ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

คุณแม่คนใดที่ต้องผ่าคลอดหรือคุณหมอแนะนำให้ผ่าคลอดก็ตาม มาดูกันค่ะว่า แผลผ่าคลอดนั้นมีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร รวมถึงการดูแลรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผ่าตัดคลอด, แผลผ่าคลอด, การดูแลแผลผ่าคลอด

ผ่าตัดคลอด, แผลผ่าคลอด, การดูแลแผลผ่าคลอด

ลักษณะของแผลผ่าคลอด

ผศ. นพ. เมธาพันธ์ กิจพรธีรนันท์ สูตินรีแพทย์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  กล่าวถึงลักษณะของแผลผ่าตัดคลอดไว้ว่า

1.การผ่าตัดแนวตั้ง

ปกติการผ่าคลอด จะต้องผ่าลงไปถึง 7 ชั้น โดยผ่าตัดเนื้อผ่านชั้นผิวหนัง จากนั้นก็ลงไปเจอไขมันใต้ผิวหนัง ตามด้วยเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มช่องท้อง ผนังเยื่อหุ้มมดลูก และกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งเป็นชั้นสุดท้าย การผ่าตัดแนวตั้งจะผ่าจากใต้สะดือลงมาถึงช่วงกลางหัวหน่าว ความยาวแผลประมาณ 10 เซนติเมตร การลงแผลแนวนี้จะผ่านเนื้อเยื่อหลายชั้น จนสามารถเข้าช่องท้องได้ง่าย การลงแผลแนวตั้งจะช่วยแหวกกล้ามเนื้อได้โดยไม่ฉีกขาด

ข้อดี

  • เป็นแนวแผลมาตรฐานสามารถผ่าตัดอวัยวะอื่นในช่องท้องได้ด้วย
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดเพื่อเข้าสู่ช่องท้องได้เร็วกว่า เหมาะสมในรายที่ต้องการความเร่งด่วนในการคลอด
  • สามารถขยายแผลได้ง่ายหากมีกรณีจำเป็น
  • ผ่าตัดได้ง่ายสะดวกกว่า
  • สามารถช่วยคลอดทารกได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะกรณีที่ทารกอยู่ผิดท่าหรือตัวใหญ่กว่าปกติ
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดน้อยกว่าเช่นก้อนเลือดในผนังหน้าท้อง

ข้อเสีย

  • เจ็บแผลผ่าตัดมากกว่าเนื่องจากมีบาดแผลในแนวตั้ง ทำให้เวลาลุกขยับตัวยาก
  • ฟื้นตัวช้ากว่า
  • มีแผลเป็นมากกว่า
  • เห็นรอยแผลได้ชัดเจนไม่สามารถใส่เสื้อเปิดพุงได้

2.การผ่าคลอดแนวนอน หรือบิกินีไลน์

เมื่อเทียบกับแบบแรกแล้วจะดีกว่าตรงที่ แผลเป็นน้อยกว่า เจ็บน้อยกว่า เนื่องจาก หน้าท้องของแม่ท้องจะมีความหย่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น แพทย์ก็จะลงแผลแนวนอนเพื่อเปิดผิวหนังเข้าไปข้างใน เมื่อถึงบริเวณชั้นของกล้ามเนื้อ ก็จะเปลี่ยนไปลงแนวตั้งเหมือนปกติ วิธีนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ช้ำ และแผลบริเวณผิวหนังสวยกว่าแบบแนวตั้ง

ข้อดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เจ็บแผลผ่าตัดน้อยกว่าเนื่องจากมีบาดแผลแนวนอนตามรอยพับของหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่าเวลาขยับลุก
  • มีแผลเป็นน้อยกว่าเพราะลงมีดตามแนวของรอยพับผิวหนัง
  • สามารถปิดบังแผลได้ดีในกรณีที่ใส่เสื้อเปิดพุง

ข้อเสีย

  • ใช้เวลาในการผ่าตัดเข้าสู่ช่องท้องนานกว่า เหมาะสมกับการผ่าตัดคลอดที่ไม่เร่งด่วนมาก
  • ผ่าตัดได้ยากกว่าโดยเฉพาะกรณีที่มีพังผืดในช่องท้องร่วมด้วย
  • ช่วยคลอดทารกได้ยากกว่า เนื่องจากรอยแผลอยู่ต่ำ เพิ่มการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดศีรษะทารก
  • หากมีการผ่าตัดอื่นในช่องท้องร่วมด้วยจะทำได้ยากกว่า

จะเจ็บแผลผ่าคลอดนานหรือไม่

หลังผ่าตัดคลอด วันที่ 1 – 2 จะมีอาการเจ็บแผลและปวดมดลูกที่มีการหดรัดตัว และอาจจะรู้สึกปวดมากหน่อย เวลาที่ปวดมากถ้าให้แจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอยาระงับปวด พอวันที่ 3 ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวตัวได้เหมือนกับคุณแม่ที่คลอดทางช่องคลอดปกติ ส่วนอาการปวดจะต่อเนื่องไปถึงเมื่อไรนั้นมีความแตกต่างของแต่ละคน   หลังจากคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ อาการปวดอย่างรุนแรงก็จะหายไปและดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังจากนั้นคุณแม่อาจจะรู้สึกคันที่แผลหรือวันที่สภาพอากาศไม่ดีอาจจะรู้สึกเจ็บแปลบๆ ก็ได้

