ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย? มันคือความทรมานที่แสนจะเกินความบรรยาย เมื่ออาการตะคริวเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว บางคนนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนอนอยู่นิ่ง ๆ ก็ต้องเด้งตัวขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการตะคริว

 

ตะคริว หรือ Cramp หรือ Muscle Cramp คือการที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเองกระทันหัน จนทำให้เกิดเป็นลูก ๆ และมีอาการเจ็บปวด ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อนั้น เมื่อยล้าจากการทำงาน หรืออาจจะมีอาการบาดเจ็บจากการถูกกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำต่อกล้ามเนื้อนั้น ๆ แล้ว ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย? หรือทำให้อาการดีขึ้นได้บ้างนะ

 

 

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อยมีส่วนไหนบ้าง

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กล้ามเนื้อน่อง (Calf Muscles หรือ Gastro – Soleus Muscles)
  • กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (Quadriceps และ Hamstring Muscles)
  • กล้ามเนื้อบริเวณหลัง (Back Muscles)

 

 

สาเหตุที่ทำให้เป็นตะคริว

1. ใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุหลัก ๆ ของการเป็นตะคริว มักจะเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ มาก เกินกว่าที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ จะรับไหว เช่น การวิ่ง การออกกำลังกาย ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวบริเวณขา การยกของหนัก ๆ รวมไปถึง กิจกรรมที่ต้องยืน หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่ได้มีการยืด หรือคลายกล้ามเนื้อเลย จึงเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ มีการหดตัวกลายเป็นโรคตะคริวได้

 

2. ขาดเกลือแร่

หลายคนอาจจะรู้ว่า เกลือแร่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนก็ไม่รู้ว่า เกลือแร่มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ก็ขอบอกเลยว่า เกลือแร่มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ถ้าหากว่าเราขาดแร่ธาตุเหล่านี้ จากการออกกำลังกายอย่างหนัก การเป็นโรคท้องเสีย ก็มีผลที่จะทำให้เป็นตะคริวได้ด้วยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. มวลกล้ามเนื้อลดลง

การที่มวลกล้ามเนื้อ ของร่างกายหดตัวลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก การมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง เป็นเหตุให้ร่างกายซูบผอม มวลกล้ามเนื้อก็จะสูญเสียไป จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวลง

 

4. อายุมากขึ้น

เมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมทั้งกล้ามเนื้อ ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง จึงทำให้มีปัญหาสุขภาพมากมายตามมา และเป็นปัญหาคุกคามผู้ที่อยู่ในช่วงวัยนี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งการเป็นตะคริวที่มักจะพบได้บ่อยกว่าวัยอื่น ๆ (ในกรณีที่ไม่ได้มีพฤติกรรมทำลายใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไปเหมือนกัน) บางครั้งอาจะพบว่าการเป็นตะคริวเพียงหนึ่งครั้งในผู้สูงอายุ สามารถกินเวลาได้เป็นชั่วโมง

 

5. ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ

วันทั้งวันไม่ดื่มน้ำเลย หรือดื่มน้ำน้อยมาก ๆ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อก็จะขาดน้ำเช่นกัน จึงทำให้เกิดการหดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ ยิ่งถ้าหากอากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นหนาวอย่างรวดเร็ว ก็จะพบการเป็นตะคริวบ่อยยิ่งขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ตะคริวประเภทที่มีสาเหตุร่วมด้วย

ตะคริวประเภทนี้สามารถระบุสาเหตุของการเป็นตะคริวได้ ได้แก่

  • การออกกำลังกาย ซึ่งตะคริวมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังพักหลังจากการออกกำลังกาย
  • ภาวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ
  • โรคตับ หากตับทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดสารพิษไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระตุกหรือหดเกร็งตัว
  • โรคไต อาจทำให้มีเกลือแร่บางชนิดต่ำ และส่งผลให้มีตะคริวได้
  • ภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม

 

 

  • โรคที่ทำให้มีภาวะแคลเซียมต่ำ เช่น บกพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์
  • การติดเชื้อ เกิดจาดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น บาดทะยัก (Tetanus) ซึ่งทำให้เกิดตะคริวและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ในบางรายที่มีสารพิษ (Poisonous) ในเลือด เช่น ตะกั่วหรือปรอท
  • ในบางรายที่มีภาวะขาดน้ำก็สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้
  • ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดตะคริวได้ในบางราย ได้แก่
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ซึ่งจะขับของเหลวออกจากร่างกายและใช้เพื่อรักษาโรคหรือภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวายและโรคเกี่ยวกับไตบางประเภท

 

 

  • กลุ่มยาสแตติน (Statins) ใช้รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ยากรดนิโคตินิก (Nicotinic Acid) รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • ยาราโลซิฟีน (Raloxifene) ใช้ในการป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง
  • ยาไนเฟดิปีน (Nifedipine) ที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บหน้าอก (Angina) หรือโรคโรคเรเนาด์ (Raynaud’s Phenomenon)

 

 

ป้องกันตะคริวได้อย่างไร?

