ทำไมทารกชอบร้องและตื่นตอนกลางคืน เรามีคำตอบมาฝาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมทารกชอบร้องและตื่นตอนกลางคืน เมื่อพ่อแม่มือใหม่เจอปัญหาลูกน้อยชอบตื่นมาร้องตอนกลางคืน ปัญหาการตื่นมาร้องไห้ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืนของลูกน้อย ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพ่อแม่หลายคน เพราะเวลากลางคืนเป็นเวลาพักผ่อนของคนเป็นพ่อแม่ แต่ถ้าลูกเกิดตื่นมาร้องไห้งอแงคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายก็ต้องผลัดกันตื่นมาดูแลลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมลูกไม่นอนหลับยาว ๆ ทำไมทารกชอบร้องและตื่นตอนกลางคืน เป็นเพราะสาเหตุนี้หรือเปล่าหลายบ้านคงอาจสงสัย ว่าทำไมเด็กทารกเกือบทุกคน จึงชอบร้องไห้ และตื่นตอนกลางคืน บางบ้านอาจประสบพบเจอกับปัญหานี้มาจนเบื่อแล้ว หรือบางบ้านอาจจะพึ่งเคยเจอปัญหานี้ เนื่องจากพึ่งมีลูกคนแรก หรือหากบ้านใดที่กำลังเตรียมตัวจะมีเบบี๋ บทความนี้ ก็เป็นบทความที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะรู้ เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือกับลูกน้อยของคุณได้ถูก หากเกิดปัญหาการร้องไห้กระจองอแงของลูก จนคุณพ่อคุณแม่บางท่านแทบไม่ได้นอน

 

สาเหตุที่ลูกชอบร้องและตื่นตอนกลางคืน

1. ความเปียกชื้นของผ้าอ้อม

เด็กแรกเกิดมักจะเจอกับปัญหา เรื่องผ้าอ้อมเปียกแฉะเป็นของคู่กัน ทันทีที่เจ้าตัวน้อยรู้สึกไม่สบายตัวในขณะหลับ จึงมักจะตื่นนอน และร้องไห้โยเย ดังนั้นก่อนเข้านอน คุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติกันความเปียกชื้น หรือผ้าอ้อมสำหรับกลางคืน เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับในตอนกลางคืนได้ยาวนานยิ่งขึ้น

 

2. หิว

โดยปกติแล้วเด็กแรกเกิดมักจะหิวและตื่นขึ้นมา เพื่อร้องหานมกินบ่อย ๆ และเมื่อได้กินนมจนอิ่มแล้ว ก็จะเริ่มหลับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยหลับสนิท ระหว่างให้นมคุณแม่อาจจะร้องเพลงกล่อมเบา ๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายไปด้วยก็ได้

 

3. เล่นเหนื่อยเกินไป

บางท่านอาจสงสัย ว่าการเล่นเหนื่อยเกินไป แล้ว ทำไมทารกชอบร้องและตื่นตอนกลางคืน ไม่ใช่ว่าเล่นเหนื่อยแล้วจะหลับยาวหรอกหรือ เนื่องจากชั่วโมงการนอนของทารกในช่วงแรกเกิด มักจะใช้เวลานอนกลางวันประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง และในตอนกลางคืนจะนอนยาวถึง 10 ชั่วโมง หากคุณแม่ปล่อยให้ลูกเล่นเหนื่อยจนเกินไป จะส่งผลให้ลูกหลับไม่สนิทและตื่นบ่อยในตอนกลางคืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ลูกหลับยาก แก้ไขด้วย 9 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมนอนแบบได้ผล

 

4. เสียงรบกวน

เพียงแค่ได้ยินเสียงดังนิดหน่อย เด็ก ๆ ก็มักจะตื่นทันที ดังนั้นควรปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน ให้ไม่มีเสียงรบกวน หรือมีให้น้อยที่สุด หรือใช้วิธีให้ลูกฟังเสียงดนตรีกล่อมนอนเป็นประจำทุกคืน ลูกจะคุ้นเคยกับเสียงเพลงนั้นและหลับตาลงนอนได้

 

5. นอนต่างที่

หากมีแพลนจะเดินทางไปเยี่ยมญาติหรือไปเที่ยว ที่ต้องเปลี่ยนที่นอน ต้องทำใจไว้เลยว่า ลูกอาจจะไม่ยอมนอนง่าย ๆ และร้องไห้งอแงหาคุณแม่บ่อย ๆ วิธีที่จะช่วยคุณแม่ในเรื่องนี้คือ พยายามเอาลูกน้อยเข้านอนเป็นเวลาในทุก ๆ วัน ซึ่งก็จะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับช่วงเวลานอน และสบายใจได้ในวันที่จะต้องเปลี่ยนที่นอนเมื่อลูกนอนเป็นเวลาได้แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กที่ตื่นมาร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุตอนกลางคืน หรือ เด็กมักกรีดร้องเหมือนร้องตื่นตกใจ บางคนหลับหูหลับตาร้อง บางคนมีเหงื่อออก หัวใจเต้นแรง การร้องมีลักษณะเฉพาะคือมักเกิดช่วงหัวค่ำ หลังการหลับไม่นาน ต่างจากฝันร้ายซึ่งมักเกิดตอนเช้ามืด ดังนั้นการร้องแบบนี้จะไม่ใช่ฝันร้ายคุณพ่อคุณแม่หลายคนพอเห็นลูกร้องตกใจตื่นกลางดึกก็มักรีบอุ้มขึ้นมาและเขย่าปลุกให้ตื่น ซึ่งไม่ควรทำนะคะ เพราะการร้องแบบนี้เกิดในช่วงของการนอนที่เรียกว่า Non REM Sleep Non REM Sleep จะเป็นช่วงซึ่งเด็กจดจำเหตุการณ์ไม่ได้ เมื่อเด็กถูกพ่อแม่เขย่าตัวปลุกให้ตื่นขึ้นมา ก็จะยิ่งตกใจ ที่ควรทำก็คือปลอบลูกจนสงบเอง โดยฝึกให้ลูกหลับเองให้เป็น

