การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งเมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ นั่นคือ การหาความสมดุลระหว่างการเพิ่มน้ำหนักตัวเพื่อให้ครรภ์มีสุขภาพดีกับการเพิ่มน้ำหนักตัวมากจนเกินความต้องการ จริง ๆ แล้วในการตั้งครรภ์จะมีระดับที่เหมาะสมและทำให้คุณสุขภาพดีในระหว่างตั้งครรภ์ ขึ้นอยู่กับว่าคุณหนักเท่าไหร่เมื่อเริ่มท้อง แต่การเพิ่มน้ำหนักตัวมากกว่าระดับที่ควรจะเป็นอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์

การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก และน้ำหนักเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์ วันนี้เราไปหาคำตอบพร้อมกัน

การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์

น้ำหนักที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์ ?

น้ำหนักตัวที่คุณควรเพิ่มในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นประเด็นหนึ่งที่แม้แต่ทางผู้เชี่ยวชาญเองยังคงถกเถียงกันอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้วคุณสามารถกะเกณฑ์ได้ว่าเท่าไหร่ถึงจะพอดีกับความสูง น้ำหนักตัว และรูปร่างของคุณ บางทีคุณหมออาจวัดส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อดูมวลร่างกายของคุณและช่วยแนะนำคุณว่าคุณควรเพิ่มน้ำหนักตัวเท่าไหร่ในระหว่างการตั้งท้อง

มันจะดีมากถ้าเราสามารถที่จะเพิ่มน้ำหนักตัวได้อย่างคงที่ในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ทุกคนต่างก็มีรูปแบบการใช้ชีวิตหรือการกินที่ต่างกัน ดังนั้น อย่ากังวลไปถ้าสัปดาห์หนึ่งคุณเพิ่มน้ำหนักได้มากกว่าอีกสัปดาห์

ท้องนี้ควรหนักเท่าไหร่

น้ำหนักที่ควรจะเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก (เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เป็นเมตร) ยกกำลังสอง

หลังจากนั้น นำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์

ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว น้ำหนักสำหรับคุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ลูกแฝดจะมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่า

น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) 12.5 – 18กิโลกรัม 2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5 – 16 กิโลกรัม 1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) 7 – 11.5 กิโลกรัม 0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
อ้วน (≥30) 5 – 9 กิโลกรัม 0.2กิโลกรัม

 

อธิบายซ้ำอย่างง่าย ๆ คือ ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.5-16 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5-18 กก.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 7-11.5 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 5-9 กก. นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง น้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ช่วงตั้งครรภ์

การลดน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่ ?

คำตอบคือ “ไม่ปลอดภัย” แน่นอนว่าการเพิ่มน้ำหนักตัวอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงภาวะความดันเลือดสูง โรคเบาหวานในระหว่างตั้งคารรภ์ และการคลอดก่อนกำหนด แต่การลดน้ำหนักตัวก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำในช่วงเวลาที่คุณอุ้มลูกน้อยอยู่ในท้อง การลดน้ำหนักก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์เป็นสิ่งดีที่คุณทำได้ แต่การที่คุณลดน้ำหนักในระหว่างนี้มีแต่จะเป็นการลดน้ำหนักตัวของลูกน้อยในท้องของคุณและทำให้เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ เพราะเมื่อร่างกายคุณขาดสารอาหาร เท่ากับว่าคุณไม่ให้ลูกมีสุขภาพดี

สิ่งที่คุณทำได้คือสอบถามแพทย์เกี่ยวกับสิ่งที่จะทำให้คุณสุขภาพดี เกี่ยวกับอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ครบหมู่และไม่ทำให้คุณน้ำหนักตัวเพิ่มมากจนเกินกว่าที่ร่างกายคุณกับลูกต้องการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักตัวน้อยเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์

การที่คุณมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปในระหว่างการตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้น หากคุณกำลังเผชิญกับภาวะนี้อยู่ คุณควรลองเพิ่มน้ำหนักตัวก่อนที่คุณจะตั้งท้อง หรือหากคุณตั้งครรภ์แล้ว ลองปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์แนะนำอาหารสุขภาพดีที่จะช่วยคุณเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก

น้ำหนักตอนท้องขึ้นน้อย ลูกในท้องไม่โต เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร ป้องกันได้ไหม

เคล็ดลับคลอดง่าย ต้องกินอะไรก่อนคลอด

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team