เสียงร้องไห้ของทารก แบบนี้บ่งบอกอะไร? มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากรู้ว่า เสียงร้องไห้ของทารก แบบนี้บ่งบอกอะไร การที่ลูกร้องไห้แบบนี้เราควรมีวิธีการรับมือยังไงบ้าง หากคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่กำลังรู้สึกสงสัยและกังวลอยู่แล้วล่ะก็ เรามาดูวิธีการรับมือเมื่อลูกร้องไห้ พร้อมมาทำความรู้จักกับ เสียงร้องไห้ของทารก กันดีกว่าค่ะว่า สิ่งที่หนูร้องไห้นั้นบ่งบอกถึงอะไรบ้าง

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้มีอะไรบ้าง?

หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ส่งผลทำให้ลูกของเราร้องไห้ขึ้นมาได้ เรามารู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกของเราร้องไห้ไปพร้อมกันเลยนะคะ บอกเลยว่าสังเกตได้ไม่ยากเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด

 

 

1. หิว

ตามปกติทารกน้อยจะหิวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้กินนม  ทีนี้ละก็ได้ร้องโวยวายเพราะความหิวแน่นอน เพราะฉะนั้นก็ต้องบอกคุณแม่เลยนะคะว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราเริ่มหิวขึ้นมา สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาร้องไห้ขึ้นมาได้ง่ายเลย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. แน่นท้อง

หากทารกน้อยกินนมเสร็จแล้วอย่าเพิ่งให้นอนนะคะ  เพราะจะทำให้เจ้าหนูปวดท้อง  ท้องอืด  ท้องเฟ้อ และแหวะนมออกมา ควรอุ้มให้ลูกเรอก่อนที่จะพาเขาเข้านอน

 

3. ง่วงนอน

แม้ง่วงนอนแต่ก็ไม่ยอมนอน นั่นคงเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยกับการนอนก็ได้นะคะ  เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง เป็นต้น  ดังนั้น  คุณแม่จึงควรจัดบรรยากาศให้สบาย ๆ มีอากาศถ่ายเทและไม่มีแสง รบกวนการนอนของเจ้าตัวน้อยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. อากาศร้อนหรือหนาว

ทารกจะอ่อนไหวกับอุณหภูมิของอากาศ เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น อยู่ห้องแอร์แล้วพาเขาเดินออกมาเจออากาศร้อน ๆ ภายนอก จะทำให้ปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ทันรู้สึกหนาวหรือร้อนก็ทำให้อดร้องไห้ไม่ได้เช่นกัน

 

5. ผ้าอ้อมเปียกชื้น

คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตผ้าอ้อมของทารก  ว่ามีฉี่หรืออึออกมาหรือเปล่า  ลองจับดูนะคะ ถ้าจับดูแล้วหนัก ๆ ก็ให้เปลี่ยนเลยดีกว่าค่ะ  อย่าประหยัดถึงขนาดรอจนเต็มแผ่นก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผดผื่นตามมาได้

 

6. ไม่สบายตัว

เสียงร้องจะขึ้นจมูก  และร้องไห้อย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยสาเหตุอาจจะมีแค่หนูร้อนไปหนาวไป ผ้าอ้อมเปียกก็เท่านั้นเอง คุณแม่ควรตรวจเช็กดูว่า เจ้าหนูรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวจากสิ่งไหนบ้างหรือเปล่าถึงร้องไห้ เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าอ้อม รัดแน่นจนเกินไป เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีแก้ปัญหาลูกป่วยบ่อย ลูกไม่สบายบ่อย ป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้อย่างไรบ้าง

 

 

7. ป่วย

หากทารกน้อยเอาแต่ร้องไห้ด้วยเสียงดังมาก   แถมบางครั้งยังส่งเสียงโทนสูง และหวีดร้องเพื่อจะบอกเราว่า หนูกำลังเจ็บอยู่นะ อาการป่วยไม่ว่าจะเป็นไข้ ท้องเสีย ปวดท้อง ต้องรีบหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขให้ทันท่วงที โดยทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ต้องเช็กอุณหภูมิที่ตัวลูก ว่าไม่ร้อนหรือเย็นไป รวมทั้งเจ้าแมลงสัตว์กัดต่อยทั้งหลายด้วย

 

8. เหงา

โทนเสียงของลูกจะเปลี่ยนเป็นร้องไห้คร่ำครวญ เหมือนว่าเขากำลังจะอ้อนคุณแม่อย่างนั้นแหละ!!! หนูก็แค่ต้องการให้มากอด มาเล่นกับหนูบ้างเท่านั้นเอง อาการเหงาหรือหวาดกลัวที่อยู่คนเดียว มองไม่เห็นใคร ดังนั้น การที่พ่อกับแม่อยู่กับเขาด้วย อาจจะร้องเพลงเห่กล่อม เบาๆ แค่นี้น้องหนูก็อุ่นใจไม่ร้องแล้ว

 

