ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังมากหลังจากที่มีคุณแม่ชาวโคโลราโดได้หยดน้ำนมของตัวเองผ่านกล้อมจุลทรรศน์ !!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่องดูกันชัด ๆ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

คุณแม่ท่านนี้มีนามว่า Jansen Howard  พ่อของเธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจุลวิทยา และเขาก็จะมีกล้องจุลทรรศน์อยู่ และด้วยความที่เธออยากรู้ เธอจึงนำน้ำนมแม่ของตัวเธอเอง หยดลงไปบนกระจก และดูภาพนั้นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งภายหลังจากที่เธอลงผ่านเฟสบุ๊คตัวเอง ก็มีผู้คนแห่เข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก มาส่องดูกันชัด ๆ ไปพร้อมกันเธอ น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์ และที่เธอเห็นนั้น ทำให้เธอยิ่งมั่นใจว่า “น้ำนมแม่” น้ำ คือสุดยอดสิ่งมหัศจรรย์ และวิเศษที่สุดจริง ๆ และเพื่อให้ทุกคนได้เห็น เธอจึงได้ถ่ายภาพนี้ใต้กล้องดังกล่าว จะเป็นอย่างไรไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

(คลิป) น้ำนมแม่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

คุณค่าของน้ำนมแม่

น้ำนมแม่ จึงเป็นอาหารที่ดี และมีคุณค่าสำหรับลูกน้อย ซึ่งจะได้รับสารอาหารทุกชนิดที่จำเป็นต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ รวมทั้งป้องกันคุ้มครองทารกจากการเจ็บป่วย และลดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นอัตราส่วนใหญ่ของการตายของทารกในขวบปีแรกทั้งหมด โดยศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยให้ข้อมูลไว้ว่า ร้อยละ 11 – 13 ของการตายทั้งหมดในเด็กต่ำกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้โดยการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และอีกร้อยละ 6 ของการตายทั้งหมดในเด็กต่ำกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้จากการให้อาหารทารกตามวัยร่วมกับนมแม่ ขณะที่ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายจากท้องเสีย 7 เท่า และปอดบวม 5 เท่าเมื่อเทียบกับทารกที่ได้กินนมแม่ล้วน ๆ ใน 6 เดือนแรก ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” จึงเป็นวิธีการเดียวที่มีประสิทธิผลที่สุดในการป้องกันการตายของทารก

ไขข้อข้องใจ “น้ำนมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

สำหรับ นมแม่ นั้นร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำนมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง โดยการกระตุ้นของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ ฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นก็จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรก คอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งหรือมีน้ำนมไหลออกมา แต่เมื่อเกิดการคลอดแล้ว ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงทำให้กลไกการยั้บยั้งน้ำนมหายไป ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรแลคตินที่คอยกระตุ้นเด่นชัดขึ้น เมื่อทารกได้ดูดนมก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนตัวนี้ให้สูงขึ้นอีก การสร้างน้ำนมก็จะมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการดูดนมยังช่วยกระตุ้นฮอร์โมนออกซีโตซินที่ช่วยในการหลั่งหรือทำให้เกิดการไหลของน้ำนม ทำให้ลูกได้รับน้ำนมและดูดง่ายขึ้น ยิ่งช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จึงควรให้ลูกน้อยได้ดูดนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นนมแม่ให้มีไหลเพิ่มมากขึ้น

โดยปกติหลังคลอด น้ำนมแม่จะเริ่มมีภายใน  24 – 48 ชั่วโมง โดยในระยะแรกเมื่อลูกเริ่มดูดน้ำนมจะเป็น น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งจะเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมาก เพราะให้ภูมิคุ้มกันสูง และประมาณ 10 วันหลังคลอดจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่ปกติ ซึ่งในน้ำนมแม่ก็ยังมีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยเช่นกัน โดยจะมีไขมันที่ให้พลังงานในสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือ น้ำตาลแลคโตส ที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ดี ซึ่งทารกสามารถนำสารอาหารนี้ไปใช้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณแม่ที่มาสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลายคนอาจจะประสบปัญหาที่ว่าน้ำนมไม่ได้ไหลออกมาง่ายอย่างที่คิด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการมาช้าของน้ำนม อาจเกิดจาก

