ชวนคุณแม่!!!มาทำความสะอาดทารกแรกเกิดให้ถูกวิธี
ทารกแรกเกิดตัวเล็กบอบบาง อ่อนปวกเปียก จะอุ้มจะจับแต่ละทีต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงเวลาทำความสะอาด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงจะอดกังวลไม่ได้ ยิ่งลูกสะดือยังไม่แห้งก็ยิ่งกังวลไปสารพัด มาดูกันค่ะว่า วิธีทำความสะอาดทารกแรกเกิดที่ถูกวิธีนั้นทำอย่างไร
1. ใบหน้าและศีรษะ
ใบหน้าและศีรษะบริเวณใดที่มีไขมันจับเป็นแผ่นขาว ๆ อยู่นั้น การทำความสะอาดโดยการใช้ baby oil เช็ดเบา ๆ บริเวณลำตัว ใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นและสบู่เด็กหรือครีมอาบน้ำ บิดหมาดแล้วเช็ดให้ทั่วตัวต้องระวังเช็ดอย่างเบามือที่สุดนะคะ แล้วชุบน้ำล้างสบู่ออก 2-3 ครั้ง เพื่อความแน่ใจในความสะอาดว่าไม่มีสบู่หลงเหลืออยู่
คุณแม่ควรสระผมให้ทารกได้วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมัน มะกอก เช็ดไขบริเวณหนังศีรษะและด้านหลังใบหู เพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดการหมักหมมของไขมันเด็ก โบราณเรียก “แผลชันนะตุ”
บทความแนะนำ วิธีสระผมเด็กอ่อน สำหรับพ่อแม่มือใหม่
2. หู
ให้ใช้สำลีหรือสำลีพันก้านจุ่มน้ำ เช็ดบริเวณรอบ ๆ ใบหูก็เพียงพอค่ะ ไม่ควรเช็ดเข้าไปในรูหูนะคะ
บทความแนะนำ แพทย์เตือน!! อย่าใช้คอตตอนบัดปั่นหูลูก
3. ตา
ไม่ต้องทำความสะอาดอะไรในดวงตา ร่างกายของทารกจะผลิตน้ำตาออกมาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เป็นกลไกธรรมชาติค่ะ การทำความสะอาดเพียงแค่ใช้สำลีก้อนหรือสำลีแผ่นจุ่มน้ำอุ่นบีบจนแห้งเช็ด ทำความสะอาดบริเวณดวงตา ด้วยการเช็ดจากหัวตาไปหางตาข้างขวา แล้วนำสำลีก้อนใหม่ชุบน้ำบิดแห้ง เช็ดตั้งแต่หัวตาไปหางตาด้านซ้าย เพียงเท่านี้ก็สะอาดแล้วค่ะ
4. จมูก
ถ้ามีน้ำมูกเปียก ๆ ตรงปลายจมูก อาจใช้สำลีพันก้านชุบน้ำอุ่นเช็ดในจมูกของลูก แต่ต้องระวังคุณแม่อย่าเช็ดให้ลึกนะคะเป็นอันตรายค่ะ
5. ปาก
ปากของทารกน้อยในระยะแรกนี้ไม่ต้องการการทำความสะอาด โดยเฉพาะถ้าดูดนมแม่ แต่ถ้าดูดนมผสมใช้ผ้าสะอาด หรือใช้ผ้าอ้อมผ้าของเจ้าหนูชุบน้ำบิดหมาดเช็ดคราบนมในปาก มิฉะนั้นอาจมีเชื้อราเกิดขึ้นซึ่งจะเห็นเป็นคราบขาวที่กระพุ้งแก้มและลิ้น
บทความแนะนำ ลูกอักเสบติดเชื้อเกือบช็อก เพราะโดนกวาดยา
อ่าน ชวนคุณแม่!!!มาทำความสะอาดทารกแรกเกิดให้ถูกวิธี (ต่อ) คลิกหน้าถัดไป
6. สะดือ
กว่าสะดือของเจ้าตัวน้อยจะหลุดมักจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ในระหว่างนี้ต้องคอยดูแลให้สะดือแห้ง และสะอาดอยู่เสมอจนกว่าจะหลุด ปล่อยให้สะดือของลูกถูกอากาศบ้าง จะได้แห้งและหลุดง่าย คุณแม่ควรหมั่นสังเกตสะดือลูกน้อยว่ามีเลือดหรือหนองหรือมีกลิ่นเหม็นรุนแรงให้พาไปพบคุณหมอทันทีอย่าปล่อยไว้อาจเกิดการติดเชื้อได้
