การปฏิบัติตนหลังคลอดจากโรงพยาบาลจนถึงบ้าน

เมื่อใกล้ถึงวันคลอดคุณแม่คงเตรียมพร้อมรับวันนั้นกันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งเตรียมตนเองและเตรียมการสำหรับลูกน้อย แต่บทความนี้จะขอนำเสนอเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับช่วงเวลาหลังคลอด การปฏิบัติตนหลังคลอดตั้งแต่ที่โรงพยาบาลจนถึงบ้านกันเลยค่ะ อยากทราบกันแล้วใช่ไหม ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การปฏิบัติตนหลังคลอดจากโรงพยาบาลจนถึงบ้าน

ช่วงพักฟื้นที่โรงพยาบาล

1. หลังคลอดแล้วคุณแม่จะยังคงตื่นเต้นกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น และขณะเดียวกันคุณแม่จะยังรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียมาก ช่วงนี้ต้องรีบพักผ่อนให้มาก ๆนะคะ กรณีที่คลอดเองในวันแรกและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะควรลุกจากเตียงและพยายามเดินบ้างจะช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว

2. กรณีผ่าคลอดแบบผ่าตัดทางหน้าท้องและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย พลิกตัวไปมาซ้ายขวา หรือนั่งบนเตียงและฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อช่วยให้โลหิตสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายดี และเพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น เป็นการป้องกันอาการท้องอืดเฟ้อ การยึดเป็นพังผืดในช่องท้อง ทำให้คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และสามารถลุกจากเตียงได้ในวันต่อมา

3. พบหน้าลูกน้อย พยาบาลจะนำทารกน้อยมาให้คุณแม่ได้เชยชม และอุ้มมาให้เพื่อดูดกระตุ้นน้ำนม ช่วงนี้แม้น้ำนมจะยังไม่มาแต่การดูดกระตุ้นจะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมในเร็ววัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่ด้วย

4. สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อาจจะไม่เคยเห็นทารกแรกเกิด เพราะเจ้าหนูจะมีผิวกายที่แดงและเหี่ยวย่น แบบนี้ไม่ต้องแปลกใจนะคะเด็กแรกเกิดมักมีผิวที่เคลือบด้วยไขมันหุ้มทารก เพราะเป็นเยื่อหุ้มตามธรรมชาติ เยื่อหุ้มนี้จะหายภายในไม่กี่วัน กะโหลกที่บิดเบี้ยวจากการคลอดออกมาจากช่องคลอดจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง

5. ขณะที่พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล ในช่วงนี้คุณแม่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการให้นมทารกอย่างถูกวิธี การอาบน้ำทารกแรกเกิดพร้อมให้ลงมือปฏิบัติจริงค่ะ การดูแลทารกในเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็น คุณแม่ต้องพยายามเรียนรู้นะคะ เพราะเมื่อถึงบ้านไม่มีเวลาทดลองแล้วค่ะ ปฏิบัติจริงล้วน ๆ

บทความแนะนำ แม่รู้ไหม??ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

เรื่องน่ารู้ : ปัสสาวะบ่อยหลังคลอด

ตั้งแต่ช่วงที่ท้องแก่ใกล้คลอดคุณแม่มักจะปัสสาวะบ่อย เนื่องจากการกดทับของมดลูกบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ในวันที่คลอดทางโรงพยาบาลจะทำการใส่สายยางเพื่อสวนปัสสาวะให้ไหลออกมาอย่างสะดวก แต่ใช่ว่าปัสสาวะของคุณแม่จะไหลออกมาหมดเหมือนตอนที่ปัสสาวะเองนะคะ

ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่เกิดการสะสมน้ำในตัวของคุณแม่ เพราะฉะนั้น แม้หลังคลอดในสัปดาห์แรก ๆ คุณแม่จะปวดปัสสาวะและจะปัสสาวะบ่อยและถี่ ซึ่งเกิดการสะสมตั้งแต่การใช้สายยางสวนปัสสาวะที่โรงพยาบาล ตลอดจนเป็นการขับน้ำออกจากร่างกายที่สะสมไว้ในช่วงตั้งครรภ์ ถือเป็นอาการปกติค่ะ

ควรพักที่โรงพยาบาลนานกี่วัน

การจะพักอยู่ที่โรงพยาบาลกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของการคลอด แม้ปัจจุบันโรงพยาบาลมักจะมีแพ็คเกจคลอดให้คุณแม่ที่ฝากครรภ์เลือกก็ตาม แต่ขอกล่าวโดยทั่วไปนะคะสำหรับการพักฟื้นที่โรงพยาบาล

