แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก

แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน เด็กที่เป็นบาดทะยักมีอาการยังไง มาดูกัน (ภาพโดย shutterstock.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผลบาดทะยัก อาจเกิดขึ้นได้ตอนที่เด็กวิ่งเล่น ซุกซน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูก ๆ เป็นบาดทะยักหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแม่

 

บาดทะยัก คืออะไร

บาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อคลอสทริเดียม เททานี (Clostridium Tetani) ซึ่งอยู่ในดินและอุจจาระของสัตว์ โดยมักจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง และผ่านเส้นประสาทไปยังสมองหรือไขสันหลังทำให้ระบบประสาทของกล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ ความจริงแล้ว บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยมักจะระบาดในช่วงหน้าร้อน หรือในช่วงที่อากาศอบอ้าว

กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นบาดทะยักนั้น อาจมีดังนี้

  • เด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา จึงไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • เด็กที่ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตั้งแต่เด็ก
  • เด็กที่แม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตอนตั้งครรภ์
  • เด็กที่สะดือไม่สะอาด หรือไม่มีคนทำความสะอาดสะดือให้หลังจากคลอด
  • เด็กที่กระดูกหัก และมีกระดูกแทงทะลุผิวหนัง
  • เด็กที่โดนสัตว์ทำร้าย หรือแมลงกัดต่อย
  • เด็กที่เข้ารับการผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม
  • เด็กที่มีแผลไฟไหม้ หรือแผลที่เกิดจากของมีคม
  • เด็กที่ชอบเจาะหรือสักตามร่างกาย
  • เด็กที่ใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

ซึ่งหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายเด็กผ่านทางแผลแล้ว เด็กจะเริ่มมีอาการภายใน 3-21 วัน สำหรับเด็กทารก อาจจะต้องใช้เวลา 3-14 วัน กว่าคุณแม่จะสังเกตเห็นความผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผลบาดทะยัก เกิดได้จากแผลไฟไหม้ แผลจากของมีคม หรือแผลสุนัขกัด (ภาพโดย pixabay.com)

แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน

โดยทั่วไป บาดทะยักมักจะเกิดจากแผลลึก แผลผิวหนังไหม้ ผิวหนังที่ตายแล้ว แผลน้ำเหลือง แผลที่เกิดจากแรงกระแทก แผลสุนัขกัดหรือแมวข่วน รวมถึงแผลที่เปื้อนดิน น้ำลาย หรืออุจจาระของสัตว์ รวมทั้งยังเกิดได้จากการสักหรือเจาะตามร่างกาย ซึ่งเด็กที่เป็นบาดทะยัก มักมีอาการต่อไปนี้

  • กรามค้าง กรามกระตุก
  • กล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง แขน และขาตึง
  • มีปัญหาในการดูดนม และร้องไห้ตลอดเวลา
  • ปวดกล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง
  • กล้ามเนื้อใบหน้ายึดตึง
  • มีปัญหาในการปัสสาวะ
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิด
  • มีเหงื่อออก
  • กลืนอาหารได้ลำบาก
  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการชัก
  • ชีพจรเต้นไว
  • มีไข้

นอกจากนี้ เด็กบางคนที่เป็นบาดทะยัก อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก เนื่องจากเส้นเสียงทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อชักเกร็งจนกระดูกหัก ติดเชื้อในปอด ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเส้นเลือดอุดตันในปอด เป็นต้น แต่เด็กบางคน ก็อาจมีอาการเหมือนกับโรคทั่วไปอย่างไข้หวัด จนคุณแม่ไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าบางครั้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็นอาการได้ แต่หากเด็ก ๆ มีแผลลึก แผลไฟไหม้ แผลขนาดใหญ่ที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ โดนสุนัขหรือแมวกัด หรือมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในแผลและล้างไม่ออก คุณแม่ควรรีบปฐมพยาบาลแผลเบื้องต้นให้เด็ก จากนั้นควรรีบพาเด็กไปพบหมอ เพื่อรับการรักษาและป้องกันโดยด่วน ซึ่งเมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์อาจทำการซักประวัติ และสอบถามเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บที่ผิวหนังของเด็ก รวมถึงทำการตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดแผล ซึ่งวิธีการรักษา จะขึ้นอยู่กับอายุ อาการ และโรคประจำตัวของเด็ก โดยคุณหมออาจฉีดยาต้านบาดทะยัก และให้รับประทานยาปฏิชีวนะ แต่หากเด็กคนไหนมีอาการรุนแรง ก็อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว รวมทั้งหากหายใจลำบาก ก็อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และให้รับประทานยาแก้อาการชัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

 

หากเด็กมีแผลบริเวณขา ให้ติดพลาสเตอร์เอาไว้ เพื่อไม่ให้แผลปนเปื้อนดิน (ภาพโดย shutterstock.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกันแผลบาดทะยักในเด็กยังไงดี

มีวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันเด็กจากโรคบาดทะยักได้ วิธีที่ว่านี้ ก็คือการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ซึ่งโดยปกติเด็ก ๆ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคหลัก ๆ 3 โรคอย่างโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน โดยควรเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดครั้งสุดท้ายตอนอายุไม่เกิน 6 ปี นอกจากนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ยังควรเข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ ที่อาจเกิดในระหว่างการตั้งครรภ์

และนอกจากการฉีดวัคซีนกันบาดทะยักแล้ว คุณแม่ยังสามารถปกป้องน้อง ๆ ไม่ให้เกิดบาดแผลได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ เล่นตามลำพัง คอยสอดส่องอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ทัน หากกำลังจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับเด็ก
  • ไม่ให้เด็กเล่นอยู่บริเวณที่จอดรถ เพราะคนใช้รถอาจมองไม่เห็นเด็ก
  • ให้เด็กสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ปั่นจักรยาน
  • ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้อาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อน เพราะเด็กอาจโดนความร้อนจนทำให้เป็นแผลได้
  • ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ตอนที่สัตว์กำลังนอน หรือกำลังกินอาหารอยู่
  • ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สุนัข หรือแมวของคนอื่น เพราะสัตว์อาจจะไม่คุ้นเคยกับเด็กมากพอ
  • ตรวจดูเครื่องเล่นที่สนามเด็กเล่นให้เรียบร้อยก่อนที่เด็กจะเล่นเครื่องเล่น
  • ไม่วางเก้าอี้หรือโซฟาไว้ใกล้หน้าต่าง เพราะเด็กอาจปีนขึ้นไปและกระโดดออกทางหน้าต่างได้
  • ไม่วางสิ่งของมีคมหรือวัตถุที่อาจทำอันตรายต่อเด็กไว้ในที่ ๆ เด็กเอื้อมถึง

บทความที่เกี่ยวข้อง :  การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

 

วิธีปฐมพยาบาลเด็ก เมื่อเด็กเป็นแผล

หากเด็กเป็นแผล คุณแม่ยังสามารถปฐมพยาบาลให้เด็กเบื้องต้นได้ดังนี้

  1. สวมถุงมือก่อนเริ่มปฐมพยาบาลทุก ๆ ครั้ง
  2. ใช้น้ำสะอาดล้างแผลเด็กให้สะอาด เพื่อล้างดินและสิ่งสกปรกออกจากแผล
  3. ไม่ควรล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล
  4. ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผลด้วยสบู่
  5. ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าก็อซกดแผล เพื่อห้ามเลือด
  6. หากเลือดซึมผ่านผ้าก็อซ ให้นำผ้าก็อซแผ่นอื่นมากดทับไปเรื่อย ๆ
  7. เมื่อเลือดหยุดไหล ให้กดแผลต่ออีกประมาณ 1-2 นาที
  8. ยกบริเวณที่เกิดแผลให้อยู่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลได้อีกครั้ง
  9. เมื่อเลือดหยุดไหล ให้ทายาฆ่าเชื้อชนิดครีม
  10. หากแผลอยู่บริเวณต่ำ และเสี่ยงที่จะปนเปื้อนดิน ให้ติดพลาสเตอร์ที่แผล หรือใช้ผ้าพันแผลเอาไว้
  11. หมั่นเช็คดูว่าแผลมีอาการอักเสบ หรือรุนแรงขึ้นหรือเปล่า

เป็นเรื่องยาก ที่จะห้ามไม่ให้เด็กเล่นสนุก เพราะเขาอยู่ในวัยที่ชอบสำรวจ ชอบทดลอง และขี้สงสัย สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ ก็คือคอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเมื่อเขากำลังเล่นอยู่ เพื่อไม่ให้เขาได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ๆ แต่ถ้าหากเขาหกล้มจนเป็นแผล คุณแม่ก็ควรดูแลรักษาแผลให้ดี ไม่ให้เกิดอาการอักเสบหรือรุนแรงจนเกิดเป็นบาดทะยัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

 

ที่มา : urmc.rochester , stanfordchildrens , kidshealth , theasianparent , drugs , ucsfbenioffchildrens

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanokwan Suparat