การดูแลสะดือทารกแรกเกิด วิธีเช็ดสะดือที่ถูกต้อง
1. ล้างมือผู้เช็ดให้สะอาด
2. ใช้มืออีกข้างหนึ่งยกสายสะดือขึ้น แล้วจึงใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% พอชุ่มเช็ด รอบสะดือจากด้านในออกด้านนอก
3. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% อีกก้อนหนึ่งเช็ดจากโคนสะดือไปยังปลายสะดือ การเช็ดสะดือควรเช็ดทุกวันหลังอาบน้ำจนกว่าสะดือจะหลุด
7. ก้น
การดูแลรักษาความสะอาดของก้น คุณแม่ทำได้โดยรวบขาทั้งสองข้างของลูกยกขึ้น ใช้นิ้วคั่นระหว่างขาทั้งสองข้าง ใช้น้ำอุ่นและสบู่ทำความสะอาดบริเวณก้นของลูกโดยเช็ดจากบนลงล่างเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายค่ะ ซับก้นด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด เช็ดให้แห้งสนิท โดยเฉพาะร่องก้น ในเด็กเล็กไม่ควรทาแป้งเพราะฝุ่นแป้งเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจค่ะ
บทความแนะนำ อันตราย!!!ทัลคัมในแป้งฝุ่นเสี่ยงมะเร็งรังไข่
8. เจ้าจำปีของลูกชาย
จะสังเกตว่าเด็กทารกบางทีร้องไห้เวลาถ่ายปัสสาวะ เพราะบริเวณปลายจำปีจะเป็นปลายประสาทที่มีความไวมาก แม้แต่เจ้าหนูฉี่ออกมายังสะดุ้งตกใจ เมื่อโตขึ้นส่วนปลายจะค่อย ๆ เปิดออกและรูดไปทางด้านหลัง เพราะฉะนั้นเด็กบางคนเด็กผู้ชายบางคนก็ไม่จำเป็นต้องขลิบเพราะปลายเจ้าจำปีจะปิดเองในภายหลัง
วิธีทำความสะอาดเจ้าจำปี
1. ให้คุณแม่ขยับส่วนผิวหนังที่คลุมปลายเจ้าจำปีขึ้น-ลงแต่เพียงเบา
2. แล้ววักน้ำอุ่น ๆ ล้างเบา ๆ ให้สะอาด เพราะถ้าดูแลความสะอาดไม่ดีพอจะมีเมือกเหลืองๆ ซึ่งก็คือเหงื่อไคลสะสม อาจทำให้ลูกติดเชื้อไวรัสและมีอาการคันมากได้ค่ะ
บทความแนะนำ วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)
9. เจ้าจำปาของลูกสาว
หลังจากอาบน้ำแล้ว ให้ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดบริเวณอวัยวะเพศและแคมทั้งสองข้างให้สะอาด เมื่อแห้งดีแล้วจึงใส่ผ้าอ้อม สิ่งสำคัญห้ามโรยแป้งเพราะจะทำให้สะสมอุดตันอาจติดเชื้อโรคได้
บทความแนะนำ วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง (จิ๊มิลูกสาว)
ไม่ยากใช่ไหมคะสำหรับคำแนะนำในการดูแลทำความสะอาดทารกน้อย ค่อย ๆ ฝึกฝนไปคะ เรียกว่าเรียนรู้กันไปในแต่ละวันทีเดียว เดี๋ยวก็อยู่ตัว รู้จักรู้ใจกันดีไปเอง เป็นกำลังใจให้นะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ “คุณแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย” มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร ผู้เขียน
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พลังแห่งช่วงเวลาอาบน้ำของลูกเป็นมากกว่าการทำความสะอาด
สารสกัดจากธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับเด็กจำเป็นอย่างไร?