X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

บทความ 8 นาที
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

ไข้เลือดออก (Dengue Fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะ เป็นโรคที่มีการระบาดตลอดปี และจะระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน ความน่ากลัวของโรคไข้เลือดออกก็คือ ยังมีคนจำนวนมากที่เป็นไข้เลือดออกแบบไม่แสดงอาการ และกลายเป็นพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนการแพร่ระบาดได้แบบไม่รู้จบ ซ้ำร้ายใครที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ก็ยังสามารถเป็นซ้ำได้อีก!!

แนวทางการรักษา ไข้เลือดออก ในปัจจุบัน ยังเป็นแบบประคับประคองตามอาการ เนื่องจากยังไม่มียารักษาจำเพาะ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของไข้เลือดออกแบบรุนแรง เช่น เกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร มือเท้าเย็น ช็อกเพราะไข้ขึ้น และลดลงอย่างรวดเร็ว หากถึงมือแพทย์ช้าก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

“ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการระบาดของ ไข้เลือดออก เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมแล้วมากกว่า 350,000 ราย แค่เฉพาะในปี พ.ศ. 2562 มีรายงานผู้ป่วยสูงสุดถึง 130,000 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลมาก โดยเฉพาะหากมีการระบาดสูงอีกครั้งในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจากหลายหน่วยงาน รวมทั้งประชาชนเอง ก็ต่างโฟกัสไปที่การป้องกันโควิด-19 โดยหลงลืมไปว่าจริง ๆ แล้ว ไข้เลือดออกยังคงแพร่ระบาดอยู่อย่างหนัก และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด อีกทั้งเด็ก ๆ เองก็ยังคงเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกสูงขึ้นมาโดยตลอด”

 

ไข้เลือดออก โรคเขตร้อนที่ถูกลืม (Neglected Tropical Diseases)

ไข้เลือดออก

 

โรคไข้เลือดออก จัดเป็นหนึ่งในโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย หรือ NTD (Neglected Tropical Diseases) โดยโรคไข้เลือดออกจะไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่มียุงลายเป็นพาหะ และสามารถแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วจากการวางไข่ในจุดเล็ก ๆ ที่มีน้ำขัง อย่าง ใบไม้ กระถางต้นไม้ กาบใบของไม้น้ำต่าง ๆ หรือตามเศษขยะที่ถูกทิ้งไว้ เช่น ถุงขนม ฝาขวดน้ำ ภาชนะใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งพบได้ง่ายทุกพื้นที่ในครัวเรือน จึงป้องกันและควบคุมได้ยาก 

นอกจากจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการแล้ว คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกที่ไม่มีอาการอีก 3-4 เท่าตัว แฝงอยู่ท่ามกลางประชาชนทั่วไปจำนวนมาก  เพราะการติดเชื้อแบบไม่มีอาการนั้นเป็นสัดส่วนประมาณ 3 ใน 4 เลยทีเดียว  หากคนกลุ่มนี้ถูกยุงกัดเข้า  ยุงก็จะกลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกีไปสู่ผู้อื่นได้อีกมากมาย จึงจัดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไข้เลือดออกกระจายออกไปในวงกว้าง และกลุ่มผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยที่เคยเป็นอาการไข้เลือดออกแล้ว ยังอาจติดเชื้อซ้ำ และป่วยด้วยโรคนี้ได้อีกตลอดเวลา จึงถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

แพทย์หญิง ดารินทร์ อารีย์โชคชัย

 

แพทย์หญิง ดารินทร์ อารีย์โชคชัย รองผู้อำนวยการ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทับซ้อนกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า รายงานตัวเลขผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดต่ำลงอาจเป็นเพราะการที่มีประกาศ Work from Home อยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อประชาชนมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ก็ปัดกวาดเช็ดถู เก็บเศษขยะ ทำความสะอาดบ้านได้ทุกวัน ผลพลอยได้ก็คือ เรามีโอกาสในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ยังต้องคอยจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากไข้เลือดออกจะมีลักษณะการระบาดแบบปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี โดยในปี พ.ศ. 2564 มีอุบัติการณ์ของไข้เลือดออกลดต่ำลง จึงมีแนวโน้มว่าในปี พ.ศ. 2565 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอาจมีความรุนแรงมากที่สุด และอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย   