  • คุณแม่ท้องแรกอาจจะมีน้ำนมช้ากว่าท้องหลัง
  • คุณแม่ที่มีระยะเบ่งคลอดที่ยาวนาน หรือมีภาวะเครียดระหว่างการคลอดจะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้าด้วย
  • คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดจะมีน้ำนมมาช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ
  • หัวนมแบน หรือหัวนมบอด
  • คุณแม่ที่อ้วนหรือมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
  • การที่มีเศษของรกค้างอยู่ในมดลูก
  • การกระตุ้นให้ลูกดูดนม หรือปั๊มนมห่างเกินไป ก็จะส่งผลให้น้ำนมมาช้าได้

วิธีเก็บน้ำนมแม่

เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ได้อย่างไม่ขาดช่วง คุณแม่ต้องเก็บรักษาน้ำนมตามระยะเวลา และการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

วิธีเก็บน้ำนมแม่ : หลังจากคุณแม่ปั๊มนมแล้ว คุณแม่สามารถเก็บนมไว้ได้นานเลยครับ การเก็บรักษานมแม่นั้น หากต้องการเก็บไว้ในระยะสั้น ๆ  ก็เก็บไว้โดยการนำไปแช่ตู้เย็น โดยคุณแม่สามารถเก็บนมไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเก็บน้ำนมที่มาพร้อมกับเครื่องปั๊มนม หรืออาจจะแบ่งใส่ขวดนม โดยนมที่เก็บในตู้เย็นนั้นมีอายุประมาณ 8 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การปั๊มนมเหมาะกับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน โดยคุณแม่สามารถปั๊มนมได้ที่ทำงาน แล้วเก็บในตู้เย็น แล้วใส่ถุงเย็นที่มีน้ำแข็งให้ความเย็นกลับบ้านหลังเลิกงาน พร้อมให้เจ้าตัวเล็กทานได้ทันทีที่บ้านครับ

นมแม่เก็บในช่องแช่แข็งได้ถึง 6 เดือน

นมแม่สามารถเก็บในช่องแช่แข็งได้ถึง 6 เดือน แต่จะคงคุณภาพ และสารอาหารได้อย่างสมบูรณ์ในระยะ 3 เดือน หากต้องการแช่แข็ง คุณแม่สามารถนำนมแม่ใส่ถุงใส่น้ำนม (ซึ่งส่วนใหญ่จะติดอยู่กับเครื่องปั๊มนม) จากนั้นปิดปากถุงให้สนิท ถุงใส่นมนี้สามารถวางซ้อนกันได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่ประหยัดเนื้อที่ในช่องแช่แข็ง

สำหรับตำแหน่งที่ควรเก็บนมในช่องแช่แข็งคือบริเวณกลางช่องแข็ง เพราะมีอุณหภูมิเฉลี่ยคงที่มากที่สุด และนมที่เก็บอยู่ชั้นในสุดหรือชั้นนอกสุดเสี่ยงต่อการละลายมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะซ้อนถุงนมได้ แต่ก็ไม่ควรจะซ้อนสูงจนติดเพดานช่องแช่แข็ง ควรเว้นที่ว่างจากเพดานอย่างน้อย 1 นิ้ว และที่สำคัญอย่าลืมเขียนวันที่ลงบนถุงด้วยนะครับ เพราะหลายครั้ง คุณแม่จะลืมและก็ต้องทิ้งนมไป เพราะไม่แน่ใจว่าเก็บนมมานานเท่าไหร่แล้ว

_________________________________________________________________________________________

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : Huffington Post

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 เรื่องน่ารู้ของ “นมแม่” ที่ถูกอ่านมากที่สุดในปี 2016

แม่น้ำนมน้อย จะเพิ่มน้ำนมแม่ได้อย่างไร

อยากเป็นคุณพ่อต้องอ่าน 10 อาหารเพิ่มอสุจิ ยิ่งกินอสุจิยิ่งเยอะ

บทความโดย

Muninth