ช็อก! เด็กชายวัย 11 ปฏิเสธการตรวจ HIV ขอติดเป็นเพื่อนแฟน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นที่ฮือฮากันทั่วโซเชียลเมื่อ คุณหมอท่านหนึ่งได้โพสต์ เคสของคนไข้ เด็กชายวัย 11 ปีที่มาเข้าพบหมอเพราะโรคหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ ซึ่งตนเผยว่าติดจากแฟนอายุ 18 แถมยังบอกกับคุณหมออย่างมั่นใจว่าไม่ต้องตรวจ เพราะป็นการติดเชื้อ HIV แบบสมยอม

 

ช็อคทั้งวงการแพทย์! เด็กชายวัย 11 ไม่ตรวจ HIV ตั้งใจอยากติดเป็นเพื่อนแฟน

เมื่อวันที่ 31 มี.ค 67 ที่ผ่านมา เพจ ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor ได้โพสต์รูปแชทโดยระบุว่า “ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ ค 11 ขวบกุยังเป่ากบเป่ากบ ตบการ์ดยูกิอยู่เลย” 

 

รูปภาพ จาก Facebook: ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor

 

ซึ่งในรูปนั้นมีแชทของคุณหมอ ท่านหนึ่งระบุว่า

“OPD GP เด็ก ผช. อายุ 11 มาด้วยมีหนองออกจู๋…จะขอตรวจ HIV ด้วย

น้องตอบมั่นใจ ไม่ต้องตรวจ แฟนผมเป็น มติดเป็นเพื่อนแฟน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แฟนอายุ 18 มาล่อน้อง 11….

แบบ เอ่อ ไปบอกพ่อแม่ก่อนมั้ยน้อง ยังไม่บรรลุนิติภาวะเรยยย”

 

เมื่อรูปแชทนี้ได้เผยแพร่ออกไป ผู้คนในโซเชียลก็ต่างพากันเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กอายุแค่ 11 ยังอาจไม่มีความรู้ว่าโรคนี้จะต้องกินยากดเชื้อไปอีกนาน ซึ่งบางคนก็เดากันว่าตัวแฟนของเด็กก็คงไม่ได้กินยาแต่แรกด้วย หรือ ถ้ารู้ว่าตนเองมีโรคนี้ ทำไมถึงยังจะชักชวนให้น้องอายุ 11 ทำอยู่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ยังพูดกันเป็นเสียงเดียวอีกด้วยว่า ในยุคสมัยนี้การคุยกับเด็กเรื่องเพศศึกษานับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศของวัยรุ่นนั้นมีมาทุกยุคทุกสมัย แต่เพราะที่ผ่านมาเรื่องเพศศึกษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปิดในสังคมไทย ทำให้เด็ก ๆ ทำอะไรหลาย ๆ อย่างในแบบที่ผู้ใหญ่ก็คาดไม่ถึงทุกวันนี้

 

รูปภาพ จาก Facebook: ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รูปภาพ จาก Facebook: ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor

 

 

ที่มา: sanook.com, MedPark Hospital, Office of AIDS Research

Facebook: ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor

โรคติดเชื้อHIV คืออะไร?

เชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อชนิดหนึ่งที่จะเข้าไปโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของเราและทำให้อ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคเอดส์ กับ โรคHIV นั้นมีข้อแตกต่างกันตรงที่โรคเอดส์นั้นเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อHIV ซึ่งผู้ป่วยจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำและอ่อนแอมาก ๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ง่ายมาก ในขณะที่ผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี ยังไม่พัฒนาไปจนถึงขั้นเป็นโรคเอดส์ค่ะ โดยผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับเชื้อไวรัสด้วยยาต้านไวรัส และใช้ชีวิตได้ยาวนาน 

บทความที่เกี่ยวข้อง: เมื่อลูกน้อยเกิดมาพร้อมกับ เชื้อเอชไอวี

 

ระยะของการติดเชื้อ เอชไอวี

ระยะการติดเชื้อสามารถแบ่งได้ ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ค่ะ

ระยะที่ 1

ระยะนี้นับว่าเป็นระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ เอชไอวี ซึ่งในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังการได้รับเชื้อ ตัวเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในระยะนี้ผู้ที่ได้รับเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่าย จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหัว ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นหรือต่อมน้ำเหลืองขึ้นตามตัว 

 

ระยะที่ 2

ช่วงระยะเวลานี้เป็นการติดเชื้อแบบแฝง ร่างกายจะไม่แสดงอาการมากนัก ตัวเชื้อไวรัสHIV ที่อยู่ในร่างกายจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น โดยตัวเชื้อจะแบ่งจำนวนไปเรื่อย ๆ และค่อย ๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ให้ลดจำนวนน้อยลง จนทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำโดยปกติแล้ว การพัฒนาโรคของระยะที่ 2 นี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี กว่าไวรัสจะสามารถทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้ ถ้าหากผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่สามารถควบคุมเชื้อได้ดีเป็นพิเศษก็อาจจะช่วยยืดระยะเวลาพัฒนาของโรคในระยะนี้ได้ 10-15 ปี เลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เข้าสู่ระยะที่ 3 เร็วขึ้นเช่นกันค่ะ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ระยะที่ 3

ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อHIV เพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ถูกเชื้อไวรัสทำลายจนเหลือน้อยมาก ๆ ร่างกายอ่อนแอมาก ๆ และไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้ จึงทำให้มี ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ค่ะ และมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อตัวเดิมซ้ำและรักษาให้หายยากขึ้นกว่าปกติด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เอดส์ กับ HIV แตกต่างกันอย่างไร

 

เชื้อHIV สามารถติดต่อสู่กันได้อย่างไร

การแพร่เชื้อ ของโรคHIV สามารถเกิดขึ้นได้หลายช่องทาง มีดังนี้ค่ะ

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ ผ่านการสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองจากบาดแผล หรือแม้กระทั่งแผลในช่องปาก
  • การติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งท้อง ระหว่างการคลอดบุตร หรือระหว่างการให้นมบุตร

แนวทางการป้องกัน และการปฏิบัติตัวหากต้องอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ

ในบางกรณีที่เราอาจต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV  สิ่งที่ควรคำนึงและให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอย่างถี่ถ้วน ทั้งระยะการแพร่เชื้อ และแนวทางการป้องกัน ถ้าหากเราต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ เราควรทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  • ควรใช้ช้อนกลางหากต้องรับประทานอาหารร่วมกัน
  • เวลาซักเสื้อผ้า ควรซักแยกและใส่ถุงมือเสมอ
  • ควรระมัดระวังในการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน หรือแป้งร่วมกัน หรืออุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะบุคคลที่อาจสัมผัสเลือด เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน
  • เมื่อมีคนจากสมาชิกในครอบครัวป่วย เช่น เป็นไข้ หัด หัดเยอรมัน สุกใส ควรแยกตัวจากผู้ติดเชื้อ
  • ควรล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมถึงเวลาการประกอบอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ
  • การมีเพศสัมพันธ์ ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ: 

เตือนภัย! เด็กกินน้ำผึ้ง มือเท้าม่วงเฉียดตาย แพทย์เผยสาเหตุ

วิจัยชี้! เด็กติดจอ มากเกินไปเสี่ยง ออทิสติกเทียม

แพทย์เตือน! ขอบตาแพะ อันตราย เสี่ยงติดเชื้อ มดลูกอักเสบ

 

บทความโดย

samita