แม่ตั้งครรภ์กินยา ได้ไหม? ยาที่ใช้ได้ตอนตั้งครรภ์มีอะไรบ้างนะ

ในช่วงที่เราป่วยหรือไม่สบาย เราสามารถที่จะกินยาได้ไหม หรือยาที่เราใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีอะไรบ้าง มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ตั้งครรภ์กินยา ได้ไหม? ยาที่ใช้ได้ตอนตั้งครรภ์มีอะไรบ้างนะ เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก็มักจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาแหละว่าในช่วงของการตั้งครรภ์นั้น ในช่วงที่เราป่วยหรือไม่สบาย เราสามารถที่จะกินยาได้ไหม หรือยาที่เราใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เรากินเข้าไปแล้วจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง เอาเป็นว่าไม่ต้องห่วงนะ เพราะวันนี้เราได้นำข้อมูล แม่ตั้งครรภ์กินยา อะไรได้บ้าง มาฝากแม่ ๆ ทุกคนให้ได้รู้กันแล้ว

 

(รูปโดย jcomp จาก freepik.com)

 

แม่ตั้งครรภ์กินยา ได้ไหม? ทำอย่างไรเมื่อเรารู้สึกป่วยหรือไม่สบาย? 

เมื่อเรารู้สึกป่วยหรือไม่สบายขึ้นมา แน่นอนว่าแม่ ๆ อย่างเราก็อาจจะไม่ค่อยอยากจะกินยาสักเท่าไหร่ แม้ว่าจะมียาหลากหลายชนิดที่คนท้องสามารถกินได้ในขณะตั้งครรภ์ แต่เราก็ยังกลัวที่จะเกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกของเราอยู่ดี โดยจากการวิจัยได้กล่าวไว้ว่า แม้ว่าจะมียาหลายชนิดที่อนุญาตให้หญิงตั้งครรภ์ใช้ได้ แต่ในทางกลับกันการที่เราไม่ใช้ยาหรือกินยาในขณะตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพราะการที่เราใช้ยาหรือกินยาเข้าไปนั้น สิ่งนีก็จะเข้าไปในกระแสเลือดของเรา จากนั้นก็จะผ่านเข้าไปยังสายรกและเข้าไปสู่กระแสเลือดของลูกตามไปด้วยนั่นเอง ยาที่เรากินเข้าไปลูกอาจจะได้รับตัวยาในปริมาณน้อยก็จริง แต่ถ้าได้รับเข้าไปบ่อย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อลูกในท้องสักเท่าไหร่

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องป่วยไม่ต้องกินยา คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วไม่สบายอยู่ ต้องอ่าน!

 

(รูปโดย gpointstudio จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ยาที่ใช้ได้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ มีอะไรบ้างนะ?

สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้ยาเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะกินเข้าไปนั้น เราอาจจะต้องทำการปรึกษาหรือขอคำแนะนำต่าง ๆ จากคุณหมอก่อน เพื่อที่เราและลูกจะได้ปลอดภัย และอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่อยากให้ใช้ยาหรือกินยาในช่วงของการตั้งครรภ์ เว้นแต่เรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาจริง ๆ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ และได้รับผลการรับรองมาแล้วว่า ยาที่ส่วนใหญ่จะไม่พบผลข้างเคียงต่อลูกในท้อง หรือถ้ามีผลข้างเคียงก็จะเกิดขึ้นน้อยที่สุด ก็อาจจะเป็นยาจำพวก ยาพาราเซตามอลที่ใช้ลดไข้ หรือยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาอะไรที่คนท้องใช้แล้วปลอดภัยทั้งแม่และลูก

 

1. ยา Penicillins

หลายคนอาจจะรู้จักยาชนิดนี้กันดีอยู่แล้ว ซึ่งยาตัวนี้จะใช้มีสรรพคุณในการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียให้กับร่างกายของเรา โดยการใช้ยาตัวนี้เราอาจจะต้องกินหลังจากที่เรารับประทานอาหารเสร็จเพราะมันจะช่วยทำให้ร่างกายของเรามีการดูดซึมได้ดีนั่นเอง ที่สำคัญเราไม่ควรที่จะกินยาตัวนี้คู่กับน้ำองุ่น น้ำส้ม หรือผลไม้ที่เป็นกรด เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้ยาที่เรากินเข้าไปมีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยลงนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ยา Perphenazine

มาต่อกันที่ยาชนิดนี้กันบ้าง ยา Perphenazine เป็นยาที่ช่วยระงับอาการต่าง ๆ ทางจิต นอกจากนี้ยังเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการอื่น ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาอาการวิกลจริต อาการคลื่นไส้ รวมถึงรักษาอาการโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นต้น ซึ่งยาตัวนี้จะมีสองรูปแบบด้วยนั้น นั้นคือแบบที่ใช้รับประทาน และแบบฉีด แต่อย่างไรก็ตาม แม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่หากมีอาการเรานี้เราอาจจะต้องทำการปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนใช้ยาตัวนี้อย่างเคร่งครัด แน่นอนว่ายาตัวนี้อาจจะใช้ได้ในขณะตั้งครรภ์ แต่ถ้าเราใช้เกินขนาดสิ่งนี้ก็อาจจะไม่ค่อยดีต่อสุขภาพของเราและลูกสักเท่าไหร่

 

3. ยา Pethidine

ยาตัวนี้จะใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ช่วยลดการอักเสบ รวมถึงช่วยลดอาการชาต่าง ๆ ให้กับร่างกายของเราได้ดีมาก โดยยาจะชนิดนี้จะมีสองรูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ใช้ฉีด และแบบที่ใช้ทาน แน่นอนว่ายาตัวนี้อาจจะมีคุณสมบัติที่ดีและช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ให้กับร่างกายเราเป็นอย่างดี แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องเราก็อาจจะต้องระวังการใช้ยาตัวนี้มากขึ้น ซึ่งเราอาจจะใช้ยาตัวนี้ได้ในปริมาณที่จำกัดและไม่ควรเกินขนาดที่กำหนดไว้ และเพื่อความสบายใจและปลอดภัยต่อลูกในท้อง การปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนรับทานยาทุกครั้งจะดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ยา Phenobarbital

มาต่อกันที่ยาตัวนี้กันบ้าง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วยาชนิดนี้จะใช้รักษาให้กับคนที่มีอาการตึงเครียด นอนไม่ค่อยหลับ หรือรู้สึกว่าตัวเองเกิดความกังวลมากเกินไป ซึ่งใครที่มีอาการเหล่านี้ก็อาจจะใช้ยาตัวนี้ในการรักษาและบรรเทาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ แต่ในกรณีของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ เราอาจจะใช้ยาตัวนี้ได้ก็จริง แต่จะใช้ได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกเครียด กังวลใจ และนอนไม่ค่อยหลับ เราก็อาจจะพยายามหาดูอะไรที่มันตลก หรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มันทำให้เรารู้สึกดีขึ้น ไม่แน่สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาโดยไม่ต้องทานยาได้เลย

 

5. ยา Phenytoin

ยาชนิดนี้จะใช้ในลักษณะของการรักษาอาการชัก หรือคนที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท  เมื่อเรารับประทานเข้าไปยาตัวนี้จะเข้าไปช่วยควบคุมและป้องกันอาการชักภายในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี  และหากคุณแม่คนไหนที่มีอาการเหล่านี้อยู่ถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะต้องพยายามเลี่ยงยาตัวนี้หากไม่มีความจำเป็น หรือถ้าจำเป็นจะต้องทานยาตัวนี้จริง ๆ ก็อาจจะรับประทานได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ เช่น รับประทานวันละ 5 mg เท่านั้น

 

6. ยา Morphine

เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับร่างกาย ที่สำคัญต้องบอกว่ายาตัวนี้ช่วยระงับอาการปวดขั้นรุนแรง ส่งผลทำให้ร่างกายหายปวดได้เร็วมาก ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคุณแม่คนไหนที่มักจะใช้ยาตัวนี้ เพื่อบรรเทาอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่บ่อย ๆ ก็อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะถ้าเราใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานสิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องได้ ทางที่ดีใช้ในช่วงที่จำเป็นและเว้นระยะห่างในการรับประทานจะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ป่วยแล้วต้องทำยังไง กินยาอะไรไม่ให้กระทบลูกในท้อง

