ท่าคลอดลูกเมื่อแม่ท้องคลอดเอง

คุณแม่ทราบไหมคะว่า ท่าทางในการคลอดลูกแบบแม่คลอดเองนั้น มีด้วยกันหลายท่านะคะ มาดูกันว่ามีท่าคลอดลูก แม่คลอดเองแบบไหนบ้าง พร้อมทั้งร่วมไขข้อข้องใจนอนคลอดดีกว่านั่งคลอดหรือไม่ ติดตามอ่าน

ทำความรู้จัก ท่าคลอดลูก แม่ท้องคลอดเอง

Credit ภาพ : www.cbfthai.org

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเองที่ปฏิบัติกันทั่วไป

ตามปกติแล้วท่าการคลอดลูก แม่ท้องคลอดเองที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะอยู่ในท่านอนหงายนอนราบบนเตียงคลอด เพราะสะดวกต่อคุณหมอและพยาบาลที่จะทำคลอด แต่การนอนคลอดในลักษณะนี้จะมีแรงโน้มถ่วงของโลกที่ไม่ส่งเสริมให้การคลอดราบรื่นเท่ากับท่านั่งยอง ๆ คลอดหรือยืนคลอดในน้ำ เพราะเป็นท่าการคลอดที่เคลื่อนไหวได้อิสระ จะส่งผลดีต่อแม่ท้องและทารกอย่างมาก

ท่านั่งยอง ๆ เป็นท่าที่สบายลดความเจ็บปวด การบีบตัวของมดลูกจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เลือดจะสามารถไปเลี้ยงทารกได้สะดวกขึ้น ทำให้ทารกเคลื่อนตัวผ่านอุ้งเชิงกรานได้ง่ายและสะดวกขึ้น เพราะพื้นที่ของอุ้งเชิงกรานจะกว้างมากกว่าท่านอน และแรงโน้มถ่วงที่กดลงมา เปรียบเทียบง่ายๆ (ต้องขอโทษด้วยนะคะหากใช้คำไม่สุภาพแต่เพื่อความเข้าใจ) เหมือนท่านั่งยอง ๆ อุจจาระนั่นเอง จะทำให้การคลอดง่ายและสะดวกขึ้น

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเอง : ท่าที่ 1 ท่ายืน

Credit ภาพ : mydoulaheart.com

เริ่มต้นด้วยการยืนแยกขาเล็กน้อย จับพนักเก้าอี้ไว้ หลังจากนั้นให้งอเข่าเล็กน้อย และหมุนสะโพกไปมาเป็นวงกลมหรือส่ายสะโพกไปมาทางซ้ายขวาก็ได้ ในขณะที่ทำอยู่นั้นก็ให้คุณแม่หายใจออกตามไปด้วยนะคะ เป็นจังหวะตามแบบการหายใจเบ่งคลอดค่ะ

บทความแนะนำ วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเอง : ท่าที่ 2 ท่าคุกเข่า

Credit ภาพ : scotdir.com

โดยให้คุณแม่คุกเข่าลงกับพื้น มือทั้งสองข้างเท้าเอวไว้ แล้วจึงโยกสะโพกเป็นวงกลมหรือโยกสะโพกไทางซ้ายหรือขวาก็ได้ ท่านี้สามารถใช้ในเวลาที่คลอดในน้ำได้

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเอง : ท่าที่ 3 ท่าคลาน

Credit ภาพ : mydoulaheart.com

ท่านี้เป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุด เพราะทั้งหัวเข่าและมือจะพยุงตัวคุณแม่ไว้เต็มที่ ในขณะที่มดลูกทำงานบีบตัวมากขึ้นและถี่ขึ้น ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ดี และยังลดอาการปวดหลังอีกด้วย

