กันไว้ดีกว่าแก้!!! ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก วิธีทานยาที่ถูกต้องสำหรับลูก

เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก!!! โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา เพราะเด็กยังมีภูมิต้านทานน้อย การใช้ยาสำหรับเจ้าหนูต้องระมัดระวังให้มาก เพราะถ้าใช้ยาไม่ถูกต้องเหมาะสม แทนที่จะเป็นประโยชน์อาจนำโทษมาสู่ลูกได้ มาดูกันว่า ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กันไว้ดีกว่าแก้!!! การใช้ยาให้ปลอดภัยกับเด็ก ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียเด็ก ยาที่ควรมีติดบ้านไว้สำหรับเด็ก

การใช้ยาให้ปลอดภัยกับเด็ก ยาแก้ท้องเสียเด็ก

เด็ก ๆ อยู่ในวัยซน  วัยกำลังเรียนรู้  และด้วยความซุนซนนี่เองอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมถึงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น  ดังนั้นยาที่ควรมีไว้ติดบ้าน  ได้แก่

  1. ยาสำหรับบรรเทาอาการไข้ คือ ยาลดไข้  เป็นยาพวกพาราเซตามอล  ยาลดน้ำมูก ยาเหล่านี้จะใช้เฉพาะเมื่อเจ้าหนูมีอาการเป็นไข้  น้ำมูกไหล  สำหรับยาแก้ไอไม่จำเป็นเท่าใดนัก  เพราะในทางการแพทย์ยาแก้ไอที่ดีที่สุด คือ น้ำ

บทความแนะนำ  ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัย

2. เกลือแร่ ใช้ในกรณีที่ลูกมีอาการท้องเสีย  อาจสงสัยใช่ไหมคะว่า ทำไมไม่ใช้ยาแก้ท้องเสีย  มาฟังคำตอบจากคุณหมอกันค่ะ

นพ.อภิชัย  ตันติเวสส  กุมารแพทย์  โรงพยาบาลเซ็นหลุยส์  กล่าวถึง  การใช้ยาแก้ท้องเสียสำหรับเด็ก ว่า  “ยาแก้ท้องเสียในทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้กับเด็ก เพราะเมื่อกินไปแล้วเด็กจะหยุดถ่าย  เปรียบเสมือนกับการเอานิ้วไปอุดไม่ให้อุจจาระออก  สำหรับเด็กอาจเกิดอันตรายได้  เพราะว่าในขณะที่หยุดถ่าย  แต่ในความเป็นจริงถึงจะหยุดถ่ายแต่ความเจ็บป่วยก็ยังอยู่

ดังนั้น การกินยาแก้ท้องเสียจึงทำให้อาจเกิดอันตรายสำหรับเด็กได้  และไม่ได้ประโยชน์อะไรในการรักษาด้วย  สิ่งที่ดีที่สุด คือ หากลูกท้องเสีย  ถ้าลูกทานนมผงให้หยุดทานนมก่อน  และให้กินเกลือแร่ชงกับน้ำไปก่อนเพื่อดูท่าที  ถ้าอาการดีขึ้นก็ค่อย ๆให้ทานอาหารอ่อน และทานนมต่อ หากไม่ดีขึ้นต้องพาไปพบคุณหมอ อาจจะต้องนำอุจจาระไปตรวจเพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย  และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง   แต่สำหรับเด็กที่ทานนมแม่ แม้จะท้องเสียก็ยังทานนมแม่ต่อได้”

 

ยาแต่ละชนิดมีอายุการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

  1. ตามปกติการดูวันหมดอายุของยา ให้ดูที่ขวดบรรจุยา ยาที่ผลิตจากโรงงาน จะระบุวันเดือนปีที่หมดอายุอาไว้
  2. ยาจากโรงพยาบาล จะใช้วิธีแยกจากขวดใหญ่มาบรรจุขวดเล็กเพื่อให้ผู้ป่วยรับประทาน ยาประเภทนี้มีอายุการใช้งานไม่เกิน 4 เดือน  และการเก็บรักษายาทั่วไปไม่จำเป็นต้องใส่ตู้เย็น เก็บในห้องที่อุณหภูมิปกติได้ เพียงแต่อย่าให้ยาถูกแดดหรือเก็บยาไว้ในห้องที่ร้อนอบอ้าวเกินไป  หากเกิน 4 เดือน  ควรทิ้งไปได้เลย
  3. ยาแก้อักเสบ ยาแก้อักเสบจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าและที่สำคัญเมื่อเปิดใช้แล้วต้องเก็บในตู้เย็น ยาแก้อักเสบที่ผลิตจากโรงงานจะเป็นผงและนำมาผสมกับน้ำ  ถ้าผสมแล้วไม่แช่ตู้เย็น วันเดียวยาก็เสียแล้วค่ะ แต่ถ้าแช่ตู้เย็นจะสามารถเก็บได้มากที่สุดไม่เกิน 7 วัน เพราะยาแก้อักเสบควรทานให้หมดภายใน 7 วัน

บทความแนะนำ  รู้ไหม? เก็บรักษายาสำหรับเด็กอย่างนี้แหละถูกวิธี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้ไว้!!! หลักการใช้ยาแก้อักเสบให้ถูกต้อง

