การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์

ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 8 หากสังเกตดูร่างกายของตัวเองจะพบว่าคุณแม่นั้นเริ่มที่จะอุ้ยอ้ายกันแล้ว เป็นผลให้จะทำอะไรก็ไม่ค่อยคล่องแคล่วเหมือนช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะขนาดครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้นไปตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ที่ใกล้จะออกมาเจอกับคุณแม่แล้วค่ะ ไปดูกันว่าร่างกายของคุณแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในเดือนนี้ รวมถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคนท้องเดือนที่ 8 ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

  • คุณแม่จะเริ่มทำอะไรได้ช้าลง เพราะขนาดครรภ์ที่ใหญ่มากขึ้นส่งผลให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก
  • โคลอสตรัม ซึ่งเป็นหัวน้ำนมอาจมีไหลออกมาเล็กน้อยเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่จะถูกกระตุ้นด้วยการดูดหลังจากลูกคลอดออกมา
  • คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บหน่วงๆ ที่ท้องด้านล่าง นั่นเพราะทารกจะเริ่มเคลื่อนศีรษะลงและลำตัวกับเท้าจะชี้ขึ้นไปกดตรงซี่โครง
  • เท้าบวม อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ใกล้คลอด ซึ่งเกิดจากน้ำหนักของครรภ์ที่ไปกดบริเวณหลอดเลือดดำใหญ่ด้านหลังลำตัว เป็นผลให้เลือดกลับขึ้นเข้าสู่หัวใจไม่สะดวก ทั้งนี้หากสังเกตว่ามีอาการเท้าบวมที่มากกว่าปกติและสังเกตว่าใบหน้ามีอาการบวมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์โดยด่วน (เพราะอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษขึ้นได้)
  • เจ็บครรภ์เตือน คุณแม่จะสังเกตได้ว่าในช่วงสัปดาห์ปลายเดือนนี้จะมีอาการมดลูกหดตัวเป็นระยะ เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะการเจ็บท้องคลอดจริง โดยที่มดลูกจะนูนแข็งขึ้นมาเป็นบางครั้งๆ ละไม่เกิน 30 วินาที

การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 พัฒนาการทารกในครรภ์ และอาหารที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์  อ่านหน้าต่อไปคลิก

 

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 8

  • ทารกจะตื่นตัวมากขึ้น รู้สึกและมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อแรงหดรัดตัวของมดลูก
  • เนื้อเยื่อในถุงลมปอดถูกพัฒนาขึ้นมา และหลั่งสารเคลือบผิวถุงลม ซึ่งสารนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ถุงลมเกิดการแฟบตัวเมื่อทารกคลอดออกมา ทำใหทารกสามาถสูดอากาศเข้าปอด และหายใจได้นั่นเอง
  • อวัยวะภายในมีการพัฒนาไปเกือบสมบูรณ์ ยกเว้นปอดที่ยังเจริญไม่เต็มที่ ซึ่งเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วปอดจะต้องถูกพัฒนาต่อให้แข็งแรงสมบูรณ์
  • ทารกเริ่มกลับตัวให้อยู่ในท่าศีรษะลงเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด
  • ทารกจะรับรู้ความมืดและสว่างจากการสะท้อนของแสงผ่านทางผนังหน้าท้องของคุณแม่
  • ทารกเริ่มที่จะเปิดปิดเปลือกตา และเริ่มกะพริบตาถี่ๆ ได้แล้ว รูม่านตาจะเริ่มขยาย และหรี่ได้แล้วด้วยเช่นกัน
  • ทารกจะเหยียดแขน ขา เตะผนังหน้าท้องของคุณแม่จนนูนออกมา

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 8

สำหรับคุณแม่ที่ได้ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำในช่วงตั้งครรภ์มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง ถึงแม้จะใกล้คลอดแล้วก็ตาม หากยังสามารถออกกำลังได้อยู่ขอให้ทำต่อไปจนกว่าจะคลอด เพราะการออกำลังกายจะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับสมดุลได้ดี ช่วยลดความวิตกกังวลในการคลอด ช่วยให้ผ่อนคลาย และช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานแข็งแรงทำให้คลอดง่ายด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในส่วนของอาหารก็ยังต้องทานให้ครบ 5 หมู่ แต่ช่วงนี้อาจเพิ่มเติมในเรื่องของอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้า 3 และอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เพราะอย่าลืมว่าช่วงคลอดร่างกายคุณแม่จะเสียเลือดมาก ดังนั้นร่างกายคุณแม่ต้องการปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งในช่วงตั้งครรภ์และช่วงคลอดลูกด้วยนะคะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคนท้องเดือนที่ 9 ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33 – 36

100 อาการคนท้องเดือนที่ 8 ที่คุณแม่ต้องต้องรู้

10 เคล็ดลับการดูแลสุขภาพแม่ตั้งครรภ์

แม่ตั้งครรภ์เฮได้สิทธิฝากครรภ์และคลอดลูกฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team