ลูกตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต ควรทำอย่างไร ทำไมลูกโตช้ากว่าเพื่อน?

undefined

ลูกตัวเล็ก โตช้า น้ำหนักน้อย เป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเด็ก คุณพ่อคุณอาจสังเกตได้ว่าลูกโตช้ากว่าเด็กวัยเดียว ซึ่งบางครั้งอาจเกิดกรรมพันธุ์ หรือการได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมก็ได้ วันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปดูกันว่า เด็กโตช้า ตัวเล็ก เกิดจากอะไร และมีวิธีไหนช่วยลูกโตเร็วบ้าง พร้อมแล้ว ไปดูกันค่ะ

 

ทำไมลูกของเราตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกัน

คุณแม่บางท่านที่ลูกตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน มักจะเครียดกับปัญหานี้และอาจจะโดนกดดันจากคนรอบข้างถึงความตัวเล็กของลูก หลายครั้งที่คุณแม่พยายามปลอบใจตัวเองว่า ลูกตัวเล็กแต่แข็งแรงก็ยังดีกว่าตัวโตแต่ขี้โรค แต่จนแล้วจนรอดก็ยังเก็บเอาคำพูดของคนรอบข้างมาคิดจนทำให้เครียดอีกอยู่ดี ใช่ไหมคะ เรามาดูสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกตัวเล็กกว่าเพื่อนกันค่ะ

  • กรรมพันธุ์
  • ฮอร์โมนผิดปกติ
  • การขาดสารอาหาร
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • นอนหลับพักผ่อนน้อย
  • ได้รับโภชนาการไม่เพียงพอ

 

ลูกตัวเล็ก ควรทำอย่างไร ให้ลูกกินอะไรดี

1. เรื่องแรกเลยก็คือ อาหาร คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะให้ลูกเลิกนมมื้อดึกตามที่คุณหมอเด็กแนะนำ และให้ลูกดื่มนมเป็นเวลา ไม่ใช่ให้ทุกครั้งที่ร้องไห้ เป๊ะตามตำราว่าไว้เลยทีเดียวค่ะ  ซึ่งคุณหมอเชี่ยวชาญเรื่องเด็กตัวเตี้ยให้ความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร เพราะเด็กนั้นต้องการโปรตีนมาก ช่วงแรกเกิดนั้นเด็กจะโตเร็วมาก การไปจำกัดอาหารช่วงนี้ จะทำให้เด็กชะงักไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ตัวเล็กมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์

2. พอโตที่จะทานอาหารเสริม คุณแม่บางท่านก็เน้นอาหารที่คิดว่ามีประโยชน์ แล้วก็ลดนมลง เพิ่มอาหารหลักมากขึ้น ซึ่งคุณหมอบอกว่า เด็กที่ตัวเตี้ย ตัวเล็กนั้น ต้องให้โปรตีนมาก ๆ โดยเฉพาะนม แป้งนั้นให้ทานได้ แต่ไม่ต้องเน้น ส่วนไขมันที่เราคิดว่าจะช่วยให้ลูกมีน้ำหนักดีขึ้น หมอกลับบอกว่า ของมันมาก ๆ อย่างเบคอนทอดนี่ จะลดการหลั่งของ growth hormone

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกโตช้า ตัวเล็กกว่าเพื่อน ผิดปกติไหม พ่อแม่สังเกตได้อย่างไร?

 

ลูกตัวเล็ก

 

3. เรื่องของเวลานอน เด็กไม่ควรมีเหงื่อออก เวลาห่มผ้าถ้าเด็กเตะออก ห่มให้ก็เตะออกอีก แสดงว่านอนหลับไม่ลึก แนะนำว่าควรตั้งแอร์ไว้ที่ประมาณ 22-23 องศา เวลาห่มผ้าแล้วลูกไม่ควรเตะออก และต้องไม่มีเหงื่อออกระหว่างนอน ไม่นอนดิ้นไปดิ้นมา แล้วที่สำคัญคือ ควรเข้านอนตั้งแต่ทุ่มครึ่ง growth hormone จะเริ่มหลั่งตั้งแต่ทุ่มไปจนถึงตีสี่ค่ะ ถึงนอนดึกจะตื่นเที่ยงก็ไม่มีประโยชน์

4. การออกกำลังกาย คุณหมอแนะนำว่า การวิ่ง เตะบอล ขี่จักรยานนี่ ดีมาก ๆ นะคะ ดีกว่าว่ายน้ำซะอีก เพราะว่ายน้ำนั้น ยังมีน้ำมาช่วยพยุงน้ำหนัก การให้เด็กได้วิ่งเล่นเยอะ ๆ ได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างเต็มที่จะช่วยเรื่องการเจริญเติบโตได้ด้วย

