ใจสลาย! หนูน้อยวัย 8 เดือน เสียชีวิตกะทันหัน แพทย์ชี้สาเหตุจากการ เคี้ยวข้าวป้อนลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ ๆ เคยได้ยินวิธีโบราณ เคี้ยวข้าวป้อนลูก กันไหมคะ? เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัย 6 เดือน ร่างกายของเขาก็จะเริ่มพร้อมสำหรับการกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ แต่กว่าฟันกรามจะพัฒนาให้แข็งแรง ซึ่งจำเป็นต่อการบดเคี้ยวอาหารส่วนใหญ่ ก็ต้องรอจนอายุ 18 ถึง 24 เดือน ซึ่งวิธี เคี้ยวข้าวป้อนลูกเป็นวิธีที่คนสมัยก่อนว่ากันว่า สะดวก รวดเร็ว ถูกนำมาใช้ แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีนี้อันตรายมาก! ซึ่งทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า การเคี้ยวข้าวป้อนลูกเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในช่องปากจากผู้ใหญ่ไปสู่ลูก ส่งผลให้ลูกน้อยป่วยไข้ ท้องเสีย หรือติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เหมือนกับ เหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่คุณแม่ต้องพบกับความสูญเสียลูกน้อยเพียงเพราะพี่เลี้ยงใช้วิธี เคี้ยวข้าวป้อนลูก

 

ร้องไห้แทบขาดใจ! แม่สูญเสียลูกน้อยวัย 8 เดือน สาเหตุมาจากการ เคี้ยวข้าวป้อนลูก

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ประเทศจีน เมื่อ คุณจิน (นามสมมุติ) หญิงสาวจากเมืองกวางโจว ได้ตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลลูกสาวของเธอตั้งแต่ลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน เหตุเพราะไม่มีใครสามารถช่วยดูแลได้ จนเมื่อลูกสาวอายุได้ 8 เดือน เธอได้เริ่มให้ลูกทานอาหาร และมักสังเกตเห็นว่าพี่เลี้ยงมีนิสัย เคี้ยวข้าวป้อนลูก เป็นประจำ เธอจึงกล่าวตักเตือนเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่สุดท้ายอีกฝ่ายก็ยังคงทำแบบเดิมไปเรื่อย ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง: เดือดทั้งโซเชียล! พี่เลี้ยงเด็ก ทำร้ายลูกน้อย 3 ขวบ ตาปูด แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ

 

จนวันหนึ่ง เด็กหญิงมีไข้สูงมาก พี่เลี้ยงจึงป้อนยาให้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปไข้ก็ยังไม่ลดลง อีกทั้งยังมีตุ่มพองจำนวนมากขึ้นตามตัว ทำให้ตัวพี่เลี้ยงเริ่มตื่นตระหนกและรีบไปบอกผู้ปกครองของเด็ก ทางครอบครัวจึงรีบพาเด็กส่งเข้าโรงพยาบาลทันที ซึ่งทางคุณหมอก็พยายามทำการรักษาอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายเด็กหญิงก็เสียชีวิตลงในที่สุด

ซึ่งทางคุณหมอได้ระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตนั้นเกิดจาก เด็กได้ติดเชื้อไวรัสเริมในช่องปาก ซึ่งคาดว่าติดมาจากตัวพี่เลี้ยงที่มีแผลในปาก แล้วยังคงทำการเคี้ยวอาหารก่อนป้อนให้เด็กเป็นประจำ วิธีการป้อนอาหารแบบนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กหญิงเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 8 เดือนเท่านั้น

เมื่อคนเป็นแม่ได้ยินสิ่งที่หมอพูด ทำให้เธอแทบล้มทั้งยืน ไม่สามารถสงบสติอารมณ์ได้ พุ่งเข้าตบหน้าพี่เลี้ยงทันที เพราะเธอได้เตือนเรื่องการกระทำนี้หลายหนแล้ว ซึ่งตัวพี่เลี้ยงก็ตกอยู่ในอาการช็อกและสับสน และเธอขอร้องไม่ให้คุณจินฟ้องร้องเธอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นอุทาหรณ์เตือนผู้ปกครองทุกคนที่มีลูกหลาน การดูแลเด็ก ๆ แบบผิดวิธี ด้วยวิธีการที่ทำมาอย่างเคยชิน อย่างการเคี้ยวข้าวให้เด็กก่อนป้อนนี้ อาจส่งผลร้ายแรงตามมาทีหลัง

 

ลูกเริ่มกินอาหารตามวัยได้ตอนอายุเท่าไหร่?

ในช่วง 6 เดือนแรก เด็กทารกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและครบถ้วนต่อการเจริญเติบโต หากให้ลูกกินอาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ในช่วง 6 เดือนแรก อาจเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กทารกได้ เพราะกระเพาะของเด็กทารกยังไม่สามารถย่อยอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้ค่ะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 6 เดือนขึ้นไป เด็กในวัยนี้จะเริ่มมีพัฒนาการทางช่องปาก ฟัน ลิ้น และกระพุ้งแก้มที่แข็งแรงมากขึ้น ช่วงเวลานี้นับว่าเป็นช่วงเวลาสำหรับ อาหารมื้อแรกของลูก หรือที่เรียกกันว่า อาหารตามวัย ซึ่งเริ่มจาก การบดละเอียด บดหยาบ และ สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามลำดับ เพื่อค่อย ๆ ฝึกการเคี้ยวของลูกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง: ช่วยด้วย! คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดีเมื่อ ลูกกินยาก?

 

วิธีป้อนอาหารตามวัยให้ลูก

วิธีการป้อนอาหารให้ลูก แม่ ๆ สามารถเริ่มบดเคี้ยวอาหารอ่อน ๆ ไปจนถึงอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้บ้างแล้ว ทำให้เด็กสามารถกินอาหารอื่น ๆ ควบคู่กับการกินนมแม่ด้วย โดยอาจเริ่มจากการให้เด็กได้กินข้าวต้ม ผลไม้บด หรือผักบด 2-3 ช้อน วันละ 2 ครั้งก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณให้ลูกน้อยค่อย ๆ ชินกับอาหารอ่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสลับป้อนอาหารที่แข็งขึ้นในบางมื้อ เพื่อให้เด็กปรับตัวเข้ากับการเคี้ยวและการกลืนมากขึ้นค่ะ 

ในช่วงอายุ  6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถเริ่มป้อนอาหาร เริ่มจาก 1 มื้อ ที่ประกอบไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ข้าวสวยบดละเอียด
  • น้ำแกงจืด 
  • ไข่แดง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 
  • ผักบดชนิดต่าง ๆ ครึ่งช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุกชนิดต่าง ๆ นำมาบด
  • ผักต้มจนนิ่ม นำมาบด 

ที่สำคัญ ในช่วงเวลาของการฝึกกินอาหาร แม่ ๆ สามารถค่อย ๆ ฝึกสอนให้ลูกสัมผัสกับอาหารต่าง ๆ ให้ลูกได้ฝึกสัมผัส ขยำอาหาร และทำความคุ้นเคย วิธีนี้จะทำให้ลูกน้อยฝึกเข้ากับมื้ออาหารใหม่ ๆ ได้ง่าย

 

 

อาหารแบบไหนที่ไม่ควรให้ลูกกิน?

ในช่วงเวลานี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความแข็ง และขนาดเล็ก เช่น ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ธัญพืช ควรให้เด็กเริ่มกินตอนอายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะอาจเสี่ยงต่อการสำลักเข้าปอด หรือติดคอได้ค่ะ

 

การ เคี้ยวอาหารป้อนลูก เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อจากช่องปากแม่สู่ทารกได้!

เหตุการณ์แบบนี้ ไม่ได้เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งนี้ครั้งแรกเท่านั้น แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ซึ่งได้มีวิจัยจากประเทศสหรัฐ ที่ออกมายืนยันว่าการที่ผู้ใหญ่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด แล้วค่อยทำการป้อนให้กับเด็กทารกนั้นอาจจะเป็นการถ่ายทอดเชื้อโรคให้กับตัวเด็กได้ค่ะ

นักวิจัยยังได้รายงานเพิ่มอีกว่าในสหรัฐมีการติดเชื้อในกรณีแบบนี้มาแล้ว 3 ครั้งในช่วงปี 1993 – 2004 ซึ่งเคสทั้งหมดเป็นการติดเชื้อจากเลือดไม่ใช่น้ำลาย โดยที่แม่ผู้ติดเชื้อสองในสามรายมีอาการเลือดออกตามไรฟันหรือเป็นแผลในช่องปาก

อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังได้เตือนอีกว่า หากต้องการให้ลูกกินอาหารบด ทางที่ดีควรใช้เครื่องมือบดอาหารให้กับเด็ก และควรหยุดการเคี้ยวอาหารป้อนลูก เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อ

เราหวังว่าเหตุการณ์ เคี้ยวข้าวป้อนลูก ครั้งนี้จะเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนให้คอยเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง หรือ พี่เลี้ยงคนไหนก็ตาม เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูลูกน้อย เพราะถ้าหากเราชะล่าใจ หรือ ปล่อยผ่านเหตุการณ์แบบนี้ต่อไป อาจส่งผลร้ายแรงให้กับตัวลูกน้อยที่เราไม่อาจคาดถึงก็เป็นได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทารก เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของทารกน้อย

8 เรื่องน่ากลัวสำหรับเด็ก ที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม

คุณแม่มือใหม่ห้ามพลาด! ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง ป้องกันสมองบวม-หยุดหายใจ

ที่มา: sanook, Enfababy, VoaThai

บทความโดย

samita