เมื่อถึงเวลาเด็ก ๆ ทุกคนในห้องต้องออกกำลังกาย เพลงออกกําลังกายก็ดังขึ้น แต่การออกกำลังกายของเด็กๆ ที่นี่ไม่ได้ทำเพียงแค่กระโดดตบหรือบิดเอว แต่เป็นการออกกำลังกายด้วยการทำกิจกรรมเข้าจังหวะ แต่ท่าทางที่คิดนี่สิ เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาจริงๆ เรามาดูท่าเต้นออกกำลังกาย และ เพลงออกกำลังกาย อนุบาล น่ารัก ๆ จากเด็ก ๆ กันค่ะ
เพลงออกกําลังกาย อนุบาล เด็กๆ เตรียมตัวๆ อย่าเพิ่งเบื่อกัน วันนี้เราจะมาออกกำลังกายกัน โดยใช้อริยาบถต่างๆในชีวิตประจำวันนี่แหละ มาประยุกต์ให้เป็นท่าทาง เพลง ออกกําลังกาย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เด็กน้อยน้ำตานองเมื่อได้กินแมคโดนัลด์อีกครั้ง กอดนักเก็ตทั้งน้ำตาน่าเอ็นดูเสียจริง
เพลง ออกกําลังกาย ไม่เป็นไรจ้ะเด็กๆ มาๆ เดี๋ยวคุณครูออกกำลังกายเป็นเพื่อน
คุณพ่อคุณแม่อยากรู้แล้วใช่ไหมละคะที่เกริ่นไว้ว่าจะมีท่าอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้แล้วชมสามารถชมคลิปได้ที่ด้านล่างเลยค่ะก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่อยู่ในวัยกำลังเตาะแตะกันก่อน เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่ลูก ๆ เริ่มที่จะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเองได้แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขายังไม่สามารถที่จะควบคุมได้นั่นก็คือ ความดังของเสียง และนั่นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับลูก ๆ ดังนั้น วันนี้เรามีวิธีการรับมือกับลูก ๆ เวลาที่พวกเขาร้องตะโกนเสียงดังมาฝากค่ะ
1. ก่อนอื่นสำรวจสภาพแวดล้อมของเราเองก่อนว่า เปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดังอยู่หรือเปล่า เพราะสาเหตุหนึ่งที่ลูกชอบร้องตะโกนหรือพูดเสียงดังนั้น ก็มาจากการที่เราเปิดสื่อต่าง ๆ เสียงดัง โดยลูกอาจจะพูดธรรมดาแล้ว แต่เราอาจจะไม่ได้ยิน ลูกจึงจำเป็นต้องตะโกนก็เป็นได้ เมื่อสำรวจดูแล้วว่า เราเปิดเสียงดังปกติ แต่ลูกยังคงร้องตะโกนอยู่ สิ่งแรกที่เราไม่ควรทำเลยก็คือ การตะโกนใส่หน้าลูกให้หยุดร้องตะโกนนั่นเอง
2. เบี่ยงเบนความสนใจ เวลาที่ลูกกำลังทำพายุเสียงที่ดังกระหน่ำอยู่ หากทำอย่างไรพายุก็ยังไม่หยุด สิ่งที่เราทำได้ก็คือ การเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ยกตัวอย่างเช่น การเปิดเพลง และชวนลูกร้องเพลงหรือเต้นไปด้วยกัน หรือไม่ก็ชวนลูกทำเสียงลอกเลียนสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น วิธีการเหล่านี้นี่แหละ ที่จะช่วยให้ลูกลืมช่วงเวลานั้น และสนุกสนานไปกับการทำสิ่งอื่นแทน