1. การคลอดปกติจะพักอยู่โรงพยาบาลนาน 2 – 4 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ส่วนการคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นนานขึ้นอีก 1 – 2 วัน แต่ปัจจุบันอาจกลับบ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวและสุขภาพของคุณแม่รวมถึงความเห็นของคุณหมอ

บทความแนะนำ ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่แม่ท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด

อ่าน การปฏิบัติตนหลังคลอดจากโรงพยาบาลจนถึงบ้าน (ต่อ) คลิกหน้าถัดไป

กลับบ้านเรา

1. สำหรับการพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน นอกจากคุณแม่อุ้มทารกแล้ว อาจใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กเตรียมไว้เพื่อสะดวกในการเดินทาง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว การปฏิบัตินหลังคลอด ในช่วงแรกหากมีคุณยายหรือคุณย่า มาช่วยเลี้ยงจะช่วยผ่อนแรงคุณแม่ได้มากเพราะอาจจะประหม่ากับการดูแลทารกน้อยที่ยังตัวอ่อนปวกเปียก กรณีที่ไม่มีผู้ช่วยคุณแม่ต้องทำทุกอย่างเอง ค่อย ๆ เรียนรู้ไปนะคะ หากไม่เข้าใจสิ่งใดก็โทรถามที่โรงพยาบาลเพื่อขอคำปรึกษาได้ค่ะ

3. ช่วงนี้งานบ้านปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่น ๆ ในบ้านไปก่อนนะคะ หรืออาจจะเป็นหน้าที่ของคุณพ่อที่ต้องช่วยคุณแม่หน่อยนะคะ

4. ในช่วงพักฟื้นนี้จะมีญาติสนิทมิตรสหายพากันมาเยี่ยมไม่ขาดสาย อาจทำให้คุณแม่และทารกน้อยพักผ่อนไม่เต็มที่ อาจจะบอกญาติ ๆ บางส่วนรอก่อนสักระยะหนึ่งแล้วค่อยแวะมาเยี่ยมเยียน

5. คุณแม่ควรพักผ่อนและใช้เวลาในการสร้างความคุ้นเคยกับทารกน้อยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พักผ่อนหลังคลอด

1. การปฏิบัติตนหลังคลอด เนื่องจากหลังคลอดร่างกายยังไม่เข้าที่เข้าทาง คุณแม่จะยังเหนื่อยและอ่อนเพลียจากการคลอดดังนั้นต้องพักผ่อนให้เพียงพอใน 6 สัปดาห์แรก กลางคืนคุณแม่อาจจะนอนน้อย เพราะทารกน้อยจะตื่นมากินนม แต่คุณแม่ควนนอนให้ได้ 6 – 8 ชั่วโมง และใช้เวลางีบหลับพร้อมลูกในช่วงกลางวันสัก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

2. อาหารหลังคลอดที่เหมาะสมกับคุณแม่ คือ อาหารที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ทุกชนิด และเมื่อเริ่มรับประทานได้ตามปกติแล้ว ให้พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมือนตอนตั้งครรภ์ เพราะแม่ที่ให้นมยิ่งต้องการอาหารที่มีคุณค่าและสารอาหารครบถ้วน ดังนั้น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ถั่ว นม ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 – 3 แก้วหรือนมถั่วเหลืองก็ได้ค่ะ รับประทานผักผลไม้ให้มาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 6 – 8 แก้ว

การดูแลความสะอาดของร่างกาย

1. ที่โรงพยาบาลมักจะแนะนำให้ทำความสะอาดร่างกายได้ สามารถอาบน้ำและสระผมได้ โดยวิธีการตักอาบหรือการใช้ฝักบัวไม่ควรอาบน้ำแบบแช่ตัวลงในอ่างอาบน้ำ เพราะจะทำให้น้ำเข้าไปในโพรงมดลูก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ห้ามลงสระหรือทะเลจนกว่าร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือน้ำคาวปลาหยุดไหล และหายแล้ว

2. การอาบน้ำอุ่น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวกกว่าการอาบน้ำเย็นธรรมดาและจะช่วยกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดีขึ้น เหมาะสำหรับแม่ที่ให้นมลูก

