ทำไม ลูกชอบโขกหัว ตัวเอง ? โขกพื้น โขกกำแพง โขกกับทุกอย่าง ปกติรึเปล่า ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหา ลูกชอบโขกหัว เกิดจากอะไรคุณพ่อคุณแม่คงเกิดความสงสัย อาการเหล่านี้พบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถให้การช่วยเหลือ และคอยดูแลบรรเทาอาการได้ หากพบว่ามีอาการที่รุนแรงเกินควบคุม หรือน่ากังวล ควรพาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ดังนั้นวันนี้เราจึงจะพามาดูว่าสามารถรับมือกับพฤติกรรมโขกหัวของลูกน้อยได้แบบไหนบ้าง

 

ลูกชอบโขกหัว เกิดจากอะไร ?

การโขกหัวตัวเอง มักเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีแรก และจะพบได้บ่อยสูงสุดระหว่างเดือนที่ 18 ถึงเดือนที่ 24 ของลูก นิสัย ลูกชอบโขกหัว ตัวเองอาจจะอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี แต่เด็กส่วนใหญ่จะเลิกพฤติกรรมนี้ได้เองก่อนอายุ 3 ปี

 

สาเหตุที่ลูกชอบโขกหัวตัวเอง

  • เพื่อให้ตัวเองสบายขึ้น : ฟังดูแปลกล่ะสิ? แต่เด็กวัยคลานส่วนใหญ่ที่ชอบโขกหัวตัวเองก็เพื่อผ่อนคลาย ลูกโขกหัวตัวเองเป็นจังหวะขณะที่กำลังจะนอนหลับ เมื่อตื่นกลางดึก หรือแม้กระทั่งเมื่อกำลังนอนอยู่ บางคนก็ทั้งเข่า ทั้งมือ ทั้งเท้าไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เช่น การโยกเก้าอี้ อาจช่วยให้ลูกน้อยได้ผ่อนคลายตัวเองบ้าง
  • เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด : ลูกน้อยอาจจะโขกหัวตัวเองหากกำลังเจ็บปวดอยู่ เช่น จากฟันที่กำลังขึ้นหรือการติดเชื้อที่หู การโขกหัวดูเหมือนจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้ บางทีก็เป็นการทำให้ตัวเองไขว้เขวจากความอึดอัดไม่สบายที่ปากหรือหู
  • ความหงุดหงิดงุ่นง่านใจ : หากลูกน้อยโขกหัวตัวเองระหว่างที่กำลังโมโหโวยวาย ลูกอาจจะพยายามปลดปล่อยอารมณ์รุนแรงอยู่ ลูกยังไม่ได้เรียนรู้มากพอที่จะแสดงอารมณ์ผ่านคำพูดได้ ดังนั้นลูกจึงต้องใช้การกระทำทางร่างกาย และเช่นกัน ลูกอาจจะต้องการทำให้ตัวเองรู้สึกสบายขึ้นจากความเครียด
  • เพื่อเรียกร้องความสนใจ : การโขกหัวอย่างต่อเนื่องอาจเป็นวิธีที่ลูกเรียกร้องความสนใจจากคุณ คุณอาจจะสงสัยเมื่อคุณเห็นลูกทำอะไรที่ดูเหมือนจะทำร้ายตัวเองแบบนี้ และเนื่องจากลูกชอบเมื่อเห็นคุณให้ความสนใจและทำโน่นทำนี่เพื่อทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น สบายขึ้น ลูกก็จะโขกหัวตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณอีกเรื่อย ๆ
  • ปัญหาเรื่องพัฒนาการ การโขกหัวตัวเองอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาออทิสซึมและปัญหาทางพัฒนาการอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาการโขกหัวตัวเองเป็นเพียงสัญญาณเตือนทางพฤติกรรมเพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้นจากหลาย ๆ ชนิด มีโอกาสน้อยมากที่การโขกหัวตัวเองเพียงอย่างเดียวจะเป็นการส่งสัญญาณบ่งชี้ปัญหาทางพัฒนาการที่รุนแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง ?

1. ให้ความสนใจกับลูก แต่ไม่ใช่ตอนที่ลูกกำลังโขกหัวตัวเอง

คุณควรให้ความสนใจกับลูกมาก ๆ เมื่อลูกไม่ได้กำลังโขกหัวตัวเอง หากลูกยังคงโขกหัวตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ พยายามอย่าทำเป็นเรื่องสำคัญ หรือคุณอาจจะอยากปรับพฤติกรรมลูกสักหน่อย แม้ว่าคุณไม่อาจมองข้ามพฤติกรรมนี้ไปโดยสิ้นเชิงได้ แต่ก็อย่าดุหรือทำโทษลูกที่โขกหัวตัวเอง ลูกเล็กเกินกว่าที่จะเข้าใจสถานการณ์ และท่าทางปฏิเสธของคุณอาจมีแต่ทำให้เรื่องแย่ลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ป้องกันลูกไม่ให้บาดเจ็บ

ตรวจสอบสกรูและสลักของเปลลูกทุกเดือนหรือบ่อยกว่านั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการที่ลูกเอาหัวโขกกับเปลไม่ได้ทำให้โครงสร้างง่อนแง่นหรือหลวม คุณสามารถติดล้อยางที่ขาเปลและแขวนผ้านุ่ม ๆ หรือผ้าคลุมนวมระหว่างเปลและผนังเพื่อลดเสียงและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผนังและพื้น