จับตาเป็นพิเศษ หากโรงเรียนยังเปิด ๆ ปิด ๆ อาจกลายเกิดวิกฤตไข้เลือดออกระบาดซ้ำ

เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 ยังไม่น่าไว้วางใจ จึงทำให้มีการประกาศเปิดเรียนแบบ On Site สลับกับการเรียน Online อยู่เป็นระยะ ทำให้น่ากังวลว่าหากเด็ก ๆ ต้องกลับไปเรียนในโรงเรียนในทันที

โดยที่ยังไม่ได้มีมาตรการในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกอย่างจริงจัง อาจทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสโดนยุงลายกัดสูงขึ้นกว่าการเปิดเรียน On Site แบบ 100% ซึ่งทางโรงเรียนจะมีแนวทางในการกำจัดลูกน้ำยุงลายก่อนเปิดเรียนอย่างจริงจัง ซึ่งช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้มากกว่า

 

นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กฯ เผย “เด็กวัยเรียน” มีแนวโน้มป่วยไข้เลือดออกสูงสุด!

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

 

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และกลุ่มวัยรุ่น รวมทั้งกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นในประเทศไทยว่าปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการโรคไข้เลือดออกรุนแรงในกลุ่มของวัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้นเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มของผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีตัวเลขรายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ อาจเป็นเพราะมีคุณพ่อคุณแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และเมื่อลูกมีอาการป่วย ก็จะรีบพามาพบแพทย์ทันที ส่วนในกลุ่มของเด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 5 – 14 ปี กลับพบว่ามีอัตราป่วยสูงที่สุด คิดเป็น 1:4 หรือ 25% ของผู้ป่วยทุกช่วงอายุ แต่มีอัตราการเสียชีวิตไม่สูงมาก 

แต่กลุ่มผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้น กลับเป็นกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น อายุระหว่าง 15 – 24 ปี ซึ่งเมื่อมีอาการป่วย ก็จะอดทน ซื้อยาทานเอง และจะมาหาหมอก็ต่อเมื่อมีอาการหนักขึ้น ทำให้ได้รับการรักษาช้าเกินไป และมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ หากมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีจากยุงลาย

 

แพทย์ชี้ คนที่แข็งแรงที่สุด กลับมีความเสี่ยงป่วยไข้เลือดออกรุนแรงมากที่สุด

ไข้เลือดออก กับวัยรุ่น

 

จากมุมมองของแพทย์ผู้รักษา จะทราบกันดีว่า โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ค่อนข้างประหลาด คือ คนที่แข็งแรงสุด จะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงมากที่สุด โดยสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิต ไม่ใช่เกิดจากตัวโรคเองแบบที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เกิดจากกระบวนการโต้ตอบไวรัสของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งยิ่งตอบโต้รุนแรงมากเท่าไร ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะ ส่งผลให้และระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลวลง 

โดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาวที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากที่สุด ทำให้ต่อสู้กับไวรัสได้อย่างเต็มที่ บ่อยครั้งที่แพทย์ตรวจเลือดแล้วพบว่าไวรัสหายไป แต่อาการของผู้ป่วยกลับเป็นรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำการตอบโต้เพื่อเร่งกำจัดไวรัสอย่างรุนแรง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันซึ่งแต่เดิมเคยทำหน้าที่ปกป้องร่างกายอย่างเข้มแข็ง กลับมาเป็นกลไกให้เกิดอาการรุนแรง และ อาจถูกโจมตีด้วยโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ในภายหลัง ดังนั้น ถ้าถามว่าโรคอะไรที่สามารถล้มวัยรุ่นที่มีร่างกาย และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงลงได้ง่าย ๆ คำตอบ คือ โรคไข้เลือดออก นั่นเอง และยิ่งถ้ามีน้ำหนักมาก ท้วมหรืออ้วน ก็จะยิ่งเสี่ยงกับโรคนี้มากขึ้น รักษายากขึ้น

 

ชวนเช็ก อาการ ไข้เลือดออก ถึงมือหมอไว ลดการเสียชีวิตได้มากขึ้น

อาการไข้เลือดออก ในเด็กเล็ก

 