3. ในช่วงที่มีน้ำคาวปลาควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่าปล่อยให้อับชื้นเพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ช่องคลอดได้ง่าย

การดูแลเต้านม

1. การดูแลเต้านม เต้านมหลังคลอดของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และหนักขึ้นกว่าเดิม ต้องสวมเสื้อชั้นในที่กระชับเพื่อช่วยกระชับเต้านม คุณแม่ควรให้ลูกดูดกระตุ้นน้ำนมให้ไหลเร็วขึ้น

2. ภายใน 2 – 3 วันแรก จะมีน้ำนมเป็นหัวน้ำนม เรียกว่า โคลอสตรัม ซึ่งมีคุณค่าทางอาหาร และมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคสำหรับลูก น้ำนมนมแท้ จะออกมาประมาณวันที่ 3 หลังคลอด สีของน้ำนมจะไม่เหมือนกับนมวัวที่มีสีขาวแต่จะมีสีขาวอมเหลือง

3. คุณแม่จะรู้สึกเจ็บเต้านม คัดเต้านมในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยการประคบน้ำเย็นทั้งสองข้าง หากจะให้นมลูกควรประคบอุ่น และนวดเบาๆ ให้เต้าทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้น้ำนมไหลสะดวก เมื่อโคลอสตรัมเปลี่ยนเป็นน้ำนมแท้ คุณแม่สามารถบรรเทาการปวดด้วยการให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นหรือการปั๊มนมออก

4. หลังการดูดนมทั้งสองข้างแล้ว ถ้ามีน้ำนมเหลือใช้การปั๊มหรือบีบออกให้หมดเต้า เก็บใส่ถุงเก็บน้ำนม เพื่อให้มีน้ำนมใหม่มาทดแทนน้ำนมที่ออกไป

5. ก่อนให้ลูกดูดนมทุกครั้งคุณแม่ต้องทำความสะอาด ล้างมือ แลทำความสะอาดบริเวณหัวนมและเต้านม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกทุกครั้งนะคะ

การดูแลแผลฝีเย็บ

แผลฝีเย็บจะอยู่ระหว่างปากช่องคลอดกับทวารหนัก ดังนั้น ต้องรักษาความสะอาดให้ดีนะคะ โดยทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ โดยใช้น้ำเปล่าจากก๊อกน้ำไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาใด ๆ และหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอยู่เสมอ

ที่สำคัญการเช็ดทำความสะอาด ไม่เช็ดย้อนจากทวารหนักมายังฝีเย็บนะคะ เพราะจะนำเชื้อโรคมาสู่แผลได้ ถ้ามีอาการเจ็บ บวม แดง หรือมีหนองบริเวณฝีเย็บต้องรีบพบคุณหมอโดยเร็ว

บทความแนะนำ การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด

การดูแลแผลผ่าตัดหน้าท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยปกติแผลผ่าตัด หลังผ่าตัดแผลจะหายประมาณ 7 วัน แผลจะสามารถถูกน้ำได้ แต่ต้องซับแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาดทุกครั้ง และไม่ต้องทาแป้งบริเวณแผล ปัจจุบันทางโรงพยาบาลจะใช้พลาสเตอร์กันน้ำได้ ทำให้แม่สามารถอาบน้ำได้สะดวกยิ่งขึ้นโดยที่น้ำไม่เข้าแผล เมื่อกลับบ้านไปคุณหมอจะนัดเปิดแผลที่โรงพยาบาลซึ่งแล้วแต่คุณหมอแต่ละท่าน หากพบว่าแผลอักเสบ บวม แดง เป็นหนอง ต้องรีบพบคุณหมอโดยเร็ว

บทความแนะนำ ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

 

จากข้อมูลที่ให้มาเป็นข้อมูลคร่าว ๆ ที่จะทำให้คุณแม่มองเห็นภาพหลังคลอดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และควรเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไร การคลอดในทุกขั้นตอนจะมีคุณหมอและทีมแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ จะเป็นไปตามกระบวนการ หลังจากคลอดแล้ว เมื่อคุณแม่ยังพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล จะมีพยาบาลคอยดูแลให้คำแนะนำ รวมถึงคุณหมอมาตรวจอาการเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่หากไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจคลอดเจ้าตัวน้อยค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

เอกสาร ดูแลคุณแม่หลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

15 อาการหลังคลอดลูกที่ไม่เคยมีใครบอกคุณ

ร่างกายที่แท้จริงของผู้หญิงหลังคลอดลูก