อย่าเอาหมอนหรือผ้าห่มวางไว้ในเปลลูกเพื่อทำให้สิ่งของรอบตัวลูกนุ่มลง เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงที่ลูกจะหายใจไม่ออกเพราะเด็กเอาศีรษะไปมุดหรือผ้าห่มอาจมาพันกับส่วนศีรษะลูกได้ หากคุณต้องการใช้วัสดุกันกระแทกกับเปลลูกเพื่อลดแรงกระแทกเวลาลูกโขกหัวตัวเอง คุณต้องแน่ใจว่าวัสดุนั้นบาง แน่น (ไม่บวมหรือฟูฟ่อง) และยึดติดอยู่กับราวรั้วของเปลอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเอาหัวเข้าไปสอดอยู่ระหว่างวัสดุกันกระแทกกับราวรั้วของเปลได้นั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. พยายามอย่ากังวล

ลูกของคุณอาจได้รอยฟกช้ำมาสักรอย หรือสองรอย แต่อย่ากังวลไปเลย การโขกหัวตัวเองมักเป็นพฤติกรรมการควบคุมตัวเอง หมายความว่า ลูกของคุณไม่มีแนวโน้มที่จะโขกหัวตัวเองแรงจนทำให้บาดเจ็บอะไรมากมาย ลูกรู้ขีดจำกัดของตัวเองต่อความเจ็บปวดดีและจะลดแรงลงมาหน่อยเมื่อการโขกหัวตัวเองทำให้ลูกเจ็บ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วยลูกโดยการเลี้ยงลูกให้รักจังหวะด้วยวิธีการอื่น ๆ

แน่นอนว่าลูกชอบจังหวะที่มั่นคง ดังนั้นคุณควรช่วยให้ลูกได้รักการใช้จังหวะด้วยวิธีการอื่น ๆ ดีกว่า ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้คุณสอนลูกให้เต้นรำ เดินเป็นจังหวะ ตีกลอง หรือตบมือไปพร้อมกับเพลง คุณอาจลองตั้งเครื่องเคาะจังหวะไว้ในห้องของลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจที่มีจังหวะที่มั่นคง คุณควรให้ลูกได้ออกกำลังกายมาก ๆ ในระหว่างวันเพื่อให้ลูกได้ใช้พลังงานที่มีออกไป ลูกจะได้ไม่เอาพลังงานที่ล้นออกมาไปโขกหัวตัวเอง

 

1. เริ่มต้นกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย

หากลูกโขกหัวตัวเองเพื่อเป็นวิธีการผ่อนคลายตัวเองหลังจากวันที่แสนยุ่ง คุณลองสร้างกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลายให้กับลูกดูสิ การอาบน้ำอุ่น การโยกลูกเบา ๆ บนตัก การเล่านิทานหรือร้องเพลงเบา ๆ ก่อนนอนก็อาจช่วยได้ คุณอาจอยากใช้เวลาลูบหลังหรือหน้าผากของลูกสักสองสามนาทีก่อนที่ลูกจะนอน ดนตรีเบา ๆ ในห้องนอนก็ช่วยผ่อนคลายได้เหมือนกัน

 

2. ปรึกษาแพทย์หากพฤติกรรมของลูกดูน่ากังวล

หากลูกคุณโขกหัวตัวเองบ่อย ๆ ระหว่างวันและโขกหัวตัวเองเรื่อย ๆ แม้ว่าลูกจะเจ็บ คุณอาจจะต้องกังวลแล้วล่ะ แม้ว่าอาการนี้จะดูไม่ธรรมดา การโขกหัวอาจเกี่ยวข้องกับโรคออทิสซึมและปัญหาทางด้านพัฒนาการอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเด็กมีอายุเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล

เด็กออทิสติกโดยทั่วไป มักสื่อสารกับผู้คนไม่ค่อยราบรื่นนัก มักจะไม่ค่อยสนใจที่จะสัมผัสกับพ่อแม่ และดูเหมือนว่าจะมองผ่านผู้คนแทนที่จะมองที่ผู้คน หากคุณสังเกตว่าลูกของคุณสูญเสียความสามารถทางกายภาพ ทางภาษา หรือสูญเสียทักษะอื่น ๆ ที่เคยมี หรือหากลูกเริ่มเงียบลงไม่พูดไม่จาอย่างมาก หรือหากลูกมีพัฒนาการทั่วไปช้าผิดปกติล่ะก็ คุณควรปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ

 

การพาลูกมาพบแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นการดูแลรักษาที่ควรทำหากไม่สามารถควบคุมอาการของลูกน้อยได้ เพราะหลายอาการ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจ และรับคำแนะนำในการรักษาอย่างถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชอบตีหัวตัวเอง เอาหัวโขกพื้น จะเป็นอันตรายไหม ?

5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร ?

ลูกร้องเอาแต่ใจ ทําไงดี วิธีแก้ปัญหาลูกเอาแต่ใจ แต่ละช่วงวัย ทำไมลูกชอบกรี๊ด ลงไปดิ้นกับพื้น

ที่มาข้อมูล : babycenter islammore หมอชาวบ้าน

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team