9. อารมณ์ไม่ดี

ทารกก็มีอารมณ์ไม่ดีได้เหมือนกันนะคะ  ส่วนหนึ่งพื้นฐานอารมณ์ของเจ้าหนูจะเป็นคนที่ใจร้อน โมโหง่าย หรือมีลักษณะที่ชอบหรือไม่ชอบอะไรบางอย่าง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คงต้องสังเกตให้ดี และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ลูกไม่ชอบ เช่น ลูกไม่ชอบเสียงเพลงเร็ว ๆ หรือชอบนอนแบบเปิดไฟมากกว่าปิดไฟ

 

10. ร้องไห้แบบกลั้น

ร้องไห้แบบกลั้น คือ พฤติกรรมที่ร้องจนงอหายแล้วกลั้นไว้ไม่หายใจครู่ ซึ่งพอกลั้นหายใจก็เลยทำให้เด็กหน้าเขียวหน้าแดงจนพ่อแม่ที่เห็นตกใจได้ เมื่อลูกร้องกลั้น จากนั้นก็ใช้วิธีเขย่าตัวหรือเรียกเพื่อให้ลูกรู้สึกตัว หรือ ถ้ามีสัญญาณว่า ลูกจะร้องกลั้นให้รีบอุ้มลูกขึ้นมากอดไว้แล้ว เบนความสนใจด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศก็จะช่วยได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิค! ช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้

คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังมองหาวิธีที่จะทำให้ลูกของเราหยุดร้องไห้ขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าเราควรมีวิธีการรับมือยังไงดี เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการทำให้ลูกหยุดร้องไห้ไปพร้อมกันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน บริหารปอดหรือส่งผลร้ายต่อสมองและจิตใจกันแน่!

 

 

 

1. อุ้มให้ลูกแนบกับตัวเราที่สุด ลูบหลังเบา ๆ พร้อมกับโยกตัวเป็นจังหวะไปมาเบา ๆ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้ลูกน้อยของเรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นด้วยนะคะ

 

2. คุณแม่จะนอนหงายแล้วพาลูกมานอนคว่ำบนตัวคุณ และนวดหลังให้ลูกเบา ๆ ช้า ๆ ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจคุณเต้น ทำให้สงบสติอารมณ์ได้เร็ว ในขณะที่ลูบหลังลูกน้อยเราไม่ควรที่จะลงน้ำหนักเยอะนะคะ แต่เราอาจจะต้องค่อย ๆ ลูบไปเรื่อย ๆ เพื่อที่เขาจะได้รู้สึกอบอุ่นขึ้นมาด้วยเหมือนกัน

 

3. พาเจ้าหนูไปอาบน้ำอุ่น ๆ พร้อมกับใส่เสื้อผ้าสบายตัว ซึ่งวิธีนี้ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ๆ เลย เพราะจะทำให้เด็ก ๆ เขารู้สึกผ่อนคลายและสบายตัวมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกันหากเมื่อไหร่ที่คุณแม่ใส่เสื้อผ้าให้ลูกแน่นจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกอึดอัดจนร้องไห้ออกมาเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นควรใส่ใจในเรื่องนี้ด้วยนะคะ

 

4. หาสิ่งเบี่ยงเบน เพื่อให้เพลินลืมร้องไห้ไปชั่วขณะ แน่นอนว่าเราอาจจะลองหาของเล่น หรือคอยเล่นกับเขาเพื่อให้เขารู้สึกอารมณ์ดีขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ลูกร้องไห้นานจนเกินไปนะคะ

 

5. พาเจ้าหนูนั่งรถเข็น ออกไปรับลมและเปลี่ยนวิวทิวทัศน์ ช่วยได้ค่ะ สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมากเหมือนกัน  เพราะเขาจะได้เห็นถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดี อีกทั้งยังได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศที่สดชื่นตามไปด้วยนั่นเอง

 

6. คุยกับลูก เสียงที่คุ้นเคยจะทำให้เขาไว้ใจ และหยุดร้องโดยง่าย เพราะการพูดคุยกับลูกก็เป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจที่เราจะช่วยทำให้ลูกของเราหยุดร้องไห้ได้เร็วขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้นสิ่งนี้ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยของเราอีกด้วยค่ะ

 

7. ห้ามเขย่าตัวลูกอย่างรุนแรงเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้อวัยวะภายในรวมทั้งสมองได้รับผลกระทบรุนแรง เป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราควรต้องระวังกันด้วยนะคะ

 

 

การปรับตัวของคุณแม่กับทารกน้อยต้องใช้ระยะเวลาสักพักค่ะเพื่อเรียนรู้นิสัยของเจ้าหนู  แล้วต่อไปคุณแม่จะทราบเองโดยอัตโนมัติว่า  ร้องแบบนี้  ทำท่าแบบนี้ เจ้าหนูต้องการให้แม่ทำอะไร  อย่าเพิ่งท้อใจไปนะคะ อีกไม่นานคุณก็จะเป็นคุณแม่คนเก่งที่รอบรู้เกี่ยวกับเจ้าหนูดีที่สุด หากคุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ลูกร้องไห้บ่อยไม่รู้ว่าเราควรต้องรับมือยังไง หรือควรต้องทำอย่างไร เพื่อที่ลูกของเราจะได้ไม่ร้องไห้ขึ้นมาบ่อย ๆ นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

ที่มา : samitivejhospitals, nestlemomandme