 

7. ยา Ceftriazone

เป็นยาปฏิชีวนะที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกายของเรา ซึ่งยาตัวนี้จะอยู่ในรูปแบบของการฉีด ช่วยในการรักษาให้กับคนที่อาการติดเชื้อจากแบคทีเรียต่าง ๆ อาทิเช่น โรคหนองในแท้ การติดเชื้อในช่องท้อง หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ดังนั้นถ้าคุณแม่คนไหนกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ ก็อาจจะใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ หรือถ้าเราอยากจะเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น ก็สามารถปรึกษาคุณหมอก่อนทำการรักษาได้เช่นกัน

 

8. ยา cephalexin

อีกหนึ่งตัวยาที่เราต้องรู้จักและต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนรับประทานเข้าไป ซึ่งยาตัวนี้ก็จะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรีย อาทิเช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากเรามีอาการเปล่านี้อยู่ก็อาจจะใช้ยาชนิดนี้ในการรักษาโรคดังกล่าวได้ แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของปริมาณที่ควรได้รับในขระตั้งครรภ์ตามไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

(รูปจาก แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป)

 

ใครที่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกป่วยหรือไม่สบาย เราก็อาจจะใช้ยาบางตัวในการรักษาอาการต่าง ๆ ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในขณะตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพราะในช่วงตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่เราตั้งครรภ์ แน่นอนว่าลูกในท้องของเราเขาก็อาจจะต้องได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์จากเลือดของเรา หากช่วงไหนที่เรารู้สึกป่วยหรือไม่สบาย ก่อนที่เราจะทานยาควรทำการปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเลือกทานยาได้อย่างเหมาะสม

เมื่อไหร่ที่เราต้องใช้ยาในการรักษาโรคด้วยความจำเป็น ถ้าอาการต่าง ๆ หายและดีขึ้น เราอาจจะต้องหยุดรับประทานยาเหล่านั้นทันที

ในกรณีที่คุณแม่คนไหนมีโรคประจำตัวและมีความจำเป็นที่ต้องทานยาเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว เราอาจจะต้องนำยาที่เราทานอยู่เป็นประจำนั้นไปปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอด้วย เพื่อที่คุณหมอจะได้ช่วยประเมินว่ายาที่เราทานเข้าไปนั้น ส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องไหม หรือถ้าเราหยุดกินสักระยะจะส่งผลอะไรต่อร่างกายของเราหรือเปล่า สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เราปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้องตามไปด้วย หรือใครที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาทาภายนอก เพื่อลดอาการผื่นคันที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง เราก็อาจจะใช้โลชั่นคาลาไมด์ (Calamide lotion) แทนการทานยาได้

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ในช่วงของการตั้งครรภ์ หากใครที่มีอาการป่วย หรือกำลังรู้สึกว่าตัวเองจะไม่สบาย ก่อนที่เราจะรับประทานยาตัวไหนก็ตาม เราอาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำก่อนทุกครั้ง เพราะเมื่อไหร่ที่เราทานยาชนิดอื่น ๆ เข้าไปโดยที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อเราและลูกในท้องได้นั่นเอง

 

บทความที่น่าสนใจ :

7 น้ำยาบ้วนปากสำหรับคนท้อง ช่วยให้ฟันขาวสะอาด ไร้คราบหินปูน

6 เข็มขัดพยุงครรภ์ เลคกิ้งคนท้อง เข็มขัดหลังคลอด น่าใช้งานมากที่สุด

7 โฟมล้างหน้าคนท้อง อ่อนโยนกับผิวแม่ ปลอดภัยกับลูกน้อย

 

ที่มา : นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ (คุณหมอวอร์ม) แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

บทความโดย

Tidaluk Sripuga