ลูกรอดเพราะ “คาร์ซีท” อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย
ลูกรอดเพราะ “คาร์ซีท” อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง จากคำบอกเล่าของคุณพ่อ Chaowat Pruksapradupkun
อุบัติเหตุไม่คาดฝัน
วันนี้เกิดเหตุไม่ขาดคิดขึ้นเวลาประมาณบ่าย3โมงครึ่ง ขับรถอยู่เลนส์กลางบนสะพานพระราม 4 พอถึงช่วงกลางสะพานเห็นมอเตอร์ไซค์ชายหญิงคู่1ขับรถยึกยักอยู่เลนส์ซ้ายสุดหลังรถสิบล้อ พอรถผมกำลังแซงไปไม่เกิน 5 เมตร รถมอเตอร์ไซค์ออกแซงขวาชนรถสิบล้อ ล้มลงมาในเลนส์กลางซึ่งมีรถผมอยู่ระยะไม่เกิน 5 เมตรอยากกระทันหัน ผมเบรคแล้วหักออกขวา รถสีดำชนตูดรถผมอย่างจังกระเด็นไปชนเกาะกลางถนน
พอรถถูกชนแล้วหยุดนิ่งผมรีบหันไปดูลูกก่อนเลยได้เห็นสันชาตญาณความเป็นแม่ของเหมี่ยวที่ได้กอดลูกไว้กับคาร์ซีท (ปกติเหมี่ยวจะทำอะไรช้า)แต่เหตุเกิดกับมีสติกับไว้มาก สุดยอด ทำให้ตัวผมคอเคล็ดเกิดจากเบลท์ ส่วนเหมียวกระอักเลือดออกมาทันที(เพราะนั่งหลังกับลูกแต่ตอนนี้ไม่เป็นอะไรแล้ว)ส่วนลินินไม่เป็นอะไร เพราะนั่งคาร์ซีท อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ (ผมไม่ได้ขับเร็วไม่เกิน 70 เพราะอีกประมาณ 100 เมตร ผมใกล้ที่จะลงตรงทางลงปากเกร็ดแล้ว)
กฎหมายในไทย ???
แม้ว่าตามสถิติจาก WHO หรือองค์การอนามัยโลกจะพบว่าในแต่ละปีเด็กทั่วโลกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ประมาณ 186,300 คน หรือในทุกๆ 4 นาที จะมีเด็ก 1 คนเสียชีวิต โดยประเทศไทยพบการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีเด็กเสียชีวิต ส่วนใหญ่เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีการชนกันอย่างแรงทำให้เด็กหลุดจากที่นั่งกระเด็นออกมานอกรถหรือเด็กหลุดจากอ้อมกอดของผู้ปกครองไปกระแทกกับส่วนต่างๆ ในรถ ส่วนหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการไม่ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท
การใช้คาร์ซีทสามารถช่วยลดการเสียชีวิตของเด็กได้ถึงร้อยละ 70 ปัจจุบัน 96 ประเทศทั่วโลก มีกฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก แต่โดยส่วนใหญ่เป็นประเภทในกลุ่มที่มีรายได้สูง ส่วนกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและปานกลางยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยมาก จากการประเมินการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กของประเทศไทยโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่ากับศูนย์ นั่นหมายความว่าในเมืองไทยไม่มีกฎหมายบังคับใช้คาร์ซีทนั่นเอง
กฎหมายคาร์ซีททั่วโลก
ในเเต่ละประเทศที่พัฒนาเเล้วนั้น กฎหมายคาร์ซีทถือว่าเข้มทีเดียวค่ะ นอกจากการปรับเป็นเงินประมาณ 1-2 หมื่นบาทเเล้ว ยังมีการห้ามพ่อแม่เดินทางโดยไม่มีคาร์ซีทในรถสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10-12 ปีอีกด้วย โดยประเทศที่มีกฎหมายบังคับเรื่องนี้ก็อย่างเช่น สหราชอาณาจักร อเมริกา แคนาดา สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เดนมาร์ก เเละเนเทอร์เเลนด์ โดยคาร์ซีที่ได้มาตรฐานจะมีตราสัญลักษณ์ UN-ECE Regulation 44/04 และของสหภาพยุโรป Directive 77/541/EEC ติดอยู่เป็นต้นค่ะ
ช่างกฎหมาย ป้องกันเองก็ได้
เเม้ในเมืองไทยจะไม่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เเต่การจำหน่ายคาร์ซีทก็มีอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ คุณพ่อคุณเเม่ก็ควรจะหาซื้อมาไว้ใช้งานเองได้นะคะ
บทความที่น่าสนใจ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!