ระยะเวลาที่แผลจะหาย

คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดโดยส่วนใหญ่ จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 3 วัน แต่ใช้เวลาประมาณ 6  สัปดาห์เพื่อให้รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดหายดี ดังนั้น คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะใช้เวลาประมาณ  2 – 4  สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานเข้าด้วยกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน อย่างไรก็ตาม แผลเย็บจะค่อยๆ สมานเข้าด้วยกันซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ   สิ่งสำคัญคือขอให้คุณแม่ดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี เพื่อให้ร่างกายสมานแผลเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา เช่น ไม่เกิดการติดเชื้อ

อ่านต่อหน้าถัดไปได้เลยจ๊า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

1. หลังจากที่คุณหมอเปิดแผลผ่าคลอดแล้ว แผลสามารถถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ  7  วัน รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอด และป้องกันการติดเชื้อ

2. ไม่ยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากจนเกินไป และควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะอากาศร้อนจะทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นได้ค่ะ

3. การขยับตัวมากๆ จะไม่ส่งผลกระทบกับแผลหากการขยับนั้นไม่ทำให้แผลมีการยืดขยาย สังเกตง่าย ๆ คือ ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ หากเจ็บหรือรู้สึกตึง ๆ แสดงว่า แผลมีการยืดขยายออกแล้ว

4. การทาครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินอี ก็สามารถช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ให้นมลูกอยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าครีมที่ทาจะส่งผลต่อน้ำนม เพราะการทายาเป็นเพียงการใช้ยาภายนอก และเฉพาะที่ ไม่เหมือนการกินที่ตัวยาจะแทรกซึมไปทั่วร่างกาย

5. ในช่วง 3 เดือนแรก : ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นคีลอยด์ คือ มีลักษณะหนา นูน สามารถป้องกันได้โดยไม่ยกของหนัก หรือยืดเหยียดแผลมากจนแผลตึงเกินไป การยืดเหยียดจนแผลตึงทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะหลุด จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด

คุณหมอฝากบอก  : ความเชื่อ VS ความจริง

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหลังผ่าคลอด ห้ามกินไข่ นม ข้าวเหนียว เพราะจะทำให้แผลหายช้า ถือเป็นความเชื่อที่ผิด ความจริงแล้วสามารถกินได้ทุกอย่าง เนื่องจาก ร่างกายสึกหรอจากการผ่าตัด การกินไข่ นม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารมีโปรตีนจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อยอีกด้วย

คุณหมอไขข้อสงสัย : ผ่าคลอดลูกคนแรกแล้วคนที่สองต้องผ่าอีกหรือไม่

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  กล่าวถึง เรื่องนี้ว่า

ภายหลังการผ่าตัดคลอด มดลูกของคุณแม่จะมีแผลที่เกิดจากการผ่าตัดซึ่งจะทำให้มดลูกไม่แข็งแรง คล้ายแก้วที่เคยร้าวและใช้กาวเชื่อมติดไว้ เมื่อมีการตั้งท้องครั้งใหม่มดลูกของคุณแม่อาจแตกได้ตอนใกล้ ๆ คลอดหรือตอน เจ็บท้องคลอด  ดังนั้น คุณหมอส่วนมากจึงมักแนะนำให้คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้วรับการ ผ่าตัดคลอดซ้ำ โดยการผ่าตัดครั้งหลังนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้คุณแม่เจ็บท้องก่อน

มีคุณแม่บางรายที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน  และคุณหมอแนะนำให้คลอดทางช่องคลอดได้ รายเช่นนี้คุณหมอต้องพิจารณาปัจจัย ต่าง ๆ อย่างละเอียดว่า   ต้องไม่เสี่ยงต่อการแตกของมดลูก เช่น ลูกต้องตัวไม่ใหญ่มาก แม่มีแรงเบ่งดี  เป็นต้น ในขณะดูแลคุณแม่ตอนเจ็บท้องคลอดก็ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถดูแลคุณแม่อย่างดี มีอุปกรณ์ดูแลพร้อมเพรียงและถ้าจำเป็นสามารถผ่าตัดคลอดได้ทันทีเช่นกัน

ได้ทราบวิธี ดูแลแผลผ่าคลอดกันแล้วนะคะ  รวมทั้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่คิดว่าต้องห้ามอย่างไข่  นม  คุณหมอบอกว่าสามารถทานได้ค่ะ   แต่เชื่อว่าความกังวลเรื่องแผลผ่าคลอดของคุณแม่  คงไม่เท่ากับความชื่นใจและยินดีที่เจ้าตัวน้อยออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยแน่นอน  เป็นกำลังให้คุณแม่ทุกคนค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.feelmom.com

https://www.pigeonlittlemomentsclub.com

https://oranan.blogspot.com

https://www.mamypoko.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ครอบครัวสู้ เมื่อลูกประสบภาวะหายใจเร็วชั่วคราวหลังผ่าคลอด

เพราะอะไร “การผ่าคลอด” จึงทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา