างภาพผู้เก็บบันทึกภาพถ่ายในห้องคลอดได้ถ่ายภาพโมเม้นต์สำคัญของคุณแม่ที่ได้เจอลูกน้อยครั้งแรก หลังจากที่เธอเหล่านี้ได้เคยสูญเสียลูกคนก่อนไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปฏิกิริยาของแม่ ที่ได้เจอหน้าลูกน้อยครั้งแรก อ้อมกอดที่คนเป็นแม่ได้บรรจงโอบลูกน้อยนั้นจะบีบคั้นความรู้สึกที่ทำให้สั่นเทาได้เลยทีเดียว สำหรับคุณแม่ที่เคยสิ้นหวังจากการสูญเสียลูกไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะจากการแท้งหรือการเสียชีวิตในครรภ์  การได้เห็นหน้าลูกน้อยในวันนี้ ที่เกิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง เหมือนเป็นดังความหวังใหม่ เช่นเดียวกับที่เราอาจได้เห็นรุ้งทอประกายหลังฝนนั้นผ่านไป

 

Image Source: Laura Fifield

 

หลังจากที่ Lila และ Tim ผู้เป็นสามีได้สูญเสียลูกไปจากภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งท้องนอกมดลูก ที่ทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก และเมื่อ Lila ตั้งท้องอีกครั้งหลังการสูญเสีย ความรู้สึกทั้งตื่นเต้นดีใจระคนมากับความกังวลกับการตั้งท้องอีกครั้ง “1 ปีหลังจากที่เคยสูญเสียลูกของพวกเรา ฉันได้โอบกอดของขวัญที่มีค่าที่สุดกว่าใด ๆ ทั้งหมด มันเป็นทั้งความหวาดกลัวและความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่างภาพได้ถ่ายภาพทั้งหมดนี้ขึ้นมา ทำให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ มากมายจากการที่แม่ได้โอบกอดทารกน้อยไว้พร้อมกับน้ำตาเพียงหยดเดียวที่ไหลลงบนแก้ม มันช่างเป็นภาพที่ทรงพลังที่จับเอาช่วงอารมณ์อันหวานอมขมกลืนนี้ไว้ มาพร้อมกันกับการเกิดของทารกน้อย rainbow baby*

 

กำหนดคลอดของทารก Audrey นั้นเกือบจะตรงกับเวลา 1 ปีหลังจากวันที่ Lila ได้สูญเสียลูกคนก่อนไป การได้เห็นพายุสิ้นสุดลง พร้อมกับชีวิตใหม่อันสวยงามที่ได้กำเนิดมานั้น เป็นเครื่องเตือนใจได้ว่าเด็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งที่มีค่าแค่ไหน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

* Rainbow Baby คือ คำที่ใช้เรียกเด็กทารกที่เกิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงหลังจากที่คนเป็นแม่นั้นได้เคยสูญเสียลูกไปก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะจากการแท้ง หรือ การเสียชีวิตในครรภ์  เหมือนเป็นดังความหวังใหม่ เช่นเดียวกับที่มีรุ้งทอประกายรออยู่เมื่อหลังฝนนั้นผ่านไป

 

วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด ก่อนคลอดต้องรู้

ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวอย่างไร คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด และเคล็ดลับคลอดง่าย ทรมานไม่นาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเจ็บปวดขณะคลอดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • อาการปวดท้องในระยะเตรียมคลอด เกิดจากมดลูกบีบตัว ทำให้ขาดเลือดหล่อเลี้ยงในมดลูก
  • ความรู้สึกเจ็บในช่วงคลอดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อฝีเย็บขยายตัวเพื่อเปิดทางให้ทารกแทรกตัวออกมา

 

แม่คลอดธรรมชาติจะมีสาเหตุความเจ็บปวด เช่น

  • ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)
  • ฮอร์โมน catecholamine
  • อัตราการเต้นหัวใจสูง
  • ความดันเลือดสูง
  • เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและมดลูกลดลง

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ

คุณแม่คลอดธรรมชาติ มักจะเจ็บปวดขณะคลอดลูกอยู่แล้ว แม่ท้องบางคนเจ็บคลอดมาก แม่ท้องบางคนเจ็บแป๊บเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายขณะตั้งครรภ์ ความพร้อมของแม่ท้องแต่ละคนที่แตกต่างกันไป แถมแม่ท้องแรก ยังรู้สึกกลัวเจ็บ กลัวการคลอดธรรมชาติ ไม่ชิลล์เหมือนแม่ท้องที่ผ่านการคลอดมาแล้ว สำหรับคุณแม่ท้องแรกหรือคุณแม่มือใหม่ มี 2 อย่างหลัก ๆ ที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมคือ

  1. เตรียมกาย ควรออกกำลังกายง่าย ๆ เบา ๆ อย่างสม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์ เช่น โยคะ หรือแค่เดินออกกำลังกาย เพื่อสร้างความยืดหยุ่นแข็งแรงของงร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับการคลอด ได้แก่ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กระดูกสะโพก หลังและขา
  2. เตรียมใจ การเจ็บท้องคลอดลูกเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เปรียบเสมือนบททดสอบที่จะพิสูจน์ว่าพร้อมที่จะเป็นแม่คนแล้วหรือยัง

 

ฝึก 4 ขั้นตอนการหายใจ

นอกจากการเตรียมตัวและเตรียมใจแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญที่แม่ต้องฝึก นั่นก็คือ วิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้ ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

 

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7 เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที
  2. เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

 

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9 เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด
  2. ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ 1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

 

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด เป็นการหายใจแบบช้าเมื่อเจ็บท้องไม่มากนัก เพียงแต่มดลูกหดรัดตัวและคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีสมาธิในการควบคุมการหายใจช้า ๆ ได้ แต่เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น จะไม่สามารถควบคุมการหายใจให้ช้าได้ จึงค่อยเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบเร็ว

ไม่ว่าคุณแม่จะหายใจแบบเร็วไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตามจะต้องหายใจล้างปอด คือ หายใจออกลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มใช้เทคนิควิธีการหายใจ และเมื่อสิ้นสุดเทคนิควิธีการหายใจจะต้องปิดท้ายด้วยการหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้งเสมอ

อ่านเพิ่มเติม วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

วิธีช่วยคุณแม่คลอดง่าย

ใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงช่วยคลอดง่าย

ถ้าคุณหมออนุญาต ในช่วงใกล้คลอดให้คุณพยายามขยับร่างกายในท่าหลังตรง เช่น การยืน เดิน โน้มตัวไปข้างหน้าและย่อตัวลงเล็กน้อยจะทำให้แรงโน้มถ่วงช่วยเคลื่อนตัวลูกน้อยลง ทั้งยังช่วยให้ตัวลูกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการคลอด

 

นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช

เทคนิคดี ๆ ระหว่างรอมดลูก แม่ต้องลอง นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช บรรเทาอาการเจ็บคลอด มดลูกเปิดเร็วมาก โดยคุณหมอแนะนำให้แม่นั่งฝ่าเท้าชิดกัน สองมือกดตรงเข่าไว้ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้านับ 1-20 แล้วผ่อนคลาย

 

นอนให้มาก ๆ สุขภาพแม่ท้องดีก็คลอดไม่ยาก

คนท้องต้องพยายามนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสูตินรีเวชอเมริกาชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ใกล้คลอดโดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. ต่อวัน จะใช้เวลาในการคลอดนานกว่า 11 ชม. และมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าคลอดมากกว่า 4 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่นอนอย่างน้อยวันละ 7 ชม. นี่จึงเป็นเหตุผลที่สมควรอย่างยิ่ง ที่ควรนอนให้มากขึ้น

เพื่อให้แม่นอนได้สบายตัวขึ้น ก็ต้องหาตัวช่วย เช่น หมอนรองคนท้อง เลือกที่คุณภาพดีจะช่วยพยุงท้อง ทำให้แม่ท้องหลับสบายขึ้น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ท่านอนคนท้อง ที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม 7 เคล็ดลับช่วยคุณแม่คลอดง่ายขึ้น อยากคลอดลูกง่าย ทำไงดี วิธีให้คลอดลูกง่าย

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ยากค่ะ แต่วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดที่ได้แนะนำไปนั้น ก็จะช่วยให้แม่คลอดธรรมชาติเจ็บปวดน้อยลง เพราะการคลอดธรรมชาตินั้นจำเป็นต้องรอให้ถึงระยะเจ็บท้องที่อาจกินระยะการเจ็บยาวนานหลายชั่วโมง มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น ทำให้คุณแม่ปวดท้องคลอดมากขึ้นจนแทบทนไม่ไหว แต่การคลอดทั่วไปแพทย์จะให้ยาบรรเทาปวดในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นน้ำเกลือเวลาที่คุณแม่ปวดมาก และช่วงหลังคลอดขณะที่เย็บซ่อมแผลฝีเย็บแพทย์จะฉีดยาชาให้ บางแห่งยังสามารถทำการบล็อคหลังให้คุณแม่ในขณะที่รอคลอด ทำให้แม่ไม่มีความรู้สึกช่วงครึ่งล่างของลำตัว คุณแม่จึงต้องศึกษา และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ก่อนตัดสินใจนะคะ

รู้กันไปแล้วถึงการคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ มาโหวตกันหน่อยว่า ถ้าคุณคลอดธรรมชาติ คุณจะทำการบล็อกหลังหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

7 สิ่งที่สามีควรรู้ เพื่อช่วยให้ภรรยามีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง

5 วิธีการรับมือสภาพจิตใจหลังแท้ง ทำอย่างไรดีเมื่อความเศร้ากัดหัวใจ

ที่มา : theasianparent

บทความโดย

Napatsakorn .R