เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายแล้ว ตอนนี้คุณแม่ ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ รู้หรือไม่ว่าถ้าเปรียบเทียบกับผลไม้ ลูกน้อยมีขนาดเท่ากับมะเขือยาวแล้วนะ ส่วนผิวของลูกน้อยจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู สำหรับตัวคนท้องเองก็คงจะรู้สึกอึดอัดเพิ่มขึ้นไปอีก และคงมีอาการอื่น ๆ ตามมา
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ พัฒนาการลูกเป็นอย่างไร
อีกไม่นานก็จะหมดช่วงไตรมาสที่ 2 แล้ว แม่ท้องอยากรู้ไหมว่าทารกน้อยในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าที่คิด หากไม่มีอะไรผิดปกติ ทารกจะมีพัฒนาการเบื้องต้น ดังนี้
- ในสัปดาห์นี้ คุณแม่จะรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของลูกในท้องเป็นพัก ๆ เป็นปกติ แต่อาจจะรุนแรงขึ้นบ้าง
- ลูกในท้องจะเริ่มได้ยินเสียง และสามารถแยกแยะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ และจะตอบสนองตัวเสียงนั้น หากลูกน้อยตื่นอยู่
- ผิวของทารกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เนื่องจากมีการสร้างหลอดเลือดขนาดเล็กที่เรียกว่า เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย
- เริ่มมีการขับถ่ายอุจจาระ แต่มันจะไม่ออกมา จนกว่าลูกน้อยจะคลอด
- ลูกในท้องอาจจะมีอาการสะอึกบ้าง เนื่องจากช่วงนี้ลูกกำลังฝึกการหายใจ
- หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 140 ครั้งต่อนาที
คุณแม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อรับการอัลตราซาวนด์ได้ เพื่อให้เห็นพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างชัดเจน และรับฟังคำอธิบายถึงอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อย รวมถึงสอบถามพัฒนาการในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 29 เช็กลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 6 เดือน
วิดีโอจาก : PRAEW
อาการคนท้อง 25 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน
ในช่วงนี้ครรภ์ของคุณแม่อยู่ในช่วงเกือบครบ 6 เดือน และใกล้หมดไตรมาสที่ 2 ในอีกไม่นาน ทำให้อาการของคุณแม่จะมีบางอย่างที่อาจรุนแรงมากขึ้น การรับรู้อาการที่อาจเกิดขึ้น ถือเป็นการเตรียมตัวรับมือที่ดีในช่วงนี้อย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว คนท้อง 25 สัปดาห์ จะมีอาการ ดังนี้
- ตอนนี้ท้องของคุณแม่จะมีลักษณะคล้ายกับลูกฟุตบอล ยอดมดลูกอยู่ระหว่างสะดือ และชายโครง เมื่อมันขยายใหญ่ขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ อาการปวดหลังส่วนล่าง คุณแม่เตรียมตัวได้เลย
- อาการปวดยังลุกลามไปตามร่างกาย ไปจนถึงสะโพก และขาด้วย
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 50 เป็นริดสีดวงระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากเส้นเลือดบริเวณทวารหนักบวม จากการกดทับของมดลูก ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีเท่าที่ควร
- อาการท้องอืด คุณแม่จะรู้สึกว่ากินข้าวได้นิดเดียวก็อิ่ม หรือรู้สึกว่า มีลมในกระเพาะอาหารจำนวนมาก เพราะมดลูกดันกระเพาะอาหารนั่นเอง หากคุณแม่รู้สึกแน่นท้องมาก ๆ ควรแบ่งทานอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ แล้วเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงซ้ายแทน
การดูแลตัวเองตอนท้อง 25 สัปดาห์
ในช่วงนี้กำลังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 การดูแลตนเองไม่ได้สำคัญน้อยลงไปเลย แม่ท้องจำเป็นที่จะต้องรักษาสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ครรภ์แข็งแรง ส่งเสริมให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการสมวัย ดังนี้
- หากคุณรู้สึกว่า ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก ๆ โดยเฉพาะบริเวณหลัง ให้ออกกำลังกายเบา ๆ หรือจะเล่นโยคะคนท้อง และเต้นแอโรบิกร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักนะคะ เอาที่ไหว อย่าฝืน
- สิ่งที่ควรระวังของคนท้องในสัปดาห์นี้คือ เมื่อรู้สึกว่า คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ท้องโตจากแก๊ส และกรดในกระเพาะ ให้รีบไปพบคุณหมอทันที
- ครรภ์ที่ใหญ่มากขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกหนัก และปวดหลังมาก กิจกรรมที่ทำให้คุณแม่ก้ม ๆ เงย ๆ จึงต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด และไม่ควรยกของหนักมาก หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อมากเกินไป จะทำให้เกิดอันตรายได้
- อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพเบื้องต้น ทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ กินน้ำสะอาด และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติใด ๆ ไม่ควรปล่อยไว้ แต่ควรพบแพทย์ทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง : ครรภ์ 26 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 25 สัปดาห์
เข้าไปพบคุณหมอตามตารางนัดหมาย ซึ่งคุณหมอจะทำการตรวจวัดขนาดของมดลูก วัดความดันโลหิต และอาจตรวจปัสสาวะ เพื่อทดสอบหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมถึงตรวจดูว่าคุณแม่มีภาวะขาดโปรตีนหรือไม่
ในช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 คุณแม่ควรรักษาวินัยในการรับประทานอาหาร อย่าปล่อยให้ความอยากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์เข้าครอบงำจิตใจให้มากนัก ควรปรึกษาหมอเกี่ยวกับสัดส่วนของการเพิ่มน้ำหนักของว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์ มีเส้นใย และโปรตีนสูง พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้อาหารที่ไม่มีประโยชน์อย่างป๊อปคอร์น หากคุณกังวลเรื่องน้ำหนัก ให้หากิจกรรมทำระหว่างวัน อย่างการออกกำลังกายเบา ๆ เดินเล่นในสวนสาธารณะ หรือโยคะ เป็นต้น
ผู้หญิงตั้งครรภ์ 50 % เป็นริดสีดวงระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เส้นเลือดบริเวณทวารหนักบวม มีอาการคัด และเจ็บ ริดสีดวงเกิดจากเลือดไปเลี้ยงบริเวณทวารหนักมากขึ้น เวลาตั้งครรภ์ และการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดริดสีดวง ดังนั้นคุณจึงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำให้มากเพื่อป้องกันการเกิดริดสีดวงค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง การตรวจโรคของ คนท้องแต่ละไตรมาส ฝากครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง
To Do List คุณแม่ท้อง แต่ละไตรมาส เตรียมตัวอย่างไรเมื่อรู้ว่าท้อง วิธีดูแลตัวเองตอนตั้งครรภ์
ที่มา : whattoexpect, mamastory