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเองท่าอื่น ๆ

ท่ายอง

Credit ภาพ : www.cbfthai.org

มีรายงานว่า ในการคลอดท่ายอง ๆ (squatting) ช่วยให้มีทางออกของช่องเชิงกรานเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร และทางออกแนวด้านหน้าของช่องเชิงกรานเพิ่มขึ้น 1.5 เซนติเมตร สรุปแล้วจะทำให้พื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเปรียบเทียบกับการคลอดในท่านอนราบ สำหรับท่ายองนั้นเป็นท่าที่เหมาะสมกับการคลอดในน้ำ และในสมัยโบราณนั้นทั้งประเทศไทย อียิปต์ กรีก ยุโรป ล้วนแล้วแต่ใช้ท่ายองในการคลอดลูกทั้งสิ้น

ท่าขบนิ่ว

Credit ภาพ : www.cbfthai.org

ส่วนการนอนเบ่งคลอดในท่าขบนิ่วนั้น คือ เป็นท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง ศีรษะต่ำปลายเท้าสูง มีข้อเสียหลายประการ คือ ทำให้เกิดภาวะมดลูกขยายขนาดใหญ่กดทับเส้นเลือดดำใหญ่ โดยเลือดดำไปกองอยู่บริเวณขาทั้งสองข้างมากขึ้น ทำให้เลือดดำกลับสู่หัวใจน้อยลง ส่งผลให้เลือดแดงที่สูบฉีดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายให้น้อยลง

การคลอดในโรงพยาบาล ในบางกรณีที่มีปัญหาคลอดยากจะใช้ท่าขบนิ่ว คือ เอาขาวางบนขาหยั่งแล้วคุณหมอจะใช้คีมคีบช่วยดึงศีรษะทารกออกมา

บทความแนะนำ เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

ท่าคลอดลูก แม่คลอดเอง

ไขข้อข้องใจ นอนคลอดดีกว่านั่งคลอดจริงหรือ?

Credit ภาพ : midwivesvw4w.blogspot.com

– ในสมัยโบราณ แม่ท้องจะนั่งยอง ๆ หรือยืนคลอดลูก ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ได้เริ่มมีวิธีการนอนคลอดลูกและได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

– แต่ในวงการแพทย์สมัยโบราณ ในประเทศสก๊อตแลนด์มีความคิดว่า การนอนคลอดไม่ดีหลายอย่าง เช่น ท่านอนคลอดมดลูกจะกดทับเส้นเลือดได้ง่ายกว่าท่านั่ง เพราะเวลานั่งยอง ๆ เชิงกรานจะกว้างขึ้น และอาศัยน้ำหนักตัว ทารกจะเคลื่อนตัวออกมาสู่พื้นข้างล่างได้ง่ายกว่า และทำความสะอาด เพราะเลือดและน้ำคร่ำไม่ไหลเจิ่งนองเปรอะเปื้น

– ดังนั้น คณะสูตินรีแพทย์จึงได้ทดลองคลอดในท่านั่ง เพื่อให้แม่ท้องคลอดเองได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น จึงได้ทดลองทำการคลอดในท่านั่งทั้งหมด 189 ราย ทุกรายคลอดปกติ

– ข้อดีของท่านั่งคลอด คือ คุณแม่ไม่ค่อยปวดหลังและฝีเย็บของแม่จะฉีกขาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

– ข้อเสีย คุณแม่บางคนโดยเฉพาะในท้องหลัง ๆ การคลอดอาจจทะำให้รองรับทารกไม่ทัน และมักทำให้ฝีเย็บขาดมาก

– ข้อเสียอีกอย่างของการนั่งคลอดคือ จะเสียเลือดมากกว่านอนคลอด

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยท่าทางแบบใดคุณหมอจะเป็นผู้ดูแล แนะนำ จนคุณแม่คลอดลูกเองออกมาอย่างปลอดภัยนะคะ ไม่ต้องกังวล

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูล

หนังสือคู่มือ ตั้งครรภ์คุณภาพ ผู้เขียน พรรณี ศรีสุพัทพงษา

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ถ่ายทอดสดแม่คลอดลูกผ่านเฟสบุ๊ค

15 สุดยอดภาพวินาทีแรกของการคลอดลูก