 

วิธีฝึกให้ลูกน้อยหลับเองเป็นมีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไม่อุ้มปลอบ แต่คอยดูแลอยู่ข้างๆ คอยปลอบลูกด้วยคำพูด ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน แผ่วเบา และอาจตบๆ ก้นให้หลับต่อ จนกว่าลูกจะสงบและหยุดร้องไห้
    วิธีนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำจิตใจให้เข้มแข็งพอสมควร เพราะเด็กบางคนอาจร้องไห้เป็นชั่วโมง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลภายใน 1 สัปดาห์ลูกจะสามารถนอนหลับเองเป็นค่ะ
  • อุ้มปลอบลูกจนสงบ แต่อย่าให้นานจนกระทั่งลูกหลับบนตัวคุณพ่อคุณแม่นะคะ วิธีที่ถูกต้องคืออุ้มปลอบจนลูกเคลิ้ม กึ่งหลับกึ่งตื่นแล้ววางลูกลงบนเตียง
    โดยประมาณเวลาอย่าให้อุ้มเกิน 5 นาที หากลูกตื่นมาร้องอีกให้อุ้มมาปลอบสักพักแล้ววางลงใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนลูกหลับเองได้ค่ะ

 

 

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจว่า ทารกก่อนวัย 1 ขวบยังหลับเองไม่เป็น ซึ่งเบบี๋อาจจะเคยชินกับการให้คุณแม่อุ้มนอนหลับคามือหรือคาเต้า พอเอาลงวางบนเตียงปุ๊บก็เหมือนมีสัญญาณที่ทำให้ลูกลืมตาตื่น เมื่อเจอแบบนี้คุณแม่ลองวางลูกลงนอนและยอมปล่อยให้ร้องสักพัก แต่ใช้วิธีค่อย ๆ ตบกันเบา ๆ เป็นจังหวะ เพื่อลูกน้อยจะได้อุ่นใจว่ายังมีคุณแม่คอยอยู่ข้าง ๆ แต่หากลูกยังไม่ร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณแม่ก็ควรจะอุ้มมากอดแนบอกอีกครั้ง อย่างไรก็ดี การนอนหลับของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และนอกจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้ว อาจยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตไว้ เช่น เนื่องจากเจ็บป่วย อาการโคลิค เป็นต้น

 

การฝึกให้ลูกได้เข้านอนเป็นเวลา สร้างนิสัยการนอนของลูกเป็นรูปแบบที่สม่ำเสมอ นอกจากจะมีส่วนสำคัญในด้านพัฒนาการของทารกทั้งต่อสมองและร่างกายแล้ว ยิ่งลูกนอนหลับสนิทและมีชั่วโมงของการนอนมากเท่าไหร่จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนอนหลับของลูกในช่วงเวลากลางคืนนั่น ร่างกายก็จะแข็งแรงเติบโตสมวัย ตื่นเช้ามาด้วยความรู้สึกที่สมองปลอดโปร่งและส่งผลให้ลูกอารมณ์ดีและมีสมองที่ปลอดโปร่งด้วย เด็กวัยเตาะแตะนั้น ควรได้รับการฝึกให้นอนหลับยาว โดยไม่ตื่นขึ้นมาดูดนมกลางดึก เพราะการกินนมตอนกลางคืน ส่งผลเสียกับตัวลูกมากกว่าผลดี ดังนั้นบ้านไหนที่ลูกวัยเตาะแตะและยังเลิกนมมื้อดึกไม่ได้ คุณแม่ต้องลองฝึกให้ลูกเลิกดื่มนมตอนกลางคืนดูนะคะ เพราะการนอนหลับจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาของลูกน้อย การทำให้ลูกน้อยได้นอนหลับสนิทตลอดคืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าอย่างยิ่ง

 

ปัญหาการนอนสำหรับเด็กเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย และแตกต่างจากปัญหาการนอนของผู้ใหญ่พอสมควร ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับการนอนของลูก คอยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือถ้ามีปัญหาก็รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับฟังคำแนะนำที่ถูกต้อง ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยให้พัฒนาการและสุขอนามัยของลูกดีขึ้น แถมพ่อแม่ก็ได้ลดความเครียด และได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอตามลูกๆไปด้วยนะคะ

 

ที่มา : theAsianparent , theAsianparent , zeekdoc

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แก้ปัญหาทารกไม่ยอมนอนและการตื่นบ่อยตอนกลางคืน

ลูกนอนดึก เสี่ยงตัวเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน

ลูกตื่นแล้วร้องไห้ เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul