ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหา ทารกร้องไห้ มักเกิดขึ้นบ่อย ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เกิดความกังวลใจอย่างมาก ไม่รู้ว่าควรจะแก้ไขอย่างไรดี เพราะทารกนั้น ไม่สามารถพูด และบอกความต้องการให้เราฟังได้ อย่างไรก็ตามการร้องไห้ของเด็กทารก ถือเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจ กับสาเหตุที่เด็กร้องไห้ และวิธีการรับมือ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้กันค่ะ

 

ทำไมทารกถึงร้องไห้ ?

สาเหตุที่ทารกร้องไห้ เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถบ่งบอกความต้องการออกมาเป็นคำพูดได้ จึงทำให้เกิดการร้องไห้โยเย เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างเพื่อให้พ่อแม่ได้รับรู้ และเป็นการแสดงออกเพื่อให้ได้ในสิ่งต้องการ หรือไม่ยอมรับในสิ่งนั้น ๆ การร้องไห้ จึงไม่ใช่แค่การส่งเสียงร้อง แต่เป็นการสื่อสารที่ถูกออกแบบมาเพื่อความอยู่รอดของทารกด้วย ดังนั้นการที่พ่อแม่นิ่งเฉยไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของทารก จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกได้ ซึ่งเด็กบางคนอาจร้องไห้เป็นเวลานาน หรือเป็นเวลาถี่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยภายนอก และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 เหตุผลที่ทำให้ทารกร้องไห้ สาเหตุที่ทำให้เบบี๋ร้องไห้ หิว ง่วง ผ้าอ้อมเปียก หรือต้องการอะไรกันแน่

 

 

สาเหตุที่ทำให้ ทารกร้องไห้

เสียงร้องไห้ของทารกแรกเกิดคือการบอกให้พ่อแม่รับรู้ตอนนี้เขาต้องการอะไร เพราะพวกเขาไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำได้ ดังนั้นหากลูกร้องไห้บ่อย ๆ พ่อแม่จึงควรรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร และมีอาการผิดปกติอย่างไร ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกร้องไห้นั้น มีดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หิวนม

ทารกจะส่งเสียงร้องเมื่อเขารู้สึกหิว และ ต้องการกินนม เมื่อคุณแม่ลองอุ้มลูกขึ้นมาให้นม ถ้าหลังจากให้นมแล้วลูกยังร้องไห้อีก แสดงว่าเขายังมีความต้องการที่จะกินนมอีก หรือถ้าให้นมเพิ่มแล้วอิ่มจนหยุดร้อง และ หลับไป แต่ตื่นเร็วเพื่อมางอแงคุณแม่อีก แสดงว่าลูกอาจจะได้รับน้ำนมน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ข้อสังเกตว่าทารกร้องไห้เพราะหิว อาจจะดูปริมาณนมแม่ที่ให้ และ ช่วงเวลาการนอนหลับของลูก

 

2. ผ้าอ้อมเปียกแฉะ

ทารกแต่ละคนจะมีความสนองต่อความเปียกแฉะที่ร่างกายสัมผัสแตกต่างกัน ดังนั้น ทารกบางคนจึงร้องไห้เสียงดังเมื่อฉี่หรืออึออกมาสักพัก และร้องไห้เพื่อต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม เพราะจะเริ่มรู้สึกถึงความเย็นและความแฉะชื้น ในขณะที่ทารกบางคนอาจจะรู้สึกเย็นสบายเมื่อฉี่ออกมา และไม่ส่งเสียงร้องบอกพ่อแม่ก็ได้

 

3. รู้สึกร้อน หรือหนาว

ทารกแรกเกิดมักต้องการความอบอุ่นเหมือนตอนที่ถูกในท้องแม่ ดังนั้น เมื่อลูกรู้สึกร้อน หนาว หรือคุณแม่อาจไม่ได้ใส่เสื้อผ้าหรือปล่อยให้ลูกนอนเล่นโดยไม่ได้ใส่ผ้าอ้อม ลูกอาจจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา เป็นเพราะทารกแรกเกิดยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ทัน ดังนั้น หลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้วก็ควรใส่เสื้อใส่ผ้าอ้อมลูก ไม่ควรปล่อยให้อยู่กับอากาศเย็นเป็นเวลานาน ๆ หรือในขณะที่ลูกนอนห้องแอร์ ก็ควรหาเสื้อผ้าแขนยาวขายาวเพื่อให้ลูกได้รับความอบอุ่นและไม่รู้สึกหนาวเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. อยากให้อุ้ม และถูกกอด