สิ่งสำคัญของการกินยาแก้อักเสบ คือ  ต้องให้เด็กกินครบตามจำนวนและตรงตามเวลาที่คุณหมอสั่ง  เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้หมด  เช่น  คุณหมอสั่งให้กิน 10 วันเพื่อให้เชื้อโรคตายหมด  แต่ถ้ากินเกิน 3 วันแล้วลูกอาการยังไม่ดีขึ้นเลยให้หยุดกิน  เพราะยังมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่  เช่น  จากล้านตัวอาจจะเหลือหมื่นตัว แต่เชื้อโรคหมื่นตัวนี้แหละ  คือ  พวกที่เก่งสามารถต่อต้านยาได้

หมายความว่า ครั้งต่อไปเมื่อลูกป่วยอาจจะต้องได้รับยาใหม่  ซึ่งอาจทำให้การรักษายากขึ้น  ใช้ยาตัวที่แรงขึ้น  แพงขึ้น เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังให้ดี  และควรให้ลูกกินยาแก้อักเสบให้หมดเท่าที่คุณหมอสั่ง แต่ถ้ายังไม่หายควรกลับไปให้คุณหมอตรวจอาการอีกครั้ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำคัญนะ!!! ยาก่อนอาหารและยาหลังอาหาร มีความสำคัญต่างกันอย่างไร

การทานยา คุณหมอมักจะสั่งให้ทานมีทั้งก่อนและหลังอาหาร  ซึ่งมีความสำคัญต่างกัน คือ  ประสิทธิภาพของการดูดซึมยานั่นเอง

ยาชนิดที่ให้กินก่อนอาหาร  หมายความว่า  หากนำไปกินหลังอาหารจะส่งผลให้ฤทธิ์ของยาถูกดูดซึมช้าเกินไป  เนื่องจากต้องรอให้อาหารถูกดูดซึมไปก่อน  ยาก่อนอาหารควรกินยานั้นก่อน ½ ชั่วโมง  (ครึ่งชั่วโมง)  แล้วจึงค่อยกินอาหาร

ยาชนิดที่ให้กินหลังอาหาร  หมายความว่า  ถ้ากินขณะที่ท้องว่าง  ยาจะทำให้เกิดการระคายเคืองแก่กระเพาะอาหาร  ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้  ยาหลังอาหารควรกินยาหลังอาหารเสร็จทันที หรือกินภายใน ½ ชั่วโมง  (ครึ่งชั่วโมง)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่คุณหมอสั่งยาให้กินบ่อย ๆ เช่น  ทุก ๆ กี่ชั่วโมงนั้น สาเหตุเพิ่มรักษาระดับของยาในเลือดให้คงที่ไว้  หากทิ้งไว้นาน ๆ ระดับยาตก  แล้วค่อยมากินทำให้ฤทธิ์ยาไม่สม่ำเสมอถ้ากินตามระยะเวลาที่กำหนดประสิทธิภาพของยาจะดีขึ้น ทำให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเร็ว

 

วิธีแก้ไขเมื่อลูกกินยาแล้วอาเจียน

การอาเจียนหลังกินยาเป็นเรื่องธรรมชาติคู่กับเด็กก็ว่าได้ เพราะเป็นกันแทบทุกคน  คุณแม่ไม่ตกวิตกกังวลไปค่ะ   เรื่องนี้แก้ไขได้โดยให้เด็กดื่มน้ำตามทันทีทุกครั้งที่กินยาและพยายามอย่าให้เด็กรู้สึกว่า  การกินยาเป็นสิ่งที่ผิดปกติสำหรับเด็กตั้งแต่แรก  จะทำให้เด็กกินยายากขึ้น

บทความแนะนำ  ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร?

 

เลือกใช้ยาแก้ไออย่างไรให้เหมาะสมสำหรับเด็ก

ยาแก้ไอของเด็กมี 2 ชนิด ได้แก่

ชนิดแรก คือ  ยาระงับอาการไอ ยาพวกนี้จะใช้เมื่อมีอาการไอเนื่องจากระคายคอ

ชนิดที่สอง  คือ  ยาประเภทขับเสมหะ  เมื่อกินยาชนิดนี้เข้าไปจะมีฤทธิ์ในการละลายเสมหะทำให้เสมหะหลุดง่าย

ยาแก้ไอทั้งสองประเภทเป็นยาที่ใช้กันมากในเด็ก เพราะเมื่อเกิดอาการไอแทบจะ 100 % เกิดจากมีเสมหะในคอ  แต่เด็กยังไม่รู้วิธีไอที่ทำให้เสมหะหลุดออกมาจากลำคอ   ยาขับเสมหะนี้จึงเข้าไปช่วยขับเสมหะให้ออกง่ายขึ้น  คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกใช้ยาให้ถูกต้อง  เพราะถ้าใช้ยาระงับอาการไอ  จะทำให้เสมหะที่มีเชื้อหวัดยังคงอยู่ ขณะที่เลือกใช้ยาขับเสมหะจะทำให้ดูเหมือนว่าลูกไอมากขึ้น  แต่ความจริงช่วยขับโรคให้ออกมามากกว่า

คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะ  ว่าการใช้ยาชนิดต่าง ๆ กับลูกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง  เพื่อความปลอดภัยของลูกรักจะได้หายจากอาการเจ็บป่วย

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ “คุยกับหมอเด็กยามลูกป่วยไข้”  โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเด็ก

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อันตราย!! เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้

ลูกน้ำหนักน้อย ตัวผอม ควรทานยาถ่ายพยาธิหรือไม่?