คุณแม่พาน้องเมฆ อายุ 2 ปี มาพบหมอเพราะมีคนทักว่าน้องตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกันอย่างชัดเจน แม้ว่าจะดูแข็งแรงดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่ทานข้าวน้อย ชอบทานแต่นมรสหวาน หมอตรวจร่างกายก็พบว่าน้องเมฆมีน้ำหนักและส่วนสูงที่น้อยกว่าเด็กชายที่อายุเท่ากันจริง ๆ มีการเจริญเติบโตช้าในช่วงอายุ 1-2 ปี แต่ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ จึงได้แนะนำทางบ้านให้ปรับปรุงเรื่องพฤติกรรมการทานอาหารให้เหมาะสม และตรวจติดตามอาการก็พบว่าดีขึ้นตามลำดับ

 

เด็กที่มีภาวะการเจริญเติบโตล่าช้า เลี้ยงไม่โต มีลักษณะอย่างไร

เด็กที่ตัวเล็กกว่าปกติ เลี้ยงไม่โต (failure to thrive) คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในวัย เพศ เชื้อชาติเดียวกัน อย่างน้อย 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เด็กที่มีลักษณะเช่นนี้นอกจากจะมีน้ำหนักน้อยกว่า เด็กในเพศและวัยเดียวกันแล้วก็อาจมีความสูงและเส้นรอบศีรษะน้อยกว่าด้วย นอกจากนั้นยังอาจมีลักษณะของการขาดสารอาหาร คือ ผมร่วง กล้ามเนื้อลีบ หน้าตอบ ติดเชื้อบ่อย และมีพฤติกรรมผิดปกติ เซื่องซึม ไม่สบตา มีพัฒนาการล่าช้าในทุก ๆ ด้านได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ลักษณะที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวไม่โต ขาดโปรตีน พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

 

ลูกตัวเล็ก

 

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกมีการเจริญเติบโตช้า

ปัญหาเด็กโตช้า ไม่ทันเพื่อน เลี้ยงไม่โต พบได้บ่อย มีสาเหตุได้ทั้งจากโรคทางร่างกาย และ สาเหตุทางจิตใจ ที่ไม่มีความผิดปกติของร่างกายชัดเจน ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี โดยสาเหตุที่ทำให้เด็กโตช้า น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นนั้น เกิดจากโรคทางกาย ซึ่งมีได้หลายอย่าง ที่พบได้บ่อยคือ มีระบบย่อยอาหารและการดูดซึมผิดปกติ เช่น กระเพาะอาหารตีบ ลำไส้สั้นผิดปกติ หรือมีโรคที่ร่างกายต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคปอดเรื้อรัง ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่แรกเกิด ส่วนสาเหตุทางจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กที่มีพื้นอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก ทานยาก มีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้องในเด็กเล็ก รวมทั้งสาเหตุจากคุณพ่อคุณแม่ขาดความรู้ ในเรื่องอาหารที่เหมาะกับลูก หรือมีปัญหาสุขภาพจิตในครอบครัว ทำให้เด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอ จึงเลี้ยงไม่โตนั่นเอง

 

เด็กตัวเล็กเพราะมีการเจริญเติบโตช้าจะมีผลอย่างไร

เด็กที่ตัวเล็กเพราะมีการเจริญเติบโตช้าจะนำมาซึ่งปัญหาทุพโภชนาการ ขาดสารอาหาร ร่างกายไม่แข็งแรง มีภูมิต้านทานต่ำ และที่สำคัญยังมีผลต่อสมองซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 3 ขวบปีแรก เพราะการที่เด็กมีการเจริญเติบโตช้าจะมีผลต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของระบบประสาท และสมอง ส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในระยะยาวต่อไปได้

ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์

รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่

ลูกตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต ควรทำอย่างไร ทำไมลูกโตช้ากว่าเพื่อน?

 

หากสงสัยว่าลูกมีการเจริญเติบโตช้าควรทำอย่างไร

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกตัวเล็ก มีการเจริญเติบโตช้า ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อที่คุณหมอจะได้ ตรวจร่างกาย ประเมินการเจริญเติบโตทั้งหมด และหาสาเหตุ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ตอนที่ลูกยังอยู่ในครรภ์คุณแม่ รวมทั้งตรวจหาสาเหตุจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต สอบถามประวัติอาหารที่ทานอย่างละเอียด และคุณหมอจะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ดูอายุกระดูก และตรวจหาการติดเชื้อต่าง ๆ เมื่อทราบสาเหตุแล้วคุณหมอก็จะรักษาที่สาเหตุนั้น ๆ และนัดติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินการเจริญเติบโต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง จนกว่าจะปกติ และคุณหมออาจให้วิตามินรวม ธาตุเหล็ก และสังกะสี แก่เด็กบางคนตามข้อบ่งชี้อีกด้วย

 

เพื่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่ดีของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักให้เพียงพอ และควรส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกาย เพื่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ หากสงสัยว่าลูกตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่ก็เตี้ย พ่อก็ไม่ค่อยสูง แต่อยากช่วยลูกให้สูงได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน พ่อแม่รู้ไหมว่าลูกควรหนักและสูงแค่ไหน?

นี่เหรอ! สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก 4 อาหารที่กินมากไปอาจทำให้ลูกโตไม่ทันเพื่อน

ที่มา : synphaet

TAP-ios-for-article-footer-with button (1)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!