เป็นเรื่องปกติของทารกรวมถึงเด็ก ๆ ที่อยากให้พ่อแม่อุ้ม ยามที่เขารู้สึกกังวล ไม่สบายใจ หรือรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย การอุ้ม กอด จูบ ส่งเสียง หรือสัมผัส จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และหยุดร้องไห้ลงได้ ดังนั้นเมื่อทารกร้องไห้ พ่อแม่ไม่ควรนิ่งเฉยหรือปล่อยให้ลูกได้ร้องไห้นั้น ควรเข้ามาอุ้มกอดลูก เพราะสัมผัสนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเซลล์สมอง ส่งผลต่อพัฒนาการต่าง ๆ และต่ออารมณ์ที่มีความสุขของลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. หงุดหงิด

อาการหงุดหงิดของทารกอาจจะเกิดขึ้นจากความเพลีย เหนื่อยล้า และต้องการนอนหลับพักผ่อน เพราะในช่วงแรกเกิดของทารกเป็นช่วงที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตหลังคลอด หลังจากอยู่ในท้องแม่มานานหลายสัปดาห์ ลูกจึงต้องการสภาวะที่สงบ เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย อารมณ์ทารกจะถูกดึงออกมา เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง ดังนั้น ในช่วงแรก ๆ ทารกจึงตื่นมาเพื่อกินและต้องการนอนหลับเท่านั้น การร้องไห้ของลูกอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเขาเพลีย และต้องการพักผ่อนก่อนจะส่งเสียงลั่น และค่อย ๆ เบาลงจนหลับไป

 

6. รู้สึกไม่สบาย

หากลูกมีอาการร้องไห้อย่างกระวนกระวาย แตกต่างไปจากเสียงร้องจากสาเหตุอื่น เช่น ซึม อ่อนเพลีย กระวนกระวายอยู่ไม่สุข ฯลฯ คุณแม่ต้องเช็กดูว่าร่างกายของลูกมีไข้หรือไม่ หากดูอุณหภูมิในร่างกายแล้วพบว่า เกิน 38 องศาฯ ให้ทำการเช็ดตัวลูก และถ้าไข้ยังไม่ลดหรือยังไม่หยุดร้องไห้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ

 

7. รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว

อาจเกิดจากการแน่นท้อง เพราะไม่ได้ถูกจับเรอหลังกินนม ดังนั้นเมื่อคุณแม่ให้นมเสร็จก่อนวางลูกลงนอนหลับ ควรจับลูกเรอเพื่อทำการไล่ลมที่เต็มกระเพาะออกมา เพื่อไม่ให้เกิดอาการจุกเสียด งอแง ไม่สบายตัว อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้และไม่ยอมนอนได้

 

8. สภาพแวดล้อมใหม่

เด็กแรกเกิดนั้น มันจะมีสภาวะที่ไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ โดยเฉพาะหลังคลอดเมื่อออกจากท้องแม่ ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวเข้ากับโลกภายนอก รวมทั้งคนในครอบครัว ทั้งด้านอารมณ์ และร่างกาย ซึ่งต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัว ระหว่างนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรพาลูกน้อยออกไปข้างนอกบ่อย ๆ รอเมื่อพวกเขาพร้อม เพื่อให้เด็กได้รู้สึกคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น

 

9. มีอาการเจ็บปวด

อาการเหล่านี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ค่ะ

  • ลูกมีอาการปวดท้อง เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังทำงานได้ไม่ดีเท่ากับของผู้ใหญ่ จึงทำให้มีอาการท้องอืดได้ง่าย หลังกินนมทุกครั้ง ควรจับลูกอุ้มเรอ จะช่วยให้อาการท้องอืดดีขึ้น แต่ถ้าหากทารกร้องกวนมาก มีอาการปวดท้องตัวงอ ขับถ่ายออกมาเป็นเลือด คลำเจอก้อนที่ท้อง ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน หรือหากมีอาการแหวะนมมาก อาเจียนพุ่ง ควรรีบพามาพบแพทย์โดยทันที
  • ลูกมีอาการปวดหู เนื่องมาจากหูอักเสบ ควรรีบพาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา
  • อาจเกิดจากการ โดนมดหรือแมลงกัดต่อย ผู้ปกครองควรถอดเสื้อผ้าเพื่อเช็คดูว่ามีรอยแมลงกัดต่อยหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

รับมืออย่างไรเมื่อ ทารกร้องไห้ ?

  • ให้ความอบอุ่นกับลูกน้อยด้วยการห่อผ้า และอุ้มกอด : หากเบบี๋ร้องไห้ คุณแม่ลองห่อตัวทารกไว้ให้กระชับและอุ้มลูกขึ้นมากอด การได้แนบชิดตรงตำแหน่งหัวใจคุณแม่ จะทำให้ลูกได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ที่คุ้นชินตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้นและค่อย ๆ ร้องไห้น้อยลง
  • ฟังเพลง : เสียงดนตรีจะช่วยสนองตอบอาการที่ทารกร้องไห้ลงได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงประเภทใดก็ตาม ยามเมื่อทารกร้องไห้ ร้องเปิดเพลงเบา ๆ หรือเพลงที่เปิดให้ลูกฟังบ่อย ๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์
  • อุ้มโยกไปมาเบา ๆ : ทารกบางคนเมื่อได้ถูกอุ้มแล้วก็จะสงบเงียบได้ หรือบางคนก็ชอบให้อุ้มเดินไปเดินมา หรือนั่งอุ้มอยู่บนเก้าอี้โยกไปมา หรือโยกในเปลไกวเบา ๆ
  • ให้นมลูก : อีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลเมื่อลูกน้อยร้องไห้ คุณแม่ควรจัดท่าให้นมลูกที่สบายทั้งแม่และลูก เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย หลังจากให้นมอิ่มแล้วคุณแม่ควรจับลูกเรอ และระหว่างลูกหลับควรนวดตามแขนขาและนิ้วของลูกอย่างแผ่วเบา จะทำให้ลูกรู้สึกสบายและหลับนานขึ้น
  • ดึงดูดความสนใจ : การพาลูกออกไปข้างนอก ทำกิจกรรม หรือเปลี่ยนบรรยากาศบ่อย ๆ สามารถช่วยดึงดูดความสนใจให้ลูกหยุดร้องไห้ได้ เช่น พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน หรือร้องเพลง และเต้นให้ลูกดู เพื่อทำให้พวกเขาอารมณ์ดีมากขึ้น

 

ทารกร้องไห้แบบไหนถึงเป็นโคลิค ?

หากลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้บ่อย นานเป็นชั่วโมง พ่อแม่จึงควรสังเกตอาการพวกเขาว่าเข้าข่ายของอาการโคลิคหรือไม่ โดยโคลิค เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วง 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเด็กจะร้องไห้หนักมากโดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งบางครั้งอาจร้องไห้นานเป็นสัปดาห์ แต่บางครั้งก็อาจหยุดร้องทันที คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตให้แน่ใจ นอกเหนือจากสาเหตุที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งหากลูกเกิดอาการโคลิค อาจเกิดจากการทำงานของระบบย่อยอาหาร พ่อแม่จำเป็นต้องพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนั่นเอง โดยอาการโคลิคของทารก มีดังนี้

 

  • ร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง
  • ลูกไม่ตอบสนองกับสิ่งเร้ารอบตัว
  • ลูกไม่ยอมดื่มนมตามปกติ หรือดื่มได้น้อยลง
  • พ่อแม่ไม่สามารถปลอบลูกให้หยุดร้องไห้ได้
  • มีไข้ อาเจียน ท้องเสีย และท้องผูก

 

การร้องไห้ของลูกน้อยในช่วงแรก ๆ อาจจะทำให้พ่อแม่มือใหม่เกิดอาการวิตกกังวล และพยายามหาสาเหตุมาทำให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้สารพัด อย่างน้อยในช่วง 3 เดือนแรก คุณพ่อคุณแม่อาจมีความเหนื่อย และต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เพราะต้องเข้าใจว่าลูกน้อยกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวเช่นเดียว กับบทบาทของพ่อแม่มือใหม่เหมือนกัน ดังนั้นหากลูกร้องไห้บ่อย ๆ พ่อแม่จึงต้องควรรู้จักวิธีรับมือ เพื่อช่วยให้ลูกหายร้องไห้ และสบายใจมากขึ้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกแรกเกิดร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร? ไม่สบายหรือไม่?

ลูกงอแง ร้องไห้โยเย อาจเป็นเพราะผื่นผ้าอ้อมทำให้ลูกรักไม่สบายตัว

ลูกร้องไห้จะเอา “โมเดล” ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร และควรเลือกซื้ออย่างไร

ที่มาข้อมูล : oknation, Pobpad, Samitivej Hospital

บทความโดย

Napatsakorn .R