คุณแม่ท้องต้องคอยสังเกตอาการในช่วงใกล้คลอดให้ดี หากพบน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะไหลออกมาจากช่องคลอดมาก ไม่สามารถกลั้นได้เหมือนปัสสาวะ ลักษณะแบบนี้เรียกว่า อาการน้ำเดิน มาทำความเข้าใจ “ภาวะน้ำเดิน” ให้มากกว่านี้กันคะ
น้ำเดินเป็นยังไง
“น้ำเดิน” คือ ภาวะที่มักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอดแล้ว ซึ่งเกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห้อหุ้มตัวทารกแตกหรือรั่วทำให้มีน้ำใส ๆ ไหลออกในปริมาณที่มากพอสมควร หากนั่งหรือนอนจะเห็นน้ำคร่ำไหลออกคล้ายกับปัสสาวะเปรอะเลอะที่นอน หากยืนอยู่น้ำคร่ำก็จะไหลนองพื้นคล้ายปัสสาวะไม่หยุด ซึ่งจะแตกต่างจากอาการปัสสาวะเล็ด และเมื่อเกิดน้ำเดินแล้ว จะมีอาการออกมาต่อเนื่องเรื่อย ๆ เป็นพัก ๆ คุณแม่จะรู้สึกเจ็บท้อง แสดงว่ามดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน เข้าสู่ระยะใกล้แล้ว และหากเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ อาจจะเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง เกิดจากการกระแทกจากอุบัติเหตุ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์
Read : น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต
เมื่อถึงเวลาน้ำเดินควรทำอย่างไร
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสสุดท้าย หรือที่อยู่ในระยะใกล้คลอดควรหมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เมื่อพบว่าตัวเองมีอาการน้ำเดิน ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะเมื่อน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก มีโอกาสทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่ลูกในครรภ์ โดยปกติแล้วแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บท้องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการน้ำเดิน หากน้ำเดินเป็นระยะเวลานานแล้วยังไม่คลอด โอกาสที่แม่และลูกน้อยในครรภ์จะได้รับเชื้อโรคและอันตรายก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีอาการน้ำเดินแล้ว คุณแม่ควรจะอยู่ในความใกล้ชิดของแพทย์ดีที่สุดคะ
ขอบคุณที่มา :www.healthandtrend.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง!!
ทำไมหลังคลอดถึงปัสสาวะเล็ดบ่อย?