ท้องโตกว่าอายุครรภ์ ท้อง 2 เดือนท้องใหญ่มาก เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

หากคุณแม่ท้องโตกว่าอายุครรภ์ จนถูกทักเสมอ คิดว่าใกล้คลอดแล้ว หรือไม่ก็ ได้ลูกแฝดหรือเปล่า ทำให้เป็นกังวลว่าการที่ท้องโตผิดปกตินั้นอันตรายหรือไม่ มาฟังคำตอบจากคุณหมอค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้อง 2 เดือนท้องใหญ่มาก ท้องโตกว่าอายุครรภ์ อาการแบบนี้ผิดปกติหรือไม่

ศ.(คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ ได้อธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ท้องโตกว่าอายุครรภ์ว่ามาจาก 3 สาเหตุคือ

  1. ลำไส้เคลื่อนไหวไม่ดีเท่าที่ควร มีลมมากในกระเพราะและลำไส้ ทำให้โป่งพองผิดปกติ
  2. คุณแม่ที่เคยคลอดลูกแล้ว แต่ไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้ผนังหน้าท้องยืด กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างกัน เมื่อตั้งท้องรอบใหม่จึงรู้สึกว่าท้องโตกว่าครั้งก่อน
  3. มดลูกโตกว่าปกติ ในกรณีนี้ อาจเกิดจากภาวะต่างๆ ที่สำคัญดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เข็มขัดพยุงครรภ์ ยี่ห้อไหนดี เลคกิ้งคนท้อง น่าใช้งานมากที่สุด

 

จำไม่ได้ว่ามีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร

เพราะการนับอายุครรภ์จะอิงจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หากคุณแม่บอกคุณหมอผิด คุณหมอก็คำนวณกำหนดคลอดผิด เมื่อคุณหมอตรวจท้องก็จะพบว่า ท้องโตกว่าอายุครรภ์

ครรภ์ไข่ปลาอุก

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกนั้นประมาณ 60-70% จะพบว่าท้องโตมากผิดปกติ โดยจะมีขนาดของมดลูกที่โตกว่าอายุครรภ์จริงคล้ายการตั้งครรภ์แฝด แต่เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวเด็ก คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกจะมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถลุกลามเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก และที่สำคัญการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกยังอาจกลายไปเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งของเนื้อรกได้

ตั้งครรภ์แฝด

ในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์แฝดอาจยังดูไม่ออกว่าคุณแม่มีลูกแฝด แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ตั้งแต่เดือนที่ 5-6 ขึ้นไปจึงจะสังเกตเห็นว่าท้องโตกว่าคนอื่นๆ ที่เป็นครรภ์เดี่ยว อ่านต่อ ความเสี่ยงที่แม่ตั้งครรภ์แฝดควรระวัง เพื่อคลอดลูกแฝดอย่างปลอดภัย

เป็นเบาหวาน

หากคุณแม่เป็นเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์จะทำให้ รกมีขนาดใหญ่ และมีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ เนื่องจากอินซูลินในตัวลูกน้อยจะเปลี่ยนน้ำตาลที่มาจากเลือดของแม่เป็นไขมัน ลูกในท้องจึงตัวโตจ้ำม่ำ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าผิดปกติ และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ อ่านต่อ การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

น้ำคร่ำมากผิดปกติ

ปกติแล้วลูกน้อยจะกลืนน้ำคร่ำอยู่ตลอดเวลา แต่หากอวัยวะบางส่วนทำงานผิดปกติ ทำให้ลูกไม่สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ น้ำคร่ำจึงมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากภาวะความผิดปกติของสมองและระบบประสาทของลูกน้อย เช่น กะโหลกศีรษะไม่ครบ ก็ทำให้การสร้างน้ำคร่ำมากผิดปกติด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้โพรงมดลูกเต็มไปด้วยน้ำ ที่เรียกกันว่า “แฝดน้ำ” นั่นเอง

ในกรณีที่ท้องโตผิดปกติ หากไม่ได้เกิดจากการนับประจำเดือนผิดปกติ หรือหน้าท้องหย่อนมากแล้ว ถือว่าผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากน้ำคร่ำมากผิดปกติ อาจทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่แน่นท้อง อึดอัดมาก คุณหมออาจต้องเจาะน้ำคร่ำออกบางส่วน ซึ่งจะช่วยได้ชั่วคราวจนกว่าจะถึงกำหนดคลอด

หากตรวจพบว่าเกิดจากลูกสมองพิการ แพทย์อาจให้เร่งคลอดก่อนกำหนด เพราะความพิการนี้แก้ไขไม่ได้ ลูกเกิดมาต้องเสียชีวิตแน่ๆ แต่หากพบว่า หลอดอาการตีบตันทำให้ทารกกลืนน้ำคร่ำไม่ได้ เมื่อคลอดออกมายังมีโอกาสทำสามารถศัลยกรรมแก้ไขได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา คู่มือตั้งครรภ์ และเตรียมคลอด

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

การ์ตูนฮากระจาย : เรื่องจริงของคุณแม่ท้องโต (รูป 20+)

ท้องโตแล้วไม่รู้จะทำอะไรดี!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา