ฉันควรตรวจร่างกาย ก่อนการตั้งครรภ์ไหม? – เตรียมตัวก่อนมีลูกอย่างไรดี
สูตินรีแพทย์แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้หญิงสาวที่ต้องการมีบุตรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ การตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ในขั้นต้นสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งท้อง ผลการตรวจร่างกายยังสามารถช่วยป้องกันการแท้งบุตรหรือปัญหาเกี่ยวกับทารกในครรภ์สำหรับผู้หญิงที่ร่างกายไม่แข็งแรง สมบูรณ์ นอกจากนี้ ผลการตรวจร่างกายยังบอกข้อมูลมากมายที่สามารถช่วยให้คุณตั้งครรภ์อย่างแข็งแรงและช่วยให้ทราบปัญหาการตั้งครรภ์อื่น ๆ ได้ทันเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แทนที่จะใช้ความพยายามในการตั้งครรภ์เองเดือนแล้วเดือนเล่า มันจะดีกว่าไหมหากคุณจะมีคำตอบที่แน่น่อนตั้งแต่ต้น
ฉันควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ไหม?
การตรวจร่ายกายก่อนการตั้งครรภ์ทำอย่างไร
ก่อนอื่นสูตินรีแพทย์จะถามคุณเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานหรือไทรอยด์ซึ่งอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ สูตินรีแพทย์ของคุณจะถามคุณเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยอาการเจ็บป่วย การแท้งบุตร หรือการการผ่าตัด นอกจากนี้ คุณหมอก็จะถามคุณเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาในช่วงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงประวัติการกินและนิสัยการออกกำลังกายด้วย
การตรวจร่ายกายก่อนการตั้งครรภ์: การตรวจกระดูกเชิงกรานและการตรวจมะเร็งปากมดลูก
การตรวจร่างกายขั้นแรกเป็นการตรวจกระดูกเชิงกรานซึ่งจะบอกว่ามีการติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศหรือไม่ คุณหมออาจจะขอตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ปกติหรือไม่ ไม่มีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นการตรวจหาความผิดปกติช่องภายในมดลูก ชิ้นเนื้อจะถูกเก็บมาจากบริเวณปากมดลูก ถ้าเกิดมีข้อกังวลเกิดขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจหาไวรัสหูด (HPV)
การวางแผนการตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถคิดได้ล่วงหน้า โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสุขภาพของทั้งสองฝ่ายก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเวลบีแนะนำว่าควรตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์สัก 3 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ หากคุณพ่อคุณแม่แข็งแรงและมีสุขภาพดี ก็ย่อมมีโอกาสคลอดลูกที่แข็งแรงและมีสุขภาพดีเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีแพคเกจทั้งจากโรงพยาบาลและคลินิกออกมาให้เลือกมากมาย แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าเราควรตรวจอะไรบ้าง แต่ละอย่างตรวจไปทำไม วันนี้จะมาคลายความสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ
การซักประวัติ
จะเป็นการสอบถามทั่วไป หรือสอบถามถึงปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งคุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรสังเกตุสิ่งต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลเวลาไปพบแพทย์นะคะ ซึ่งสิ่งที่หมอจะซักถาม ได้แก่
- ประวัติการคุมกำเนิดการใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการตรวจมะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติเกี่ยวกับรอบประจำเดือน ซึ่งคุณแม่ที่วางแผนจะมีบุตรควรเริ่มจดบันทึกและสังเกตุอาการเหล่านี้ไว้จะช่วยทำให้เราทราบอายุครรภ์และวันคลอดได้ครับ
- ประวัติการเจ็บป่วยการรับประทานยา โรคประจำตัว รวมถึงการผ่าตัด การให้เลือด รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการอักเสบของช่องคลอด และผลการตรวจภายใน
- ประวัติทางสูติกรรมแพทย์จะสอบถามว่า เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ จำนวนการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การผ่าตัดทำคลอด การตั้งครรภ์แฝด การแท้งบุตร หรือให้กำเนิดเด็กพิการ คุณแม่ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม รวมถึงประวัติการรับประทานกรดโฟลิกด้วยครับ เพราะแพทย์จะได้วางแผนการดูแลคุณแม่ได้อย่างถูกต้อง
- ประวัติการฉีดวัคซีนเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจจะติดต่อไปยังทารกหรือไม่ เช่น โรคหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ ไข้สุกใส บาดทะยัก ฯลฯ
- ประวัติทางครอบครัวเป็นการสอบถามว่า มีใครเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือด ฯลฯ หรือไม่
- ประวัติการใช้ยาทั้งจากที่แพทย์สั่งหรือการซื้อยามารับประทานเอง รวมไปถึงการแพ้ยา เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการตั้งครรภ์
- ประวัติส่วนตัวเช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย สัตว์เลี้ยงในบ้าน, ประวัติการออกกำลังกาย ประวัติการทำฟันและการตรวจสุขภาพช่องปาก รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน การใช้ยาเสพติด ฯลฯ เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลต่อเด็กและให้คำแนะนำได้ ประวัติอื่น ๆ เช่น ประวัติการทำฟัน
การตรวจร่างกายทั่วไป
จะเป็นการตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งพ่อและแม่ โดยคุณหมอจะตรวจดูว่า มีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย อย่างโรคที่พบบ่อย ๆ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส แผลริมอ่อนและแข็ง ไวรัสตับอักเสบบี ส่วนโรคเอดส์ ถ้าคุณแม่ติดเชื้อจะมีโอกาสถ่ายทอดไปสู่ลูกได้มากถึงร้อยละ 20-30 (ถ้าได้รับยาระหว่างตั้งครรภ์ จะลดโอกาสการถ่ายทอดไปสู่ลูกน้อยกว่าร้อยละ 10) หากพ่อหรือแม่ติดเชื้อเอดส์ ก็ไม่ควรจะปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
การตรวจเช่นนี้จะตรวจทั่วไป คือ
- การวัดส่วนสูง
- ชั่งน้ำหนัก
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจระบบหายใจ
- ตรวจระบบหัวใจ
- ตรวจเต้านม
- ตรวจหน้าท้อง
- ตรวจภายใน (กรณีมีความหากจำเป็น)
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก
การเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอด
(ตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์)
คุณพ่อคุณแม่ควรได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีโอกาสตั้งครรภ์โดยที่ภาวะแม่ลูกกลุ่มเลือดไม่เข้ากันหรือไม่ หากเกิดภาวะนี้ขึ้น หมอจะได้ให้คำแนะนำเพื่อให้การตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปอย่างปลอดภัยได้ โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่หมอจะสั่งให้ตรวจก็ได้แก่
- หมู่เลือด ให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุ๊ปใด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
- ตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือด เพื่อประเมินสุขภาพทั่วไป
- ระดับน้ำตาลในเลือด
- ตรวจปัสสาวะ
- เอกซเรย์ปอด
- ตรวจความเข้ากันของเลือด Hemoglobin Tying เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงว่ามีความผิดปกติของ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือไม่ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมและเป็นโรคหนึ่งที่เป็นกันมาก ซึ่งหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ก็จะส่งผลกระทบเรื่องสุขภาพถึงลูก
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากพบว่ามีเชื้อแสดงว่าคุณเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด ถ้าหากไม่มีการป้องกันให้ดีอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อได้
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันหากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อยสามเดือน เพราะหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
- ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ หากพบเชื้อจะได้ป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่ลูก เช่น หัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส สำหรับการตรวจโรคทางพันธุกรรม หากพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างก็มีโรคทางพันธุกรรมแฝงอยู่ในตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกได้ 1 ใน 4 คน โดยจะมี 1 คนที่ปกติ มี 2 คนที่ปกติแต่มีโรคแฝง ส่วนอีก 1 คนนั้นจะผิดปกติหรือมีโรคปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ยิ่งถ้าพ่อแม่เป็นโรคเลือดธาลัสซีเมียทั้งคู่ หมอก็จะไม่แนะนำให้มีลูก
การตรวจภายใน
- เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวเป็นคุณแม่โดยจะเป็นการตรวจเพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ปกติดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจช่องคลอดเพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด และยังถือเป็นโอกาสในการตรวจมะเร็งปากมดลูกไปด้วย ส่วนคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนแล้วมักปวดท้องมาก มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกของเยื่อบุมดลูกซึ่งไปเจริญผิดที่ได้ครับ ควรรีบไปหาหมอเพื่อตรวจดู เพราะโรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากได้รับการรักษาแล้ว โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็มีมากขึ้นครับ
- สำหรับการตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิคุณพ่อก็สำคัญ เพราะหากเกิดความผิดปกติขึ้นมา จะได้รับคำแนะนำและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่าปล่อยให้ผ่านไปแล้วจนกลายเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก
การตรวจพิเศษอื่น ๆ
หลังจากที่ตรวจร่างกายและตรวจภายในไปแล้ว หากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติบางอย่าง ก็อาจจะต้องให้ตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ในช่องท้อง หรือส่องกล้องตรวจในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น
บทความอื่น ๆ ที่สนใจ
แม่ท้องขาดกรดโฟลิกทำให้ลูกเสี่ยงพัฒนาการทางภาษาล่าช้า
การตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ การนัดตรวจครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้างระหว่างตั้งครรภ์ ทุกไตรมาส