ระยะฟักตัวของไวรัสเดงกีที่เกิดจากการถูกยุงลายกัดจะอยู่ที่ประมาณ 5 – 8 วัน ก็จะเริ่มแสดงอาการของโรค ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ที่มีแนวโน้มเป็นไข้เลือดออก จึงควรหมั่นสังเกตอาการป่วยของตนเอง หรือสมาชิกในบ้านอยู่เสมอ โดยสามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบเฉพาะตัวคร่าว ๆ ทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต/ช็อก และระยะฟื้นตัว ดังนี้

ระยะไข้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน อุณหภูมิเกิน 38.5 องศาเซลเซียส และไข้สูงลอย 2 – 7 วัน
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเบ้าตา
  • ในผู้ป่วยเด็กอาจมี อาการชัก 
  • มีอาการหน้าแดง (flushed face)
  • เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง

ระยะวิกฤต/ช็อก

  • มีอาการมือและเท้าเย็น
  • มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  • มีอาการเลือดออก ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ากรณี เลือดออกตามผิวหนัง
  • อาจมีอาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือดปนสีดำ 
  • มีอาการตับโต ปวดท้องด้านขวาบน กดเจ็บ
  • อาจมี ภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือ ภาวะช็อก

ระยะฟื้นตัว

  • ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดลงจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ในผู้ป่วยที่มีอาการช็อก หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 2 – 3 วัน

 

การที่ผู้ปกครองคอยสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และรีบพามาพบแพทย์ทันทีที่สงสัยว่าลูกอาจเป็นไข้เลือดออก ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ ปลอดภัยจากการได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะการถึงมือแพทย์เร็วเท่าไร ก็จะสามารถช่วยลดเปอร์เซ็นต์ในการเสียชีวิตได้มากยิ่งขึ้น 

 

11 องค์กรพันธมิตร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ผลักดันประเทศไทย สู่สังคมปลอด ไข้เลือดออก ในปี 2569

Dengue Zero MOU

 

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการกำจัด และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นแนวทางในการลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด แต่การแพร่ระบาดของโรคนี้ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง 

จากตัวเลขที่น่ากังวลนี้ จึงได้เกิดการส่งเสริมให้มีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก รวมทั้งมีการพัฒนา และต่อยอดระบบการป้องกันที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมการระบาด และนำพาประเทศไทยเข้าสู่สังคมปลอดไข้เลือดออก จึงเป็นที่มาของของความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน 11 องค์กร ได้แก่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สมาคมนักบริหารโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย และบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก Dengue-Zero ขึ้น 

Dengue Zero MOU

 

ภายใต้พันธกิจหลักร่วมกัน 3 ประการ ได้แก่

  1. ลดอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกลงให้ได้ร้อยละ 25 หรือให้ไม่เกิน 60,000 รายต่อปี
  2. ลดอัตราการเสียชีวิตให้ต่ำกว่า 1:10,000 ราย
  3. ควบคุมแหล่งกำเนิดของลูกน้ำยุงลายในชุมชนให้ต่ำกว่า 5 หลังคาเรือน จากการสำรวจ 100 หลังคาเรือน

 

ซึ่งพันธกิจทั้ง 3 ข้อนี้ คาดว่าจะลุล่วงสำเร็จภายใต้กรอบระยะเวลาการทำงาน 5 ปี หรือภายในปี พ.ศ. 2569 ซึ่งทางองค์กรพันธมิตรจะผนึกกำลัง ร่วมกันผลักดัน และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการควบคุม และป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้การสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างดีที่สุด

Dengue Zero MOU

 

มิสเตอร์ ปีเตอร์ สตรีบัล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำทางด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีกว่าและอนาคตที่สดใสขึ้น  ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกว่า

 

“ไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในแต่ละปีมีประชากรทั่วโลกติดเชื้อมากกว่า 390 ล้านคน แต่จำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนั้นอาจสูงถึง 3,900 ล้านคน* โดยในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสูงถึงกว่า 96 ล้านคน และในประเทศไทยก็ยังพบว่ามีอัตราการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่า โรคนี้ไม่เคยหายไปจากเรา และยังสร้างความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพยากรมากมาย การเอาชนะโรคนี้ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นเดียวกันในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกให้ได้มากที่สุด ทาเคดา มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก Dengue-Zero นี้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า ทาเคดา มุ่งมั่นมอบสุขภาพที่ดีกว่าให้คนไทย และพร้อมสนับสนุนทุกความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน”

 

ข้อมูลอ้างอิง:

1.https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue

2.https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว