"ครรภ์ไข่ฝ่อ" ความผิดปกติที่แม่เริ่มตั้งครรภ์ควรรู้

อีกหนึ่งภาวะอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์คืออาการ “ครรภ์ไข่ฝ่อ” หรือที่มักจะเรียกกันว่า ไข่ฝ่อ คือภาวะการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวทารกในครรภ์ระยะแรกหรือไม่มีตัวอ่อน ซึ่งจะพบระหว่างสัปดาห์ที่ 8 -13 ของการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ครรภ์ไข่ฝ่อ” ความผิดปกติที่แม่เริ่มตั้งครรภ์ควรรู้

ครรภ์ไข่ฝ่อ เป็นการ ตั้งครรภ์ จริงที่เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิของไข่ กับ เชื้ออสุจิ เพียงแต่ว่าการเจริญเติบโตของการ ตั้งครรภ์ นั้นไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากเมื่อ เชื้ออสุจิ ผสมกับไข่มีการปฏิสนธิกันแล้ว จะเกิดการแบ่งตัวเป็นเซลล์จำนวนมาก เมื่อถึงระยะหนึ่ง เซลล์จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม เซลล์กลุ่มหนึ่งเจริญไปเป็นส่วนของรก เซลล์อีกกลุ่มหนึ่งเจริญเป็นตัวอ่อนในระยะแรก แต่เมื่อ เซลล์ กลุ่มนี้มีปัญหาทำให้แบ่งตัวต่อไปไม่ได้ และ หยุดการเจริญเติบโต คือมีแต่รกกับถุงน้ำคร่ำแต่ไม่มีตัวอ่อน ซึ่งก็คือการตั้งครรภ์โดยไม่มีทารกนั่นเอง

ภาวะไข่ฝ่อเป็นสาเหตุของการแท้งได้ ร้อยละ 50 โดยสาเหตุที่พบบ่อยเกิดขึ้นจากไข่หรือ อสุจิ ที่มาผสมกันนั้นไม่แข็งแรงพอหรือมีคุณภาพไม่ดีพอ อันเนื่องมาจากการทำงานหนัก มีภาวะเครียด รับประทานอาหารไม่เพียงพอ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีโรคบางชนิดที่ยังไม่ได้รับการตรวจอย่างจริงจัง ซึ่งอาจเกิดจากโครโมโซมที่ผิดปกติของเซลล์กลุ่มนั้น หรือ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมทารก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากลักษณะทาง กรรมพันธุ์ ที่ผิดปกติของไข่หรืออสุจิก็ได้

การรักษา หรือ ป้องกันภาวะ ครรภ์ไข่ฝ่อ นั้นยังไม่มียา หรือ วิธีการรักษาที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีโอกาสเกิดขึ้นครั้งเดียว แต่ถ้าเกิดซ้ำก็จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจ วินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุอื่น เช่น มีการผิดปกติ โพรงมดลูก มีการอักเสบติดเชื้อ หรือมีภูมิต้านทานผิดปกติหรือเปล่า เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะ แนะนำให้คุณแม่รอไปอีกสองสามเดือนจึงเริ่มวางแผน ตั้งครรภ์ ใหม่ ดังนั้นวิธีที่ดูแลตัวเองให้ที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ ไข่ฝ่อ ขึ้น คือ การทำงานที่ไม่หักโหมจนเกิดไป ไม่ทำให้แม่ท้องเกิดภาวะเครียดในขณะตั้งครรภ์ รับประทาน อาหาร ให้เพียงพอและมีประโยชน์ ได้ออก กำลังกาย อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ และ พักผ่อน ให้เพียงพอนะคะ

หากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน แล้วเกิดมีเลือดออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อย แสดงว่ามีความผิดปกติของการ ตั้งครรภ์เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาก มีภาวะ แท้งคุกคาม แท้งไม่ครบ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นต้นแต่หากเคยได้ทำการตรวจ อัลตราซาวด์ แล้ว และ พบว่าเป็นครรภ์ไข่ฝ่อ หรือ ที่เรียกว่า ท้องลม หรือท้องหลอก แสดงว่าตัวอ่อนทารกในครรภ์ได้ เสียชีวิตไปแล้ว เหลือ แต่ส่วนที่เป็นถุงน้ำ และ รก ดังนั้นเมื่อผ่านไปซักระยะ ถุงน้ำ และ รกก็จะลอกหลุดออกมา และกลายเป็นอาการแท้งตามาได้ค่ะ ดังนั้นอาการที่เป็นอยู่ จึงจะเกิดจากการหลุดลอกออกของถุงน้ำ และ รกออกมาค่ะ หากยังคงมีเลือดออกร่วมกับปวดท้อง แนะนำ ให้ไปพบสูติ – นรีแพทย์ เพื่อทำการตรวจ อัลตราซาวด์ ประเมินดูมีการลอกตัวออกมาจนหมด หรือไม่ค่ะ หากหมดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร แต่หากยังเหลือค้าง อาจต้องทำการขูดมดลูก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อในมดลูกตามมา แต่หากเลือดหยุดไหลแล้ว และ ไม่มีอาการปวดท้องใดๆ แสดงว่าเกิดการแท้งสมบูรณ์ อาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรค่ะ เพียงแต่หลังจากนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในมดลูกค่ะ

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพ พลิเคชั่นรวม ถึงสื่อ มัลติมีเดีย หลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมา ฟิต แอน เฟิร์ม อีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และ ตอบทุกข้อสงสัยในแอพ พลิ เค ชั่น ที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ ในครอบครัวไทย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลจาก :https://www.pobpad.com/

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารบำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 9 ตั้งครรภ์ 9 เดือนต้องกินอะไรบ้าง?

ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 6 เดือน ดูแลลูกในครรภ์ยังไง?

ตั้งครรภ์อายุมาก เมื่อแม่อายุ 38 ปี จะมีความเสี่ยงหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R