3. สอนให้ลูกรู้จักวิธีการใช้เสียง การสอนให้ลูก ๆ รู้ว่า เวลาไหนควรทำเสียงดัง และที่ไหนบ้างที่ควรทำหรือไม่ควรทำนั้น ย่อมเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ เราอาจจะสอนให้ลูกรู้ว่า เวลาที่หนูอยู่ในบ้านหรือไปข้างนอก พูดกับแม่ด้วยน้ำเสียงปกติแม่ก็ได้ยินแล้วละจ้ะ แต่ถ้าหนูอยากตะโกนร้องเสียงดัง หนูควรไปตะโกนเล่นที่สนามเด็กเล่นน่าจะสนุกกว่านะจ้ะ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : จากหมาน้อยที่เคยถูกทิ้ง ไม่ไว้ใจใคร จนได้มาเจอกับเด็กน้อยคนนี้ ทั้งคนทั้งหมาน่ารักจริงๆ
วิธีกระตุ้นให้ทารกเต้น เด็กๆ น่ารักมาก
วิธีกระตุ้นให้ทารกเต้น เป็นการกระตุ้นการเคลื่อนไหวทางร่างกายของทารกรูปแบบหนึ่ง กำลังเป็นที่นิยมไต้หวันเป็นอย่างมาก ทำให้ชาวเน็ตต่างพากันโพสต์คลิปวิดีโอบนโลกโซเชียลถึงความน่ารักของทารกน้อย เพื่อต้องการโชว์ให้ทุกคนได้เห็นว่า ถ้าทำแบบนี้กับลูกน้อยแล้วลูกน้อยจะมีการเคลื่อนไหวอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ใครเห็นก็ต้องตกหลุมรัก เพราะเวลาที่เด็กๆ เคลื่อนไหวเหมือนกับกำลังเต้นอยู่เป็นภาพที่น่ารักมากๆ จริงๆ นะ
เพลงออกกําลังกาย อนุบาล น่ารัก ๆ วิธีกระตุ้นให้ทารกเต้น
คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูคลิปกันบ้างดีกว่าค่ะ ในคลิปจะเป็นภาพที่เด็กเล็กส่ายก้นไปซ้ายทีขวาที เป็นจังหวะเพลง แน่นอนว่าคนที่ทำให้ลูกเต้นตามทำนองได้ก็เพราะได้รับการกระตุ้นจากพ่อแม่นั่นเอง!
เมื่อมีคนบนโลกโซเชียลเห็นคลิปก็ต่างพากันทำตาม คุณพ่อคุณแม่จะลองเล่นกับลูก เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวดูก็ได้นะคะ
เล่นกับลูกแบบนี้จะเป็นอันตรายไหม
การเคลื่อนไหวแบบนี้เปรียบเสมือนปฎิกิริยาสะท้อนกลับ (Galant reflex) เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ได้รับการตอบสนองจากการกระตุ้นบางอย่าง โดยถูกสั่งการมาจากสมองเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกาย และการป้องกันจากอันตรายของทารก ปฎิกิริยาแบบนี้จะสะท้อนเมื่อมีการกระตุ้นจากทางด้านข้างของกระดูกสันหลังของทารก ทำให้ทารกกระตุกส่วนสะโพกขึ้นเวลาที่ใครไปสัมผัส ทำให้เหมือนกับทารกกำลังเต้นอยู่นั้นเอง จะเกิดขึ้นในช่วงแรกเกิดจนถึงประมาณ 4-6 เดือน
นักวิจัยบางคนมองว่า การออกกำลังกายหรือการกระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นสิ่งสำคัญสำคัญทารกแรกเกิดอย่างมาก เนื่องจากพวกเขาต้องการที่จะพัฒนาระบบประสาทของพวกเขาให้มีความสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้คุณแม่ก็ไม่ควรที่จะหักโหมกับลูกมากเกินไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน ลูกพัฒนาการช้ามีลักษณะอย่างไร เช็คเลย!
ของเล่นฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก วิธีฝึกกล้ามเนื้อมืออนุบาล แม่ทำได้ง่ายเวอร์ (มีคลิป)
โรคที่เกิดขึ้นในวัยทารก โรคยอดฮิตในหมู่เด็กมีอะไรบ้าง พ่อแม่จะรู้ได้ไงว่าลูกป่วย
ขอบคุณที่มา : เถกิง สมทรัพย์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!