ผู้ที่มีปัญหาเรื่องตะคริว ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทราบสาเหตุ แม้ว่าจะไปพบแพทย์แล้วก็ตาม แพทย์ไม่สามารถบอกคนไข้ได้ว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร คงบอกได้รวม ๆ ว่าควรระมัดระวังอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวอีกมากกว่า โดยมีข้อแนะนำดังนี้

 

  • พยายามออกกำลังกาย และหมั่นฝึกซ้อมให้สม่ำเสมอ

เพื่อเพิ่ม Physical Fitness โดยภาพรวม และต้องพยายามเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว เพื่อให้มี Muscular Fitness เป็นอย่างดีด้วย เพราะการมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการล้า (Fatigue) ก็เกิดช้าลง โอกาสเกิดตะคริวก็น้อยลงไปด้วย

 

 

  • Warm – up

 

การอบอุ่นร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ (Muscle Stretching) จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ก็จะมีการหดเกร็งตัว มีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่จะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาต้องให้เวลากับการ Warm – up ให้เพียงพอ รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อด้วย

 

 

  • Hydration

การทำให้ร่างกายชุ่มชื่นด้วยการรับประทานน้ำให้เพียงพอ ดูแลร่างกายไม่ให้มีภาวะขาดน้ำที่เรียกว่า Dehydration โดยเฉพาะคนที่ต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต้องเตรียมความพร้อม โดยสังเกตที่สีของน้ำปัสสาวะ ถ้าหากมีสีค่อนข้างเหลืองแสดงว่าน้ำในร่างกายมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น การรับประทานน้ำก่อนการออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง ประมาณ 100 ซีซีขึ้นไป โดยค่อย ๆ จิบไปเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ และเวลาออกกำลังกายมีเหงื่อออกมาก็ต้องมีการชดเชยระหว่างเล่นกีฬาไปด้วย เพราะขาดน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้เกิด “Heat Cramp” ได้

 

 

  • การแต่งตัว

ผู้ที่เคยมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเป็นตะคริวโดยเฉพาะระหว่างกล้ามเนื้อน่อง ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ยาวจนถึงใต้ข้อเข่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงเท้าที่ยิ่งคับรัดแน่น จะยิ่งทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน่องลดน้อยลง ทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย

 

 

วิธีรักษาเบื้องต้น

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะหดเกร็ง ดังนั้นต้องค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อออก ให้มาอยู่ในความยาวปกติของกล้ามเนื้อนั้น ๆ และให้ยืดกล้ามเนื้อนั้น ๆ ให้ยาวขึ้น อยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1 – 2 นาที แล้วลองปล่อยดูอาการ ว่ายังหดเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นอีกให้ทำซ้ำได้อีกจนหายเกร็ง

เช่น ถ้ากล้ามเนื้อน่องเป็นตะคริว ให้นั่งลงเหยียดเข่าข้างนั้นออกให้ตรง และให้คนข้าง ๆ ช่วยจับกระดูกข้อเท้าข้างนั้น ดันขึ้นจนสุดเท่าที่จะทำได้ ก็สามารถแก้อาการปวด จากการเป็นตะคริวได้อย่างดีเยี่ยม หรือถ้าไม่มีใครอาจโน้มตัวไปแล้วดึงปลายเท้าเข้าหาลำตัวก็ได้

 

 

ข้อควรระวัง

บ่อยครั้ง ที่พบเห็นผู้ที่มีอาการของตะคริว แล้วมีการบีบนวด บางครั้งทำให้เกิดการเกร็งรุนแรงมากขึ้น บางคน มาช่วยกระดกข้อเท้า แต่ไม่ค้างเอาไว้ กระดกขึ้นลงเป็นแบบกระตุก ซึ่งไม่ส่งผลดีกับกล้ามเนื้อเลยค่ะ

 

ขอให้จำไว้เลยว่า กระดกข้อเท้าขึ้นลงแล้วค้างเอาไว้ 1 – 2 นาที จนอาการเกร็ง และปวดหายไป ถ้าจะใช้การบีบนวดภายหลังหายปวดแล้ว ขอให้ใช้วิธีบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปที่น่องจนถึงข้อพับไปในทิศทางเดียว เพื่อให้ทิศทางการไหลกลับของเลือดดำที่ไปยังหัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้นจะมีส่วนช่วยได้

 

 

ใครที่ชอบเป็นตะคริวบ่อย ๆ จนรู้สึกหงุดหงิดเป็นประจำต้องดูเลยว่า เกิดจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ทำเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายโดยไม่ยืดกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายหนักแต่ไม่ยอมดื่มเกลือแร่ทดแทน เป็นต้น

 

 

ที่มา : bangkokhospital , pobpad

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

แม่ท้องเป็นตะคริวแทบทุกคืน สามีช่วยยังไงดี

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana